ฮือฮา! ไข่เหี่ยวที่เชียงใหม่ นักวิทย์ยืนยันกินได้

ฮือฮา! ไข่เหี่ยวที่เชียงใหม่ นักวิทย์ยืนยันกินได้

ฮือฮา! ไข่เหี่ยวที่เชียงใหม่ นักวิทย์ยืนยันกินได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่มีผู้โพสต์ภาพของไข่ไก่ที่มีเปลือกเหี่ยวย่นต่างจากไข่ไก่ปกติลงบนโลกออนไลน์ โดยบอกว่าพบที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น ล่าสุด ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ถึงกรณีดังกล่าว โดยชี้แจงว่า "บางคนสงสัยว่าถ้าอากาศหนาวเย็นแล้วเปลือกไข่มันเหี่ยวได้ ทำไมเอาไข่แช่ตู้เย็นแล้วมันไม่เหี่ยวเหมือนกันล่ะ .. บางท่านอธิบายต่อว่าตอนไข่มันออกมาจากตูดไก่ (ใช่แล้วทุกท่าน ไข่ไก่มันออกมาจากตูดไก่) มันยังนิ่มๆ อยู่ แล้วเจออากาศเย็นๆ ทำให้เปลือกไข่หดตัวตามความดันอากาศ ฯลฯ

ผมฟังแล้วไม่ค่อยอินด้วยเท่าไหร่ เพราะเวลาไก่มันไข่ออกมา เปลือกไข่มันก็แข็งเรียบร้อยแล้วระหว่างที่เปลือกฟอร์มตัวอยู่ในร่างกายของไก่ ถ้าเปลือกจะไม่เรียบหรือปุ่มป่ำก็เกิดตั้งแต่ในตัวแล้ว ดังเช่นในคลิปนี้ https://www.youtube.com/watch?v=Iil_YNHO4EY

ลองค้นหาข้อมูลในเน็ตดู เลยได้ความรู้ใหม่ว่ามันเกิดจากไก่ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ หรือ Infectious Bronchitis (IB) ของไก่ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและเกิดขึ้นบ่อยทีเดียว และมีผลทำให้เกิดการลดลงของผลผลิตไข่ได้ .... แต่ผมคิดว่าไข่นั้นกินได้นะ ไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค (ไม่ใช่โรคไข้หวัดนกแบบที่เราต้องกลัว)

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://anchan.lib.ku.ac.th/.../002/106/1/manual_Fowl_diseases...

----------------------------------

จาก http://www.ceva.co.th/n.../node_26229/node_26267/node_26327/IB
โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ Infectious Bronchitis (IB) ในไก่ที่อายุน้อยกว่า 4 สัปดาห์ มักจะพบว่าเชื้อไวรัสทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง (จาม,ไอ และหายใจลำบาก) โดยจะพบว่าไก่มีอาการซึม นอนเกาะกลุ่มอยู่รอบ ๆ กก และมีการอักเสบของช่องจมูกและเยื่อตาขาว อัตราการตายอาจสูงถึง 100% การตายในไก่ที่มีอายุน้อยนั้น โดยทั่วไปจะไม่มีนัยสำคัญ หากไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อต่าง ๆ ร่วมด้วย

จากศึกษาในกรณีดังกล่าวจะ พบการอักเสบแบบปานกลางถึงรุนแรงในส่วนของผนังเยื่อบุทางเดินหายใจ ส่วนต้น เป็นผลทำให้เกิดการหนาตัวของผนังเยื่อบุทางเดินหายใจ ในไก่ระยะไข่ที่ติดเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ จะพบการอักเสบของรังไข่ และพบลักษณะที่ผิดปกติของท่อนำไข่ โดยส่วนที่ได้รับผลกระทบคือท่อนำไข่ส่วนกลาง และส่วนท้ายที่จะทำหน้าที่ในการสร้างเมือกเคลือบ พบการฝ่อของท่อนำไข่ พบถุงน้ำ และการคงค้างของไข่แดง หรือพบไข่ในช่องท้อง ซึ่งเรียกว่า internal layer 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นของโรคนี้คือการลดลงของผลผลิตไข่ โดยพบจำนวนของไข่ที่ผิดปกติมีเพิ่มมากขึ้น และไข่สีซีด หรือไข่ที่ไม่มีเปลือก และไข่ขาวเป็นน้ำ ไข่ที่มีรูปร่างผิดปกติ และไข่สีซีด

โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ (IB) มีสาเหตุจากโคโรนาไวรัส ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือความหลากหลายในการเป็นแอนติเจน และสิ่งนี้จึงทำให้มีการค้นพบเชื้อหลากหลายซีโรไทป์ (Massachusetts, Arkansas 99, Connecticut, O72 และซีโรไทป์อื่น ๆ) บ่อยครั้งที่พบว่าการติดเชื้อมีความซับซ้อนจากเชื้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ E. coli, Mycoplasma gallisepticum , เชื้อไวรัสกล่องเสียงอักเสบ และเชื้อชนิดอื่น ๆ เชื้อ IB สเตรนสายพันธุ์ที่ทำให้ไตเสื่อมเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบของไตอย่างรุนแรง

โดยพบการอักเสบในส่วนของท่อและเนื้อไต โดยมียูเรตตกค้างอยู่ในท่อไต และแทรกอยู่ตามเนื้อไต การเสียเลือดทำให้เพิ่มอัตราการตายได้ ในสภาวะธรรมชาติจะพบปัญหาเฉพาะในไก่ตัวเมียระยะไข่เท่านั้น ไก่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะไวรับต่อการติดเชื้อ แม้ว่าจะทำวัคซีนแล้วยังสามารถพบปัญหาโรคนี้ได้

วิธีการตรวจเช็คมีหลากหลายวิธีที่นิยมใช้ในการวินิจฉัย (VN , ELISA และวิธีอื่น ๆ ) โดยปัจจุบัน PCR เป็นวิธีที่สามารถแยกซีโรไทป์ได้อย่างรวดเร็ว ควรจะมีการแยกวินิจฉัยแยกโรคหลอดลมอักเสบติดต่อออกจากโรคในทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น นิวคาสเซิล กล่องเสียงอักเสบ และโรคหวัดหน้าบวม การทำวัคซีนโดยใช้วัคซีนเชื้อเป็นหรือเชื้อตายสามารถคุ้มโรคได้เฉพาะสเตรนที่เกี่ยวข้องในการให้เท่านั้น
(ที่มา: "Diseases of poultry - A colour atlas" - Ivan Dinev & CEVA Santé Animal, 2010)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook