คปพ.ขอรัฐบาลเบรกพ.ร.บ.ปิโตรเลียมขู่เคลื่อน9ก.ค.

คปพ.ขอรัฐบาลเบรกพ.ร.บ.ปิโตรเลียมขู่เคลื่อน9ก.ค.

คปพ.ขอรัฐบาลเบรกพ.ร.บ.ปิโตรเลียมขู่เคลื่อน9ก.ค.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลุ่ม คปผ.บอก ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ยังมีช่องโหว่ ขอรัฐบาลทบทวนร่วมมือกับ ปชช.ทวงปิโตรเลียมคืน ขู่เคลื่อน 9 ก.ค. ด้าน 'ธีระชัย' ห่วง หาก พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2 ฉบับ ประกาศใช้ เสี่ยงเกิดการทุจริตในรัฐบาล

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ผู้จัดรายการ "ยามเฝ้าแผ่นดิน" และคอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ กล่าวว่า ทางกลุ่มเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย หรือ คปพ. เคยเรียกร้องให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระงับการดำเนินการและพิจารณาเรื่องคัดค้านร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปิโตรเลียมและร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงาน ด้วยความเป็นธรรม แต่ก็ถูกเพิกเฉย และแม้ว่าที่ผ่านมา ประชาชนจะไม่เคยต่อต้านรัฐบาล เพราะเชื่อใจว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาได้ แต่เมื่อไม่เป็นไปตามนั้น ทางกลุ่มคปพ. จึงจะออกมาเคลื่อนไหว เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนของประชาชนไทยและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ

นายปานเทพ ยังกล่าวด้วยว่า ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ของกระทรวงพลังงาน ยังไม่สามารถรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนได้ ทั้งยังเต็มไปด้วยช่องโหว่ ที่เปิดโอกาสให้มีการใช้ดุลพินิจมิชอบ ก่อให้เกิดการทุจริตมหาศาล จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนการพิจารณา และอยากให้ทางรัฐบาลร่วมมือกัประชาชนเพื่อใช้วิกฤติเป็นโอกาสทวงคืนปิโตรเลียมให้เป็นสมบัติของชาติและปวงชนชาวไทย 

 

ปานเทพชวนปชช.ลงชื่อถอดร่างพ.ร.บ.

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน (คปพ.) เปิดภายหลังกลุ่ม คปพ. เรียกร้องให้รัฐบาลระงับการดำเนินการสำรวจปิโตรเลียมครั้งที่ 21 แต่ถูกเพิกเฉยว่า แม้ที่ผ่านมานั้น ประชาชนจะไม่เคยต่อต้าน เพราะเชื่อว่ารัฐบาลสามารถแก้ปัญหาได้ แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น ทางเครือข่ายฯ จึงขอชักชวนประชาชนร่วมลงชื่อแสดงเจตนารมณ์เพื่อถอดถอนร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ออกจากการพิจารณาของกฤษฎีก่อนผ่านเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 9 กรกฎาคม นี้ เวลา 09.30 น. ณ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ร.) ข้างทำเนียบรัฐบาล ก่อนจะเดินทางต่อไปยังรัฐสภา เพื่อแสดงเจตนารมณ์ ทั้งนี้การดำเนินการเป็นไปอย่างสงบเพื่อไม่ให้ขัดต่อคำสั่ง คสช.

ขณะเดียวกัน ยังเรียกร้องให้ประชาชนทุกจังหวัดทำหนังสือคัดค้านการออกพระราชบัญญัติปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงาน ทั้ง 2 ฉบับ ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และหลังจากนี้ ภาคประชาชนจะส่งต่อข้อมูลข่าวสาร จุดอ่อน และจุดด้อยของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อมูลร่างกฎหมายของประชาชนที่ได้จัดทำอยู่ขณะนี้ ผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็นที่จะดำเนินการหลังจากนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค

 

คปผ. ชี้ หากใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2 ฉบับ ต้องเสียทรัพยากรให้ต่างชาติ

นายนพ สัตยาศัย เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน (คปพ.) กล่าวในการแถลงการณ์ คปพ. ครั้งที่ 3 ว่า ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ทั้ง 2 ฉบับนี้ ไม่ควรมีขึ้น เนื่องจากกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เป็นการประกาศขึ้นเพื่อให้เกิดการขุดเจาะน้ำมัน และแบ่งปันผลประโยชน์ ระหว่างรัฐกับเอกชน แต่กฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ ไม่มีความยุติธรรม เนื่องจากค่าสัมปทานที่รัฐจะได้รับเป็นค่าสัมปทานเล็กน้อยเท่านั้น แล้วค่าใช้จ่ายที่ระบุในร่างพระราชบัญญัติ ไม่ระบุให้คิดตามความเป็นจริง แต่ให้มีการเหมาจ่ายครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเปิดช่องให้มีการทุจริตได้ และการเก็บภาษีเดิมกำหนดให้เก็บ 50% แต่ร่างพระราชบัญญัติใหม่นี้ กำหนดเก็บเพียง 20% เท่านั้น

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งนี้ แต่ขณะที่มีการศึกษา นั้น กระทรวงพลังงาน ไม่รับฟังผลการศึกษา แต่กลับมีการแก้กฎหมายในทันทีซึ่งส่งผลเสียให้กับประเทศมากกว่ากฎหมายฉบับเดิมที่ไม่ได้มีการแก้ไข

ขณะเดียวกัน นายนพ ยังระบุว่า หากพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ ถูกประกาศใช้ ประเทศไทยจะต้องเสียทรัพยากรธรรมชาติให้ต่างชาติ ครอบครองเป็นเวลาถึง 39 ปี

 

ม.ล.กรกสิวัฒน์ ขอ นายกฯ ทบทวน พ.ร.บ.ให้ละเอียด

ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน (คปพ.) กล่าวในการแถลงการณ์ คปพ. ครั้งที่ 3 ว่า การแก้ไขร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ของกระทรวงพลังงาน เป็นการเติมน้ำมันบนกองไฟ สร้างปัญหาให้กับประเทศ เนื่องจากกฎหมายปิโตรเลียม มีปัญหามากที่จะต้องแก้ไข ซึ่งการแก้ไขกฎหมายของทางกระทรวงพลังงาน กลับเป็นการนำปัญหาเข้าไปในกฎหมายเดิม โดยปัญหาที่พบในพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ มีปัญญารวมทั้งสิ้นถึง 24 ประเด็น อาทิ การเก็บภาษีกิจการปิโตรเลียม ที่ต่ำกว่าเอกชนทั่วไปและต่ำกว่าประมวลรัษฎากรกำหนด นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการจัดการปิโตรเลียม ที่เสนอใหม่นี้ให้เป็นไปแบบเหมาจ่าย 50% ซึ่ง ม.ล.กรกสิวัฒน์ ระบุว่า ไม่ควรเป็นเช่นนั้น เนื่องจากควรจะมีการลงบัญชีให้ชัดเจน ซึ่งจากการสำรวจค่าใช้จ่ายการทำปิโตรเลียมในประเทศอาเซียนนั้น พบค่าใช้จ่ายเพียง 20% เท่านั้น และส่วนต่างนี้อาจจะเป็นเงินให้เปล่าแก่บริษัทที่ลงทุนได้

นอกจากนี้ ม.ล.กรกสิวัฒน์ ยังขอให้นายกรัฐมนตรีทบทวน พิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะเป็นเรื่องอนาคตของประเทศ ซึ่งกฎหมายที่จะต้องยึดความมั่นคงของประเทศเป็นที่ตั้ง และทรัพยากรควรจะเป็นของแผ่นดิน

 

คปพ. ขอ ปชช.พร้อมต้านร่าง กม.พน.

นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน (คปพ.) กล่าวในการแถลงการณ์ คปพ. ครั้งที่ 3 ว่า สิ่งที่รัฐบาลกระทำ โดยพยายามให้มีการออกกฎหมายปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงาน โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมและไม่มีการนำผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการที่ได้ทำการศึกษาอย่างเข้มข้นซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีนั้น เป็นการกระทำที่ไม่สร้างสรรค์

นอกจากนี้ นายอิฐบูรณ์ ยังระบุว่า ประเด็นสำคัญในการแก้ไขปัญหาปิโตรเลียม ไม่เป็นไปตามที่ประชาชนเรียกร้อง ซึ่งการแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงาน ก็ยังคงหลักการเดิมที่ประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครอง โดยระบุว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ และผู้มีอำนาจสามารถจัดการได้ตามอำเภอใจ และจูงใจให้บริษัทเอกชนได้รับผลประโยชน์มากกว่าประเทศจะได้

ทั้งนี้ นายอิฐบูรณ์ ขอให้ประชาชนยึดมั่นในหลักการว่า ปิโตรเลียมเป็นของประชาชนคนไทยทุกคน ประชาชนสามารถมีสิทธิในการจัดการปิโตรเลียม และขอให้ประชาชนต่อต้านร่างกฎหมายของกระทรวงพลังงาน ทั้ง 2 ฉบับ โดยสันติ

 

 

 

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook