ไครออนิกส์ วิทยาการใหม่หวังปลุกร่างไร้วิญญาณ

ไครออนิกส์ วิทยาการใหม่หวังปลุกร่างไร้วิญญาณ

ไครออนิกส์ วิทยาการใหม่หวังปลุกร่างไร้วิญญาณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่พ่อแม่รอความหวังจากเทคโนโลยีในอนาคตจะช่วยชุบชีวิตลูกขึ้นมาอีกครั้ง และได้มีการนำร่างอันไร้วิญญาณของลูกสาว "น้องไอนส์" อายุ 2 ขวบ ที่ครอบครัวได้นำส่งไปยังมูลนิธิอัลคอร์ไลฟ์ เอ็กซ์เทนชั่น รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา หลัง "น้องไอนส์" เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในสมอง ทำการแช่แข็งด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า "ไครออนิกส์" 

ความหวังที่คนอาจจะมองว่าเพ้อเจ้อ

วิทยาการ "ไครออนิกส์" คือ การเก็บรักษาเซลล์ด้วยการแช่แข็งภายใต้อุณหภูมิติดลบ 190 องศา เกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่ปี 1962 แต่เพิ่งจะมาเป็นที่รู้จักในประเทศไทย 

ดร.สหธรณ์ เนาวรัตน์พงษ์ พ่อของน้องไอนส์ กล่าวว่า "สำหรับผมมองว่าคนที่เป็นนักดนตรีเขามีความฝันเรื่องของดนตรี คนที่เป็นนักวาดภาพก็มีความฝันเรื่องของการวาดภาพ ส่วนผมเชื่อในเรื่องของวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าในอนาคตมันจะเป็นอย่างไร"

"ความจริงแล้วเรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเขามีมานานแล้วตั้งแต่ปี 1962 เพียงแต่ว่าในบ้านเรามันเป็นเรื่องใหม่พอผมทำแบบนี้ก็เลยถูกมองจากสังคมว่าเป็นคนเพ้อเจ้อ มีกระแสการต่อต้านจากสังคมเหมือนกันซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา"

"ร่างของน้องได้ฌาปณกิจไปแล้ว แต่มีการเก็บแช่แข็งไว้เพียงสมองและรอวิทยาการในอนาคตที่จะสามารถรักษามะเร็งในสมองได้ ผนวกกับการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ ขึ้นมา เมื่ออนาคตสองวิวัฒนาการนี้มาบรรจบกันอาจจะเป็นไปได้ทั้งนั้น"

"หลายคนสงสัยว่าปกติแล้วการแช่แข็งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของการแช่แข็งแบบไข่หรือว่าตัวอ่อนเป็นส่วนใหญ่ แต่การแช่แข็งในแบบของน้องไอนส์นั้นผมมองว่ามันเป็นวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นขั้นบันไดอีกขั้นของวิทยาศาสตร์ ซึ่งผมเองย้ำเสมอว่าอนาคตผมไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไร แต่ความจริงแล้วผมก็ทำใจไว้แล้วว่าต้องสูญเสียลูก แต่การทำแบบนี้ผมมองว่ามันเหมือนเป็นการดูแลลูกของผมในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าตอนนี้มีคนนับเป็นพันคนเข้าไปใช้วิธีการแบบนี้เพียงแต่ว่ากรณีของลูกสาวผมเป็นเด็กที่มีอายุน้อยสุดเลยทำให้เกิดกระแสดังไปทั่วโลกแถมเป็นเรื่องใหม่ในเมืองไทยเลยทำให้เกิดเป็นกระเด็นขึ้นมาในสังคม"

"สำหรับเรื่องโครโอนิกส์หรือการแช่แข็งนั้นความจริงแล้วผมศึกษามาตั้งนานแล้ว ซึ่งในต่างประเทศเขารับรู้เรื่องนี้กันตลอด แต่สำหรับสังคมไทยแล้วมันเป็นมุมมองอีกด้าน แต่ผมก็เข้าใจนะเพียงแต่อยากให้ทุกคนเข้าใจครอบครัวผมเหมือนกัน " (ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากเรื่องเล่าเช้านี้และรายการปากโป้ง)

และประเด็นนี้เองทำให้คนสังคมเกิดความสงสัยว่าตามข้อ "กฎหมายไทย" ครอบครัวสามารถกระทำกับร่างอันไร้ลมหายใจแบบนี้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายใดๆ ใช่หรือไม่

ด้านนักกฎหมายชื่อดัง ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมายนี้ว่า

"ในกรณีนี้ครอบครัวของน้องได้ทำเรื่องว่าน้องเสียชีวิตแล้วและมีการออกใบมรณะบัตรเป็นที่เรียบร้อย ในข้อกฎหมายปกติคนเสียชีวิตจะมีการออกใบมรณะบัตรเพื่อที่จะเอาไปบรรจุศพตามหลักทางศาสนาของครอบครัวนั้นๆ  แต่ในกรณีนี้เป็นเรื่องของญาติซึ่งคือพ่อแม่ของน้อง เจ้าของศพจะดำเนินการอย่างไรถือเป็นเรื่องของครอบครัวเขาแล้ว ส่วนจะฟื้นหรือดำเนินการได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องของอนาคต ในส่วนของกฎหมายไทยถือว่าจบแล้ว มีการออกใบมรณะบัตรเรียบร้อย" 

"หรือถ้าครอบครัวไหนอยากเก็บศพคนในครอบครัวไว้ ตามกฎหมายถือว่าทำได้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพวกศพต่างๆ เป็นกรรมสิทธิ์ของครอบครัว เคยมีกรณีศึกษาคนที่เสียชีวิตนั้นได้เคยแจ้งความจำนงค์ไว้ว่าจะบริจาคอวัยวะหรืออุทิศร่างเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ พอบุคคลนั้นเสียชีวิตจริงแล้วทางโรงพยาบาลจะมาเอาศพไป แต่ปรากฎว่าทางครอบครัวมีความเชื่อและไม่อนุญาตให้ศพไปและมีการไปสู้คดีกันเกิดขึ้น สุดท้ายศาลวินิจฉัยว่าศพเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาท ใครจะเอาไปทำอะไรอย่างไรต้องได้รับการอนุญาตจากทายาท  และในกรณีนี้ถ้าพ่อแม่เขาจะเก็บไว้และเก็บไว้ตรงไหนถือว่าไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด" 

 

 

   

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook