บวรศักดิ์พอใจกมธ.ยกร่างพัทยาชี้ถกมาตรารวดเร็ว

บวรศักดิ์พอใจกมธ.ยกร่างพัทยาชี้ถกมาตรารวดเร็ว

บวรศักดิ์พอใจกมธ.ยกร่างพัทยาชี้ถกมาตรารวดเร็ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พอใจประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญ นอกสถานที่ ชี้พิจารณารายมาตราได้เร็ว โดยเฉพาะประเด็นนักการเมือง

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยอมรับว่า การจัดการประชุมกรรมาธิการนอกสถานที่ ทำให้การพิจารณาเรื่องสำคัญผ่านได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะหมวดที่มีจำนวนมาตรามาก รวมถึงหมวดที่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง เห็นได้จากกรรมาธิการสามารถพิจารณาได้อย่างต่อเนื่อง และยังเป็นอีกช่องทางให้กรรมาธิการได้รู้จักกันมากขึ้น เพราะหลังการประชุมได้นัดทานอาหารค่ำร่วมกัน ใช้โอกาสนั้นแลกเปลี่ยนทัศนะคติ ปรับความเข้าใจ หลังการประชุมถกเถียงกันเข้มข้น และในช่วงการปรับแก้ไขเพิ่มเติมรอบสุดท้ายอาจต้องจัดการประชุมลักษณะนี้อีกครั้ง ส่วนการประชุมครั้งนี้ ส่วนตัวพอใจ เพราะเป็นไปตามกรอบที่วางไว้ หากไม่มีอะไรผิดพลาด คาดว่าการพิจารณาจะแล้วภายในวันนี้ โดยจะนำเอาบทเฉพาะกาลไปพิจารณาที่กรุงเทพมหานคร

 

กมธ.ยกร่างฯระบุบทสุดท้ายของรธน.กำหนดแก้ไขเพิ่ม5มาตรา

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงผลการพิจารณาเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญว่า ล่าสุดที่ประชุมได้ผ่านการพิจารณา เนื้อหาของบทสุดท้ายในร่างรัฐธรรมนูญ โดยได้บัญญัติ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีทั้งสิ้น 5 มาตรา กำหนดวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมให้เป็นเจ้าหน้าที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี หรือ ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิก หรือ ส.ส. และ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของทั้งสองสภา หรือประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคน เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ เมื่อผ่านการพิจารณาขอรัฐสภาทั้งสามวาระต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 เมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความถูกต้องก่อนภายใน 30 วัน หากศาลวินิจฉัยว่าไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ให้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป

 

กมธ.ระบุแก้รธน.ต้องให้ปชช.ลงประชามติก่อนทูลเกล้าฯ

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงบทสุดท้าย กรณีแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหารัฐธรรมนูญ ภาค 2 พระมหากษัตริย์และประชาชน รวมถึงเรื่อง หลักประกันสิทธิเสรีภาพ โครงสร้างทางการเมือง การตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐ และกลไกวินัยการเงินการคลังนั้น จะต้องนำร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ในกรณีประชาชนออกเสียงข้างมากไม่เห็นชอบให้ร่างแก้ไขดังกล่าวตกไป

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีคณะผู้ทรงคุณวุฒิอิสระ ทำหน้าที่ประเมินผลการบังคับใช้รัฐธรรมนูญทุกๆ 5 ปี หากเห็นควรให้มีการแก้ไขหรือปรับปรุง ให้เสนอความเห็นต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป

 

 

-----------------------------------------------------------

กมธ.ยกร่างถกภายใน-สมบัติบอกเลือกสว.ทางอ้อมซับซ้อน

http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=601719


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook