จีเอ็มเอ็มแกรมมี่เปิดแผนธุรกิจ ชู Total Entertainment Platform

จีเอ็มเอ็มแกรมมี่เปิดแผนธุรกิจ ชู Total Entertainment Platform

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โชว์แผนธุรกิจ งัดกลยุทธ์ Total Entertainment Platform ผ่าน 4 องค์ประกอบ คอนเทนต์ ความสามารถพิเศษ มีเดีย ช่องทางรายได้ หวังพัฒนาองค์กร สู่ผู้ให้บริการแบบ Entertainment Anytime พร้อมเร่งเครื่องธุรกิจใหม่ ทีวีดาวเทียม คาดสร้างรายได้สิ้นปี.....

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจระยะยาว 3-5 ปี โดยมุ่งเน้นสร้างธุรกิจภายใต้แนวทาง Total Entertainment Platform โดยมี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ เนื้อหา สาระ (Content) ความสามารถพิเศษ หรือพรสวรรค์ (Talent) ช่องทางการสื่อสารเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค (Media) และช่องทางการสร้างรายได้ (Distribution) เพื่อสามารถให้ผู้บริโภคได้รับบริการแบบ Entertainment Anytime ซึ่งจะทำให้บริษัทมีรายได้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยคาดว่า ในปีนี้ บริษัทจะมีรายได้...........

ส่วน Platform สำคัญ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Total Music Platform ซึ่งในส่วนของธุรกิจเพลง บริษัทมีความแข็งแกร่งและครบถ้วนอยู่แล้ว ทั้งตัวคอนเทนต์และททาเลนต์ หรือความสามารถพิเศษ สืบเนื่องจากในธุรกิจเพลงบริษัท มีความแข็งแรงและครบถ้วนทั้ง 2 ส่วน ภารกิจต่อไปจึงเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง คือ เทคโนโลยี ซึ่งยังเป็นรูปแบบที่มีการเติบโตต่อเนื่อง แกรมมี่จึงพยายามสร้างสินค้าและรูปแบบการให้บริการประเภทใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น การสร้างรายได้ในรูปแบบ Subscription Model เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการทำธุรกิจกับต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นการขยายโอกาสการสร้างรายได้ โดยผนึกคอนเทนต์และสามารถพิเศษของบริษัท เข้ากับพันธมิตรทางธุรกิจในต่างประเทศ และการทำ Talent Platform คือ การพัฒนาศิลปินให้มีทักษะการร้อง การเต้น และการแสดงให้มีความสามารถในการแข่งขันเทียบเท่าระดับเอเชีย

สำหรับธุรกิจทีวีดาวเทียม ซึ่งเปิดตัวช่องแรก สถานีเพลงลูกทุ่ง FAN TV ไปเมื่อปลายที่แล้ว จะมีการผลักดันธุรกิจสู่ Total Media Platform ที่มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ด้วยการลงทุนดำเนินธุรกิจทีวีดาวเทียมอีกหลายช่องเพิ่มเติมในปีนี้ เนื่องจากมองว่าการเข้าถึงผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนจาก Mass Media เป็น Segmented Media และ Fragmented Media ซึ่งธุรกิจทีวีดาวเทียมถือเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้บริโภคแบบเฉพาะกลุ่ม อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการซื้อและติดตั้งอุปกรณ์มีราคาถูกลงมาก รวมไปถึงการที่บริษัท มีคอนเทนต์และความสามารถพิเศษที่แข็งแรง จึงช่วยส่งเสริมให้มีช่องทางการสื่อสารถึงผู้บริโภคแข็งแรงมากขึ้น

ทีวีดาวเทียมที่แกรมมี่ มีแผนจะเปิดเพิ่มเติมในปีนี้ จะมีอีก 4-6 ช่อง โดยเบื้องต้นวางไว้ 4 ช่อง ภายใต้คอนเซ็ปต์ ''before, diffirent and more'' ได้แก่ ช่อง Bang Channel เป็นช่องไลฟ์สไตล์วัยรุ่น เป็นเพลงป๊อป ช่อง Green Channel เป็นช่องเพลงเก่า พร้อมมีทัวร์ดูอะไรที่ดีๆ สถานที่ท่องเที่ยวดีๆ คอนเซ็ปต์สะอาดๆ คล้าย คลื่นกรีนเวฟ ของแกรมมี่ ช่อง Act Channel เป็นช่องของ บอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ ซึ่งจะนำงานละครทั้งเก่าและใหม่ของ บริษัท เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ จำกัด และช่อง Bird Channel เป็นช่องเอ็ดดูเทนเมนต์ สำหรับเด็ก และครอบครัว ซึ่งจะมี เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ เป็นผู้คัดสรรคอนเทนต์ด้วยตัวเอง และในบางโอกาสจะมาทำหน้าที่เป็นพิธีกร ส่วนงบลงทุนคาดว่าจะใช้งบช่องละไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

เป้าหมายในการพัฒนาองค์กร สู่ Total Entertainment Platform ในปี 2552 เพื่อจะสามารถให้บริการกลุ่มเป้าหมายได้แบบ Entertainment Anytime และจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่น่าเป็นห่วง บริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตของผลประกอบการปี 2552 ไม่ต่ำกว่าปี 2551 เพราะมั่นใจผู้บริหารแต่ละธุรกิจจะสามารถปรับตัวและวิธีการบริหาร เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งคิดค้นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ได้

ส่วนแนวทางอุตสาหกรรมบันเทิงโดยรวม ในระยะ 3-5 ปีนี้ นายไพบูลย์ กล่าวว่า รูปแบบของคอนเทนต์และมีเดียมีความเป็นเซ็กเมนต์มากขึ้น นอกจากนี้ เรื่องของข้ามวัฒนธรรม ( Cross Culture )ระหว่างประเทศ ยังเป็นกระแสที่มาแรง และเป็นโอกาสทางธุรกิจ (International Opportunity) ในการสร้างรายได้ โดยรูปแบบของรายได้จะเป็นทั้ง Total Music เช่น โชว์บิซ การบริหารลิขสิทธิ์ ช่องทางการขายคอนเทนต์ผ่านสื่อดิจิตอล ยังคงเป็นช่องทางสำคัญ ที่มีการพัฒนาสินค้าและบริการ ไป

พร็อมๆ กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ขณะที่คอนเทนต์และความสามารถพิเศษของศิลปิน ที่จะผลิตออกสู่ตลาด ต้องมีมาตรฐานระดับสากล หรืออย่างน้อยระดับเอเชีย เพราะการแข่งขันไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่เฉพาะในประเทศไทยอีกต่อไป ดังนั้น ธุรกิจบันเทิงไทยจะต้องมีการพัฒนาทั้งคอนเทนต์และความสามารถพิเศษให้มีมาตรฐานในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีเดียที่เป็น Traditional Media ทั้ง สื่อทีวี วิทยุ และสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเป็นลำดับแรก แต่จะแยกย่อยเซ็กเมนต์ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ (Segmented Media) เพื่อให้สามารถสื่อสารถึงผู้บริโภคครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยจะเห็นได้ว่า สื่อทีวียังเป็นสื่อที่มีอิทธิพลสูงสุด แต่ในสื่อทีวีเอง จะมีการเซ็กเมนต์มากยิ่งขึ้น (Segmented TV) โดยทีวีดาวเทียมจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เพราะหลังจากที่กฎหมายเอื้อให้มีโฆษณาชั่วโมงละ 6 นาทีได้ ทำให้ผู้ได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ Content Provider ทีมีคอนเทนต์ที่ดีและแข็งแรง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook