ผศ.วุฒิศักดิ์ ย้ำ ทำประชามติต้องใช้มาตรา46

ผศ.วุฒิศักดิ์ ย้ำ ทำประชามติต้องใช้มาตรา46

ผศ.วุฒิศักดิ์ ย้ำ ทำประชามติต้องใช้มาตรา46
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'ผศ.วุฒิศักดิ์' ย้ำทำประชามติต้องใช้มาตรา 46 ชี้ ประชามติรายมาตราเป็นปัญหาและทำได้ยาก เนื่องจากรัฐธรรมนูญเชื่อมโยงกันหลายมาตรา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และในฐานะคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ INN ถึงเรื่องของการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ก่อนหน้านี้เคยมีกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ปี 2552 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เมื่อรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสภาพไปพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ก็ต้องสิ้นสภาพไปด้วย ยกเว้นว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ซึ่งทางกฎหมายในขณะนี้ ก็ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติและในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ ซึ่งหากมีการทำประชามติจริง จะต้องไปอาศัยมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว

ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ กล่าวว่า ในขณะนี้หลายฝ่ายกำลังตื่นตระหนกกลัวว่า รัฐธรรมนูญจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ไม่เห็นด้วย จึงออกมารณรงค์ให้มีการลงประชามติ ซึ่งส่วนตัวมองว่าอย่าเพิ่งคิดไปถึงจุดนั้น เพราะในขณะนี้ยังมีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ คสช. ที่จะเสนอความคิดเห็นไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อขอแก้ไขได้ จนถึงวันที่ 28 พ.ค.

นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ยังกล่าวถึงการทำประชามติรายมาตรา ว่า หากเป็นเช่นนั้น จะทำให้เกิดปัญหาตามมา เนื่องจากรัฐธรรมนูญนั้น มีส่วนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหลายมาตรา ซึ่งถือเป็นเรื่องยากลำบากและเป็นไปได้ยากมาก


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook