นายกแจง1ปีคสช.มุ่งนำสงบลดขัดแย้งลุยแก้ปัญหาปท.

นายกแจง1ปีคสช.มุ่งนำสงบลดขัดแย้งลุยแก้ปัญหาปท.

นายกแจง1ปีคสช.มุ่งนำสงบลดขัดแย้งลุยแก้ปัญหาปท.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกรัฐมนตรี แจง 1 ปี คสช. มุ่งนำสงบลดความขัดแย้ง ลุยแก้ไขปัญหาประเทศ ย้ำ ใช้หลักมนุษยธรรม แนะเตรียมป้องกันความเสี่ยงหลังราคายางปรับตัวดีขึ้น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า เนื่องในวันครบรอบ 1 ปี คสช. ได้ดำรงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการคืนความสุขให้คนในชาติมากน้อยตามลำดับของปัญหา โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” ในช่วงปลายปี 56 ถึงต้นปี 57 เกิดสถานการณ์ทางการเมืองทำให้การบริหารราชการไม่สามารถเดินหน้าไปได้ พยายามจะเข้าสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ทำไม่ได้ จึงทำให้ติดขัดในเชิงบริหารแง่กฎหมาย ส่วนปัญหาสำคัญคือเรื่องปากท้องประชาชน ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัญหาการค้ามนุษย์ทำประมงผิดกฎหมายปัญหาโรฮีนจาปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดมานานแล้ว ต้องให้ทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายความมั่นคงแล้วก็ประชาสังคม ร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกัน ควรไว้วางใจกันซึ่งกันและกัน เพื่อลดความหวาดระแวง และมีส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรมกับทุกประเทศที่ทำการค้าการลงทุน ในส่วนของการปฏิรูปประเทศนั้น สภาปฏิรูปจะมีหน้าที่ในการปฏิรูป ซึ่งจะเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลและ คสช. ตนต้องการวางรูปแบบเป็นแนวทางไว้ให้เกิดความต่อเนื่องจากรัฐบาลและ คสช. ได้ทำไว้

ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณในความร่วมมือจากประชาชนทุกคน สื่อทุกสื่อที่มีความหวังดีแต่ขอเสนอข่าวต่าง ๆ นั้นให้เสนอแนวทางแก้ปัญหาลงด้วย ในเรื่องตามแนวชายแดน เนื่องจากประเทศรอบบ้านเราก็มีประชาชนอยู่ใกล้กับเขตแดนไทย การศึกษา โรงพยาบาลที่รัฐบาลไทยมีหน้าที่ดูแลเริ่มตั้งแต่แก้ปัญหาด้วยการดูแลเรื่องมนุษยธรรม ถ้าเข้ามาในเขตไทยก็ต้องอยู่ในพื้นที่ควบคุม ดำเนินคดีไปตามกฎหมาย ซึ่งจะมีการประชุมกันในวันที่ 29 พ.ค. ว่าจะเป็นอย่างไร

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวว่า ขณะนี้ราคายางได้มีการปรับตัวดีขึ้นพอสมควร จากราคากิโลกรัมละ 50 บาท ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีในระยะสั้น แม้สัญญาณจะมีการปรับตัวดีขึ้นก็ควรที่จะมีการเตรียมมาตรการลดความเสี่ยงไว้รองรับ ซึ่งสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมคือการลดการผลิตยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ต้องหาแนวทางดูแล ว่าคนจนทำเช่นไร นายทุนจะมีแนวทางเช่นไร เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย อีกส่วนที่จะต้องหาแนวทางคือการลดต้นทุน ว่าจะทำอย่างไรบ้าง โดยประเด็นยางเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกับข้าว ถ้าต้นทุนสูงจะต้องพิจารณาต้นทุนในการผลิต ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งหลายฝ่ายจะต้องเข้ามาดูแลร่วมกัน อย่าให้รัฐบาลเป็นผู้รับตามอยู่ฝ่ายเดียว จะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา และทำให้เกษตรกร ผู้ประกอบการทั้งหมดมีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างวงจร สร้างห่วงโซ่ทางคุณค่า Vale chain ขึ้นจากนั้นก็ไปสร้าง Conectivity กับ SME อื่น ๆ บริษัทใหญ่ส่งออก นำเข้าให้มีความเชื่อมโยงกัน หากผู้ประกอบการภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ ข้าราชการทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ภาคเกษตรก็จะเข้มแข็งได้ ไม่ต้องเสี่ยงต่อการที่เศรษฐกิจโลกผันผวน อย่างไรก็ตามฝากให้ทุกหน่วยงานร่วมกัน

ดูแลส่วนนี้ด้วย


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook