เสี่ยง! นักวิชาการชี้ อีกไม่เกิน 20 ปี โลมาอิรวดีอาจสูญพันธุ์

เสี่ยง! นักวิชาการชี้ อีกไม่เกิน 20 ปี โลมาอิรวดีอาจสูญพันธุ์

เสี่ยง! นักวิชาการชี้ อีกไม่เกิน 20 ปี โลมาอิรวดีอาจสูญพันธุ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีพบซากโลมาอิรวดีเน่าเปื่อยกลางทะเลเป็นตัวที่ 12 ภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน ถือเป็นประเด็นเกี่ยวกับทรัพยากรชายฝั่งทะเลที่น่าเป็นห่วง เพราะโลมาอิรวดีในอ่าวตราดถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีอัตราการรอดชีวิตหลังคลอดต่ำเพียง 50% เท่านั้น

ชลาทิพย์ จันทร์ชมพู นักวิชาการประมงชำนาญการ กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ได้ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า จากการพิสูจน์ซากโลมาอิรวดีที่เก็บได้ล่าสุดนั้นไม่สามารถระบุได้ถึงสาเหตุที่แน่ชัด เนื่องจากอยู่ในสภาพเน่ามาก แต่ในกรณีก่อนหน้านี้ พบว่าเป็นการตายที่ผิดธรรมชาติ คือมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะไปติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ และจมน้ำตายในที่สุด

จากการเก็บสถิติโดยกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นในช่วงต้นปีเหมือนๆ กัน คือมีโลมาจำนวนมากเสียชีวิตในระยะเวลาไม่ห่างกัน อาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นผลกระทบจากการปิดอ่าวบริเวณข้างเคียง เนื่องจากเป็นฤดูกาลวางไข่ของปลาทู ทำให้เรือประมงจากต่างพื้นที่เข้ามาที่อ่าวตราดเป็นจำนวนมากกว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ในลักษณะนี้ถือเป็นเหตุสุดวิสัย เนื่องจากสัตว์ที่อยู่ในอวนลากของเรือประมงเป็นอาหารของโลมาอิรวดี อาจทำให้มันเข้าไปติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ และการปิดอ่าวตราดในช่วงปลาทูวางไข่ ยังเป็นสิ่งที่ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำกินของคนในพื้นที่

นักวิชาการยังระบุอีกว่า หากยังเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยอัตราการตายไม่ลดลง ไม่เกิน 15-20 ปี โลมาอิรวดีก็จะกลายเป็นสัตว์สูญพันธุ์อย่างแน่นอน เนื่องจากตามสถิติแล้ว ไม่ควรเสียชีวิตเกินปีละ 10 ตัว แต่ในช่วงไม่ถึง 2 เดือนที่ผ่านมา เสียชีวิตไปแล้วถึง 12 ตัว และโดยเฉลี่ยในแต่ละปี จะมีลูกโลมาอิรวดีเกิดใหม่เพียง 5 ตัวเท่านั้น

ขอขอบคุณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก และ www.emcor.go.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook