กมธ.การเมืองสปช. ค้านนายกคนนอกเว้นมีวิกฤตอยู่1ปี

กมธ.การเมืองสปช. ค้านนายกคนนอกเว้นมีวิกฤตอยู่1ปี

กมธ.การเมืองสปช. ค้านนายกคนนอกเว้นมีวิกฤตอยู่1ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กมธ.ปฏิรูปการเมือง ได้ข้อสรุป ค้านที่มานายกฯ ชี้ต้องใช้ในช่วงวิกฤตบ้านเมือง ให้อยู่ 1 ปี เท่านั้น เห็นด้วย ส.ว. ไม่เกิน 200 แต่ขอมีเลือกตั้งทางตรง จังหวัดละ 1 คน -ส.ส.บัญชีรายชื่อ แบบโอเพนลิสต์ ทำประชาชนสับสน

นายบุญเลิศ คชายุทธเดช โฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง และ นายนิรันดร์ พันทรกิจ กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง แถลงความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. นอกสถานที่ ว่า คณะกรรมาธิการฯ มีความเห็นต่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัธรรมนูญ เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่กำหนดว่าไม่ต้องมาจาก ส.ส.ได้นั้น ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เพราะเห็นว่านายกรัฐมนตรีควรมาจาก ส.ส. แต่ในกรณีที่เกิดวิกฤต ทำให้ไม่สามารถสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกจากบุคคลภายนอกได้ แต่จะต้องได้เสียง 2 ใน 3 ของสภา ให้ตำแหน่งไม่เกิน 1 ปี ยกเว้นหากมีความจำเป็นต้องบริหาราชการแผ่นดินต่อ จะต้องขอความเห็นชอบจากสภาในขณะนั้น

นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยตามมติของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ ส.ว. มีจำนวนไม่เกิน 200 คน แต่ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยให้ประชาชนเลือกจังหวัดละ 1 คน คือ 77 คน ส่วนที่เหลืออีก 123 คน ให้มาจากโดยคัดเลือกตามช่องของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่รวมวรรค 1 และ 2 ให้มาจาก 3 ประมุข เช่น อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ

นายบุญเลิศ ระบุว่า ประเด็นการเลือกตั้งแบบผสมนั้น ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป แต่เบื้องต้นไม่เห็นด้วยกับการนำระบบที่ให้ประชาชนจัดลำดับ ส.ส. บัญชีรายชื่อเอง หรือโอเพนลิสต์ เพราะยากต่อการเข้าใจ ทำให้ประชาชนสับสน และจะหาข้อยุติใหม่ ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคมนี้ แต่กรรมาธิการเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องการแบ่งแยกอำนาจ กำหนดให้มีคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง หรือ กจต. มาทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งแทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แต่ยังติดใจเรื่ององค์ประกอบของ กจต. ว่าควรมาจากส่วนราชการทั้งหมดหรือไม่ เพราะกังวลถึงความเป็นกลางในการทำหน้าที่ที่อาจถูกแทรกแซงโดยฝ่ายการเมืองได้

ส่วนประเด็นเรื่องให้ประชาชนลงมติถอดถอน ส.ส. จากการกระทำผิดจริยธรรมร้ายแรงได้นั้น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ไม่เห็นด้วย เพราะไม่มีผลในทางปฏิบัติได้จริง และต้องใช้เวลานาน


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook