มาร์คสั่งหมอพรทิพย์ตรวจโรฮิงญาบาดเจ็บ แจงทหารพม่าทำร้าย บัวแก้วรับปากยูเอ็นฯดูแลแต่ถกกอ.รมน.ก่อน

มาร์คสั่งหมอพรทิพย์ตรวจโรฮิงญาบาดเจ็บ แจงทหารพม่าทำร้าย บัวแก้วรับปากยูเอ็นฯดูแลแต่ถกกอ.รมน.ก่อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายกฯ-กองทัพ ให้หมอพรทิพย์ลุยตรวจสอบชาวโรฮิงญาที่บาดเจ็บ ยันถูกทหารพม่าทำร้าย ตรวจเกาะทรายแดงไม่พบร่องรอยทหารไทยใช้รุนแรง เผยยอดโรฮิงญาในไทยล่าสุดกว่า 5 หมื่น จับจดทะเบียนยาก ประเทศต้นสังกัดไม่รับประกัน ยูเอ็นเฮชซีอาร์ถกบัวแก้วขอร่วมมือแก้ปัญหาชาวโรฮิงญา 3 ระดับ กษิต ไม่ขัดแต่ต้องคุยกอ.รมน.ก่อน ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ เข้าหารือกับกระทรวงการต่างประเทศถึงปัญหากรณีชาวโรฮิงญาจำนวนมากลักลอบเข้าประเทศไทยทางทะเลและถูกจับกุมผลักดันส่งกลับประเทศแล้ว เมื่อวันที่ 29 มกราคม ที่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์หลังเจรจากับนายเรมอน ฮอลด์ ผู้แทนยูเอ็นเฮชซีอาร์ระดับภูมิภาคประจำประเทศไท ยและผู้ประสานงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นานกว่า 1 ชั่วโมงว่า มีการขอความร่วมมือแก้ไขปัญหากรณีชาวโรฮิงญาใน 3 ระดับ คือการดำเนินการร่วมกันระหว่างไทยกับยูเอ็นเอชซีอาร์ การดำเนินการของไทยกับประเทศในภูมิภาค ทั้งประเทศต้นทาง ระหว่างทางและปลายทางของปัญหา อีกส่วนหนึ่งเป็นความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคกับยูเอ็นเอชซีอาร์กับประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ

นายกษิต กล่าวว่า ยูเอ็นเอชซีอาร์ต้องการทราบข้อมูลตามที่เป็นข่าวว่า หน่วยงานความมั่นคงของไทยได้ใช้หลักเกณฑ์ตามหลักมนุษยธรรมของกฎหมายทางทะเล ทั้งการผลักดัน ต้อนรับและดูแลผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายอย่างไร รวมถึงต้องการพบชาวโรฮิงญาที่อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานไทย ซึ่งตนได้ตอบรับตามหลักการแล้ว ส่วนจะพบอย่างไร จะมีการหารือในที่ประชุมกรอบของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงของประเทศ (กอ.รมน.) ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ ในบ่ายวันนี้(29 มกราคม)

นายกษิต กล่าวว่ายังสั่งการให้นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประสานกับยูเอ็นสองทางคือทั้งที่เมืองไทยและสวิสเซอร์แลนด์ช่เพื่อระดมงบประมาณช่วยเหลือชาวโรฮิงญาในพม่าและติดค้างในบังกลาเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทย ตนไม่เห็นว่ามีปัญหาหรือจะร่วมมือกันไม่ได้ ขอย้ำว่าต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุโดยการดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของชาวโรฮิงญาก่อน

นายกษิตกล่าวอีกว่า เตรียมหยิบยกประเด็นนี้หารือในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนที่จะมีขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมม้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ในเดือนกรกฎาคมที่ไทยเป็นเจ้าภาพ รวมถึงในที่ประชุมความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMST-EC) และสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (IOR-ARC) เนื่องจากพบว่ามีขบวนการค้ามนุษย์ขนย้ายชาวโรฮิงญาไปทำงานในไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย ทั้งนี้ไทยอาจปรับใช้แผนที่เคยมีในการแก้ไขปัญหาชาวเวียดนามอพยพเมื่อ 10 ปีก่อนมาปรับใช้กรณีโรฮิงญาด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากพม่าไม่ยอมหารือเรื่องชาวโรฮิงญาจะทำอย่างไร นายกษิตกล่าวว่าจะมีการพูดคุยกับรัฐบาลพม่าในกรอบต่างๆ อย่างไรก็ดีทราบว่าทางพม่าก็มีการหารือกับยูเอ็นเอชซีอาร์อย่างเงียบๆ จึงไม่มีเหตุที่ต้องไปประณามหรือพูดจาว่าพม่าในเชิงลบ

พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม พร้อมนายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง และนายโสภณ ยิ้มปรีชา ผบ.เรือนจำจังหวัดระนอง ไปที่โรงพยาบาลระนอง เมื่อวันที่ 29 มกราคม เพื่อสอบถามข้อมูลและตรวจบาดแผลของชายชาวโรฮิงญาจำนวน 4 คน ที่พักรักษาอาการบาดเจ็บสาหัสหลังอ้างว่าถูกทหารพม่าทุบตี มีนายมามัดฟาตี อายุ 35 ปี นายมามัดจอคิด อายุ 24 ปี นายโซตมีน อายุ 20 ปี และนายนูลูโกบี อายุ 25 ปี โดยเฉพาะนายโซตามีนมีบาดแผลฉกรรจ์ที่โคนขาและหลังเท้าขวา จำเป็นต้องนำตัวออกจากเรือนจำมารักษา ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแล้ว ขณะที่นายมามัดฟาตีถึงกับหลั่งน้ำตาและยกมือไหว้ขอบคุณผู้ไปเยี่ยม

พญ.คุณหญิงพรทิพย์ เปิดแถลงข่าวว่า นายกรัฐมนตรี และกองทัพบกมอบหมายให้มาประเมินว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จากการตรวจบาดแผลผู้บาดเจ็บมีทั้งหมด 66 คน และสอบถามผ่านล่ามให้การตรงกันว่า ถูกทหารพม่าทำร้ายตีด้วยแส้ บางคนมีบาดแผลลึกมากและเกิดการอักเสบ บางคนถูกความร้อนโดยใช้ผ้าชุบน้ำมันแล้วใช้จี้ มี 4 คนบาดเจ็บรุนแรง หากทั้งหมดพ้นช่วงเวลาคุมขังแล้วจะยังไม่ส่งตัวกลับประเทศทันที ต้องดูแลรักษาจนกว่าจะหายดีทุกคน ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติสั่งการมายังด่านตรวจคนเข้าเมืองแล้ว

พญ.คุณหญิงพรทิพย์ กล่าวว่ายังได้ไปยังเกาะทรายแดง ที่ถูกระบุว่าเป็นสถานที่ควบคุมตัวชาวโรฮิงญาก่อนถูกผลักดันทางเรือออกนอกประเทศ ไม่พบร่องรอยอะไรที่บ่งบอกว่าทหารไทยใช้ความรุนแรง พบเพียงอาหารและน้ำดื่มเท่านั้น ยงได้ไปดูเรือที่ชาวโรฮิงญาใช้อพยพ ได้ถูกทำลายทิ้งไปแล้วโดยชาวโรฮิงญาเองเพระไม่อยากเดินทางไปไหนอีก

ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวด้วยว่าทางราชการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และโรงพยาบาลระนอง พร้อมดูแลเป็นอย่างดีตามหลักมนุษยธรรม โดยเฉพาะ 4 คน ที่บาดเจ็บสาหัส ก็เอาออกจากเรือนจำมารักษาที่โรงพยาบาลตั้งแต่กลางดึกเมื่อคืนที่ผ่านมา

นายโสภณ ยิ้มปรีชา ผบ.เรือนจำจังหวัดระนอง กล่าวว่า ทางเรือนจำได้ควบคุมตัวชาวโรฮิงญาไว้เป็นสัดส่วน แยกออกจากผู้ต้องขังชาวพม่า เพราะคนสองกลุ่มนี้ไม่ถูกกันอาจจะทำร้ายกันได้ ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไม่มาก ทางเรือนจำได้ประสานกับโรงพยาบาลระนองให้ส่งแพทย์และพยาบาลเข้าไปรักษานเรือนจำ แต่ถ้าอาการหนักจะนำตัวออกมารักษา

นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยวันเดียวกันว่า ทางตำรวจน้ำกันตัง อ.กันตังได้รับแจ้งจากกองเรือภาคที่ 3 พังงา มีผู้อพยพชาวโรฮิงญ่าจากจ.กระบี่ เข้ามาในเขตทะเลตรังที่เกาะลิบง อ.กันตัง จึงให้เจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นตรวจสอบโดยด่วนแล้ว หากพบมีจริงให้ผลักดันออกนอกเขตน่านน้ำจ.ตรัง และเฝ้าระวังอย่าให้ขึ้นฝั่งเด็ดขาด เว้นแต่เรือประสบอุบัติเหตุก็ให้ควบคุมตัวและผลักดันต่อไป

ข่าวแจ้งว่าจากการตรวจสอบพบเรือเหมือนเรือเป้าหมายจอดอยู่บริเวณหัวเกาะลิบง แต่ไม่มีผู้อพยพชาวโรฮิงญา มีแต่ปลาในเรือ คาดน่าจะหลบหนีขึ้นฝั่งหรือขึ้นเรือประมงไปแล้ว

ด้านนายวสันต์ สาทร ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กลุ่มชาวโรงฮิงญาได้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายมาโดยตลอด ช่องทางที่เดินทางมากที่สุด คือ ท่าเรือ จ.ระนอง ขณะนี้มีอยู่ในประเทศกว่า 50,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนกรณีที่สภาทนายความเสนอว่าให้จดทะเบียนชาวโรงฮิงญานั้น ทำได้ยากเนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวไม่มีการรับประกันจากฝ่ายประเทศต้นสังกัด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook