ใช้มติครม.บังคับกยศ.ปล่อยกู้ ปี 52 เพิ่มเป็น 3.6 หมื่นล้าน เน้นสายอาชีพ

ใช้มติครม.บังคับกยศ.ปล่อยกู้ ปี 52 เพิ่มเป็น 3.6 หมื่นล้าน เน้นสายอาชีพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ศธ.เสนอให้ ครม.ชี้ขาดให้ กยศ.ปล่อยกู้ปี 52 เพิ่มเป็น 3.6 หมื่นล้าน เน้นปล่อยกู้สายอาชีพในสาขาที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน มทร.ธัญบุรีเตรียมข้อมูล นศ.ใหม่ ยื่นขอกู้เงินกยศ.หวังเปิดเทอมนศ.มีเงินใช้ทันที

น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับ นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) และผู้เกี่ยวข้อง ว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 มกราคม ศธ. จะเสนอให้ครม.พิจารณาชี้ขาดให้ กยศ. ปล่อยกู้ในปีงบประมาณ 2552 เพิ่มเป็น 3.6 หมื่นล้าน จากเดิมที่วางไว้ 2.6 หมื่นล้าน ซึ่งจะเพียงพอสำหรับปล่อยกู้ต่อเนื่องให้ลูกหนี้เก่า 6.28 แสนราย และปล่อยกู้รายใหม่ 3.53 แสนราย รวมทั้งหมด 9.81 แสนราย

ทั้งนี้ ศธ.จะเสนอให้ปล่อยกู้โดยพิจารณาเด็กที่เลือกเรียนในสาขาขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานก่อน โดยในสายอาชีวะมีอยู่ 100 หลักสูตร และอุดมศึกษา 400 หลักสูตร และจะเน้นปล่อยกู้สายอาชีพมากขึ้น ให้อยู่ที่สัดส่วนสายอาชีพต่อสายสามัญ 50:50 จึงกำหนดสนว่าจะปล่อยกู้ ม.ปลาย 106,000 ราย ปวช. 111,000 ราย ปวส.และปวท. 53,000 ราย และอุดมศึกษา 83,000 ราย นักศึกษาที่อยู่ในระดับ ม.5-6 และปี 2-6 มีสิทธิ์ที่จะขอกู้เงินด้วย เพราะพบข้อมูลว่าเด็กที่เคยยื่นกู้เงินแต่ไม่ได้รับการอนุมัติมีจำนวนมาก

นอกจากนี้ ศธ.ได้ขอให้ กยศ.ชี้แจงรายละเอียดว่ามีเงินเหลืออยู่ทั้งหมดเท่าใด เพื่อจะได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนปล่อยกู้ได้อย่างเหมาะสม และเสนอ ครม.ให้ศธ.เข้าไปมีส่วนในการดำเนินการมากขึ้น โดยเฉพาะการติดตามให้ลูกหนี้ชำระหนี้คืน เพราะปัจจุบัน กยศ.ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงหนี้ปีละ 500 ล้านบาท หาก ร่วมมือกับ ศธ. รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้เด็กคืนเงินจะได้ผลมากกว่า เพราะศธ.มีศักยภาพในการที่จะติดตามเข้าถึงตัวลูกหนี้ได้มากกว่า และจะเสนอขอให้ยืดเวลาชำระหนี้เป็น 20 ปี

ด้าน ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ทันทีที่เด็กรายแรกทำสัญญาเสร็จ เงินค่าครองชีพจะต้องส่งเข้าบัญชีภายในวันที่ 30 มิถุนายน เพื่อเป็นการวัดประสิทธิภาพของกยศ.ด้วย

รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า ได้มอบให้ นายสมภพ เพชรรัตน์ รองอธิการบดี ยื่นข้อมูลให้ กยศ.นำไปจารณาก่อน เพื่อเปิดเทอมแล้วรับเงินทันที ไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบข้อมูล

Top of Form 1

ด้าน ผศ.ชลิต วณิชยานันต์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) กล่าวว่า มบส.รับนศ.ปีละ 4,000 คน ร้อยละ 85 จะขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) แต่ไม่ได้รับอนุมัติทั้งหมด เนื่องจากงบประมาณ กยศ.ที่ให้โควตากับมหาวิทยาลัยมีจำนวนจำกัด หากมีการเพิ่มวงเงินให้กู้ยืมจะทำให้เด็กจำนวนมากมีสิทธิ์ได้รับเงินกู้

รายการคมชัดลึกตอน-ภาษีที่ดินและมรดกเก็บได้จริงหรือ?

ทันทีที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศเดินหน้าผลักดันกฎหมายการจัดเก็บภาษีที่ดินและมรดก ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างหนักว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทนแรงเสียดทานได้หรือไม่ ภาษีที่ดินและมรดกจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook