หนุ่มวิศวกรหาปลากลางดึกพบลูกแก้ว เชื่อเป็นของพญานาค-กรมศิลป์ ยังไม่สรุป

หนุ่มวิศวกรหาปลากลางดึกพบลูกแก้ว เชื่อเป็นของพญานาค-กรมศิลป์ ยังไม่สรุป

หนุ่มวิศวกรหาปลากลางดึกพบลูกแก้ว เชื่อเป็นของพญานาค-กรมศิลป์ ยังไม่สรุป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(27 ก.พ.) ชาวบ้านในหมู่บ้านสันบุญเรือง ม.4 ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง รวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียงในพื้นที่ ต.ปงยางคก ได้แห่พากันไปดูลูกแก้วประหลาด ที่มีผู้นำเข้ามาที่บ้านเลขที่ 53/1 บ้านสันบุญเรือง ม.4 ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ซึ่งเป็นบ้านของ นางอามร โภยะโล อายุ 60 ปี

ทั้งนี้ ชาวบ้านมีความเชื่อว่า เป็นลูกแก้วศักดิ์สิทธิ์ของพญานาคราชในแม่น้ำวัง มีน้ำหนักมาถึง 10.2 กิโลกรัม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร จะเป็นลูกแก้วที่เป็นลักษณะใสขุ่น เมื่อมีการส่องไฟกระทบจะเป็นแสงวนอยู่ข้างในลูกแก้ว

สำหรับลูกแก้วลูกนี้ นายพีระพันธ์ โภยะโล อายุ 34 ปี เป็นวิศวกรอยู่ที่โรงงานเซรามิกแห่งหนึ่งใน จ.ลำปาง โดยเป็นบุตรชายของ นางอามร เล่าว่า เมื่อคืนของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ตนพร้อมด้วยหลานชาย ได้ไปหาปลาที่แม่น้ำวัง หาปลาได้สักพักก็พบปลาช่อนตัวใหญ่ และยาวประมาณครึ่งเมตรว่ายดิ้นอยู่ แต่ปรากฏว่าปลาตัวดังกล่าวได้ว่ายดิ้นหนีไปอย่างรวดเร็วในจุดที่น้ำลึก แต่สิ่งที่ตนพบคือแสงกระทบลูกแก้วที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นทรายก้นแม่น้ำวัง

จากนั้นตนจึงได้เรียกหลานชายมาช่วยกันเขี่ยทรายที่ถมลูกแก้วดังกล่าวแต่ไม่สามารถยกขึ้นมาได้ จึงได้ยกมือไหว้ขอว่าอยากที่จะเอาขึ้นมาไว้ที่บ้านเพื่อกราบไหว้บูชา เมื่อไหว้เสร็จ ก็ทำการเขี่ยทรายที่ล้อมถมลูกแก้ว ก่อนที่จะยกขึ้นได้สำเร็จ จึงรีบนำกลับมาบ้าน เพื่อใส่พานไว้บูชาจนโดยตนก็มาทราบว่า ชาวบ้านได้ไปถามทรงเจ้า ทราบว่า เป็นลูกแก้วของพญานาคราช หรือพญานาค ในแม่น้ำวัง ที่จะให้ลูกแก้วขึ้นมาให้ชาวบ้านได้เห็น และกราบไหว้บูชา และจะให้โชคลาภ 2 งวด

ทั้งนี้ หลังจากที่ข่าวพบลูกแก้วประหลาดที่บ้านหลังดังกล่าวแพร่สะพัดออกไป เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน กรมศิลปากร เดินทางมาที่บ้านหลังดังกล่าว มาดูว่า เป็นลูกแก้วใด และสอบถามข้อมูลการพบลูกแก้วดังกล่าว ในเบื้องต้นที่เดินทางมาดูยังไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นลูกแก้วที่มีอายุเก่าแก่ จากเมืองเก่าในอดีตของ จ.ลำปาง หรือไม่ ซึ่งจะต้องนำไปตรวจพิสูจน์อีกครั้ง

โดยที่ชาวบ้านก็ได้สอบถามว่า หากเป็นของเก่าแก่ในอดีตจริง จะต้องทำอย่างไร และใครเป็นผู้ครอบครอง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ จากสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน กรมศิลปากร ได้บอกให้ชาวบ้านได้เกิดความเข้าใจ ว่า จะต้องมีการตรวจสอบให้แน่ชัดก่อน และจะมีการประเมินมูลค่า รวมถึงจะต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี จะเก็บไว้เป็นของสาธารณะประโยชน์ เช่น เก็บไว้ที่วัด หรือผู้ที่พบเก็บไว้ แต่หากลูกแก้วหาย ผู้ที่พบ และดูแลจะต้องเสียค่าใช้จ่ายตามมูลค่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ ก็จะต้องขึ้นอยู่กับการตรวจสอบก่อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook