เอกชัยหวั่นรธน.ไม่ผ่านประชามติต้อมเริ่มนับ1ใหม่

เอกชัยหวั่นรธน.ไม่ผ่านประชามติต้อมเริ่มนับ1ใหม่

เอกชัยหวั่นรธน.ไม่ผ่านประชามติต้อมเริ่มนับ1ใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'พล.อ.เอกชัย' รับห่วงปมทำประชามติ หวั่น รธน.ไม่ผ่านทั้งฉบับ ทำกระบวนการทุกอย่างต้องเริ่มต้นใหม่จากปมเล็กน้อยนักการเมืองไม่เห็นด้วยระบบเลือกตั้ง จ่อขอแก้ถอดถอนนายกฯ-องค์กรอิสระ

พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า ในกระบวนการทำประชามตินั้น จะต้องเตรียมการไว้ตั้งแต่แรก และถามความเห็นของประชาชนก่อนที่จะทำการร่างรัฐธรรมนูญ และ สปช. ก็ต้องเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเช่นเดียวกัน และรูปแบบของเวทีรับฟังความเห็นต้องไม่ใช่อย่างที่จัดในขณะนี้ ที่ร่างเสร็จแล้วถึงมาถามความเห็นของประชาชน ทั้งนี้ หากจะประชามติได้ต้องมี 2 วิธี คือ ต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ก่อน และต้องเขียนในรัฐธรรมนูญ ไว้ว่าให้มีการทำประชามติในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก่อนขึ้นทูลเกล้า หลังจากนั้น ให้เริ่มกระบวนการทำประชามติเพื่อถามความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นั้น ก็ได้ทำประชามติถามประชาชน และส่วนใหญ่เห็นชอบกับรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่า รับไปก่อนแก้ทีหลัง

นอกจากนี้ พล.อ.เอกชัย ระบุว่า หากทำประชามติครั้งนี้ อาจเกิดปัญหา เนื่องรัฐธรรมนูญจะไม่ผ่านทั้งฉบับได้ และจะทำให้กระบวนการทุกอย่างพังทั้งหมด เพียงเพราะบางประเด็นที่ประชาชนและพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย ซึ่งรวมไปถึงระบบเลือกแบบสัดส่วนผสม

พล.อ.เอกชัย ยังเปิดเผยว่า ส่วนตัวได้ยื่นคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ 3 ประเด็น คือ เนื่องจาก ในร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการกำหนดเรื่องพลเมืองไว้ แต่ไม่มีกลไกการสร้างพลเมือง และนำตัวอย่างแบบประเทศเยอรมัน มาปรับใช้กับวัฒนธรรมคนไทยนั้น มองว่า พลเมืองประเทศไทย มีความแตกต่างกับประเทศเยอรมัน ที่รู้จักหน้าที่ของตน มีระเบียบวินัย ซึ่งในประเด็นนี้ จะต้องมีการสร้างกลไกที่ชัดเจนก่อนที่จะมีการกำหนดแบบนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นประเด็นการถอนถอดนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง การจัดตั้งพรรครัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน ที่ต้องมีจำนวน 1 ใน 5 ของจำนวนทั้งหมด อาจจะก่อให้พรรคการเมือง เกิดปัญหาในอนาคตได้ 

พร้อมกันนี้ ยังมีเรื่องการจัดตั้งองค์อิสระต่างๆ ขึ้นมาใหม่กว่า 10 องค์กร ที่จะต้องดูว่าตั้งขึ้นเกินความจำเป็น ซึ่งรวมไปถึงงบประมาณที่มากขึ้นว่าคุ้มค่าหรือไม่ และจะมีผลกระทบตามมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 หรือไม่



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook