นักวิชาการร่วมเสวนาแนวโน้มเศรษฐกิจการเมืองสังคม

นักวิชาการร่วมเสวนาแนวโน้มเศรษฐกิจการเมืองสังคม

นักวิชาการร่วมเสวนาแนวโน้มเศรษฐกิจการเมืองสังคม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จัดเสวนา 'แนวโน้มเศรษฐกิจ การเมือง สังคม' นักวิชาการหลายสถาบันร่วม

มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จัดเสวนา "แนวโน้มเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ผลกระทบต่อสังคมและแรงงาน" โดยมีนักวิชาการจากหลายสถาบัน อาทิ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกุล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ มาร่วมวิเคราะห์ทิศทางด้านเศรษฐกิจการเมืองของสังคมไทย ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านแรงงานของขบวนการแรงงานต่อไป

 

นักวิชาการเสนอปฏิรูปภาษีเงินได้ขอรบ.สนับสนุน

รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานเสวนา "แนวโน้มเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ผลกระทบต่อสังคมและแรงงาน" ว่า ขอเสนอให้มีการปฏิรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีการโอนให้เงินผู้ที่มีรายได้น้อยโดยตรง ยกตัวอย่าง กรณีหากเป็นผู้มีรายได้น้อยและต้องป็นผู้ที่มีงานทำ จะสามารถได้รับเงินจากรัฐบาลจำนวนหนึ่ง แต่หากมีรายได้สูงขึ้นรัฐบาลจะยกเลิกการสนับสนุน ซึ่งจะทำให้เกิดการประกันรายได้ขั้นต่ำ สามารถระบุบุคคลที่จะรับผลประโยชน์ได้ชัดเจน และไม่ทำให้บิดเบือนกลไกทางการตลาด ช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการ

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มองว่านโยบายภาษีมีหากสามารถทำได้จริงถือเป็นเรื่องดี ผลต่อเรื่องแรงงานเพราะจะสามารถได้ประโยชน์

 

'อนุสรณ์'มองเศรษฐกิจครึ่งปีหลังปรับขึ้น

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในงานเสวนา "แนวโน้มเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ผลกระทบต่อสังคมและแรงงาน" ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกที่มีการขยายตัวติดลบ นอกจากนี้ ต้องยกระดับแรงงานให้มีคุณภาพสูงขึ้น รวมถึงสวัสดิการที่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการพร้อมการจัดเก็บภาษีเพื่อบดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook