ไพบูลย์ปัดวิจารณ์ รธน.รอรัฐบาลชัดคำแก้14พ.ค.

ไพบูลย์ปัดวิจารณ์ รธน.รอรัฐบาลชัดคำแก้14พ.ค.

ไพบูลย์ปัดวิจารณ์ รธน.รอรัฐบาลชัดคำแก้14พ.ค.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'พล.อ.ไพบูลย์' ไม่ขอวิจารณ์รัฐธรรมนูญร่างแรก 13-14 พ.ค. ชัดคำขอแก้ไขจาก ครม. คสช. ย้ำ ม.44 ใช้อำนวยความสะดวกบริหารแผ่นดิน

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงการยื่นเสนอคำขอแก้ไชร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างเสร็จแล้ว ว่า ในส่วนของคณะรัฐมนตรีนั้น เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายกรัฐมนตรีได้มีการสั่งการให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงได้ไปศึกษาในเนื้อหารายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญ แล้วให้สรุปรวบรวมเสนอต่อ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี 

โดยในส่วนของกระทรวงยุติธรรมนั้น ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวง อธิบดี ได้ดูในรายละเอียดว่ามีส่วนใดเกี่ยวข้องกับกระทรวงบ้าง และให้รวบรวมส่งตนเองในวันที่ 1 พ.ค. ก่อนจะนัดประชุมในภาพรวมของกระทรวงอีกครั้ง 

ทั้งนี้ พล.อ.ไพบูลย์ ไม่ขอแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกนี้ ขอให้ทุกคนได้ทำหน้าที่ได้เต็มที่ ซึ่งในวันที่ 13-14 พ.ค. นี้ ในส่วนของทาง คสช.และคณะรัฐมนตรีน่าจะมีความชัดเจนในเรื่องของการเสนอขอแก้ไข และยังกล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีใช้มาตรา 44 ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ว่า นายกรัฐมนตรีได้พูดไว้ชัดเจนว่าจะใช้เพื่ออำนายความสะดวกให้กับการบริการราชการแผ่นดินที่มีความติดขัด ไม่ใช่ว่ามีปัญหาอะไรก็จะให้มาตรา 44 แก้ไขได้ทุกอย่าง ซึ่งการจะใช้ก็ต้องใช้ด้วยความรอบคอบ และขอยืนยัน มาตรา 44 นั้นไม่ใช่อำนาจที่เบ็ดเสร็จ 

พล.อ.ไพบูลย์ ยังเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินการกับข้าราชการที่มีพฤติกรรมส่อทุจริตคอร์รัปชั่น ว่า ในขณะนี้ได้เสนอรายชื่อให้นายกรัฐมนตรีไปแล้ว และนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไปดูในแง่ของข้อกฎหมาย ว่าจะมีการใช้อย่างไรให้รอบคอบ รัดกุม และไม่ให้ดูเหมือนเป็นการรังแกกัน ส่วนหลังจากนี้ หาก 4 หน่วยงานที่ตรวจสอบพบว่ามีข้าราชการมีพฤติกรรมส่อทุจริตอีกก็ให้ทยอยส่งรายชื่อมา โดยการดำเนินการในขั้นนี้จะเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในการโยกย้าย ปรับออก จากนั้นก็ให้เป็นไปตามเรื่องของกระบวนการยุติธรรม

นอกจากนี้ พล.อ.ไพบูลย์ ยังกล่าวว่า ในขณะนี้กำลังทำหนังสื่อเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์สิทธิที่ดินมาร่วมหารือ อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คาดว่าจะนัดประชุมได้ในสัปดาห์หน้า และขอยืนยันว่าการดำเนินการทุกอย่างจะไม่มีการเลือกปฏิบัติ ขอให้ทุกคนมีความมั่นใจ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือประเทศเนปาลจากกรณีแผ่นดินไหวนั้น ทางกระทรวงยุติธรรมได้มีการเตรียมความพร้อมในส่วนของหน่วนพิสูจน์หลักฐานไว้แล้ว เพื่อให้การช่วยเหลือหากมีการร้องขอมา


กมธ.นัด6 พ.ค. ถกข้อเสนอ สปช. แก้ร่าง รธน.

ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ รองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญคนที่ 1 เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในวันนี้ทางกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อเตรียมการก่อนจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 6 พ.ค. เพื่อทบทวนความคิดเห็นของทางสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ว่า มีการเน้นย้ำให้มีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นใดมากที่สุด ซึ่งจากการอภิปรายของสมาชิก สปช. ทั้ง 7 วันนั้น ได้เนื้อหาสาระมากพอสมควร และจากการที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คิดว่าออกมาดีพอสมควร เมื่อเทียบกับระยะเวลาในการทำงาน รวมถึงหลังจากนี้จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปอีกอย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเด็นที่คิดว่าจะมีการเสนอคำขอแก้ไขมากที่สุดนั้น คือ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบราชการประจำ ที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วมีการไม่เห็นด้วยอยู่ ส่วนประเด็นทางการเมือง ก็จะเป็นเรื่องของการเลือกตั้ง ที่เมื่อได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแล้วจะยังคงมีอำนาจเท่าเดิมหรือน้อยลง รวมถึงเรื่องของการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ

นอกจากนี้ ดร.นพ.กระแส ยังกล่าวถึงเรื่องที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จะเสนอให้มีการปรับลดจำนวนมาตราลง ว่า อาจเป็นไปได้ เนื่องจากมีบางเรื่องบางมาตราที่สามารถนำมารวมไว้ด้วยกันได้ แต่ที่ทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เขียนแยกจากกันนั้น เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ให้ประชาชนอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น แต่ทั้งนี้จำนวนของมาตรานั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญแต่สิ่งที่สำคัญคือเนื้อหาสาระที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์มากกว่า 



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook