สปส.ต้องทบทวน ตัดสิทธิผู้ประกันฯ กรณีออกจากงาน

สปส.ต้องทบทวน ตัดสิทธิผู้ประกันฯ กรณีออกจากงาน

สปส.ต้องทบทวน ตัดสิทธิผู้ประกันฯ กรณีออกจากงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวานนี้มีข่าวว่า น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ทบทวนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกันสังคม(ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ตามขั้นตอนตามวาระแรกไปแล้ว และรอการพิจารณาในวาระที่สองในเดือนกุมภาพันธ์

เนื่องจากพบว่าร่างดังกล่าวมีการตัดสิทธิผู้ประกันตนกรณีลาออกจากงานจากเดิมที่ผู้ประกันตนจะได้รับเงินช่วยเหลือขณะว่างงานจำนวนร้อยละ 30 ของค่าจ้างไม่เกิน 3 เดือน

โดยที่ไม่มีการสอบถามผู้ประกันตนและส่งผลกระทบ สร้างความเดือดร้อนต่อผู้ประกันตนอย่างมาก เนื่องจากแรงงานบางรายลาออกด้วยเหตุผลที่ต้องมาดูแลอาการป่วยของคนในครอบครัว การตัดสิทธิออกไปก็ยิ่งเป็นการซ้ำเติมแรงงานมากยิ่งขึ้น

การตัดสิทธิดังกล่าวออก เพราะสปส.ระบุว่ามีผู้ประกันตนบางคนลาออกเนื่องจากหวังเงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน

ทั้งนี้ คสรท. เห็นว่า ข้อเท็จจริงไม่มีใครอยากลาออกจากงาน ซึ่งการลาออกจะทำให้ขาดรายได้เลี้ยงครอบครัวและพบว่าบางส่วนถูกนายจ้างบีบให้ออกจากงาน

นอกจากนี้ ทางคสรท.ยังขอให้ทบทวนกรณีลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนแต่ส่งเงินสมทบไม่ถึง 15 ปีและมีอายุต่ำกว่า 55 ปี สามารถขอรับเงินสิทธิประโยชน์กรณีบำเหน็จชราภาพได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงเกณฑ์อายุ 55 ปี

เพราะผู้ประกันตนหลายคนที่ลาออกจากงานมีความเดือดร้อน ที่ผ่านมามีกรณีแรงงานเสียชีวิตก่อนอายุครบ 55 ปีและไม่ได้แจ้งระบุทายาทผู้รับเงินต่อสปส.ไว้จึงทำให้เงินตกเป็นของกองทุน

ทั้งสองประเด็นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทบทวนตามข้อเสนอของ คสทร. เพราะหลักสำคัญของประกันสังคมคือต้องช่วยเหลือดูแลลูกจ้างที่เป็นสมาชิกชองกองทุนเพื่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างระดับล่าง การพ้นจากงานไม่ว่ากรณีใดๆ กองทุนต้องเข้ามาดูแล เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาสังคมตามมา

และกองทุนประกันสังคมเองซึ่งนำเม็ดเงินของสมาชิกกองทุนที่มีจำนวนมหาศาลไปหาประโยชน์ได้ดอกผลตอบแทนกลับมามากมาย ก็ควรที่จะดูแลสมาชิกยามลำบาก

ทั้งนี้เห็นด้วยกับทาง คสทร.ว่าการให้เหตุผลในการตัดสิทธิผู้ประกันตนเพราะอยากเงินเงินชดเชยนั้น เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นอย่างยิ่ง คงไม่มีไครมองเห็นผลประโยชน์เพียงครึ่งหนึ่งของเงินเดือน และมีระยะเวลาเพียง3เดือนที่ชดเชยให้เท่านั้น การมีงานทำที่มั่นคงเป็นหลักประกันในการเลี้ยงดูครอบครัวมากที่สุด

การตัดสิทธิเงินชดเชยช่วยเหลือในยามที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน หากสมาชิกไม่สามารถหางานเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวได้ อาจเป็นการผลักให้บางคนหันไปประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต ไม่ใช่สัมมาอาชีพขึ้นมาได้...เท่ากับเป็นการสร้างปัญหาสังคมที่เลวร้ายขึ้นมา ซ้ำเติมไม่รู้จบสิ้น

จึงเห็นด้วยและสนับสนับสนุนให้มีการทบทวนในประเด็นดังกล่าวตามข้อเสนอของ คสทร.

โดย: เปลวไฟน้อย 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook