นายกฯชี้ม.44ใช้แก้ปัญหาบริหารราชการแผ่นดิน

นายกฯชี้ม.44ใช้แก้ปัญหาบริหารราชการแผ่นดิน

นายกฯชี้ม.44ใช้แก้ปัญหาบริหารราชการแผ่นดิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พล.ต.สรรเสริญ เผย นายกฯ ชี้ ม.44 ใช้แก้ปัญหาบริหารราชการแผ่นดิน ยันไทยยังไม่ได้ถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือจาก ไอซีเอโอ ขณะ ห่วง กมธ.ยกร่างรธน. เปิดเวทีประชาพิจารณ์ สั่ง 'วิษณุ' หารือ ปรับรูปแบบเวที

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการและชี้แจงในที่ประชุม ถึงการใช้อำนาจ คสช. ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ได้มอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด ซึ่งในเบื้องต้นแบ่งสัดส่วนการใช้อำนาจได้ 2 ส่วน คือ การใช้เพื่อแก้ไขปัญหาต่อการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น กรณีถูกเพ่งเล็งจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ไอซีเอโอ ยืนยันว่า ไทยยังไม่ได้ถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือจาก ไอซีเอโอ แต่เป็นเพียงการถูกแจ้งเตือนมาตั้งแต่ปี 2548 และยังไม่ได้แก้ไขให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด เช่น กฎระเบียบยังไม่ทันสมัย เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค ยังไม่เพียงพอ เครื่องมือยังไม่เพียงพอ เป็นต้น ส่วนการหากฎกติกามาทดแทนกฎอัยการศึก ที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 นั้น ต่างประเทศ มีความกังวลต่อคำว่ากฎอัยการศึก ซึ่งมีการใช้เพียง 2 ข้อเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้สังคมโดยเฉพาะต่างประเทศ เกิดความสบายใจ จึงหาแนวทางใช้อำนาจของ คสช. ตามมาตรา 44 มากำหนดเป็นกฎหมายเพื่อกำหนดเฉพาะเรื่อง

 

นายกฯ ห่วง กมธ.ยกร่างเปิดเวทีประชาพิจารณ์

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการและชี้แจงในที่ประชุมว่า คณะรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงเรื่องของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเวทีในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และใช้คำว่าประชาพิจารณ์ ในการรับฟังคำวิจารณ์จากประชาชนในเรื่องต่างๆ ของตัวร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางคณะรัฐมนตรี มองว่าเป็นจุดที่ทำให้เกิดความรู้สึกขัดแย้ง หรือมีทัศนคติไม่ดีต่อรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมจึงมีมติให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายรับไปหารือเป็นข้อพิจารณากับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในการปรับรูปแบบเวทีในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จากประชาพิจารณ์เป็นการขอรับฟังความคิดเห็นของประชาชนถึงความต้องการในข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญ และไม่อยากให้มีสิ่งใดบ้าง

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook