กมธ.ยกร่างฯเริ่มพิจารณาม.96หมวดรัฐสภา

กมธ.ยกร่างฯเริ่มพิจารณาม.96หมวดรัฐสภา

กมธ.ยกร่างฯเริ่มพิจารณาม.96หมวดรัฐสภา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มพิจารณามาตรา 96 ว่าด้วยหมวดรัฐสภาแล้ว ตั้งเป้าวันนี้ให้ได้ 15 มาตรา ขณะ 'พล.อ.เลิศรัตน์' เผย ม.96-120ขอแก้มาก-ส.ส.ไม่เกิน 470 คน

การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ พิจารณารายมาตรา เริ่มที่ มาตรา 96 ว่าด้วยหมวดรัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งในประเด็นดังกล่าว คาดว่า จะเป็นไปตามหลักการเดิม ปรับแก้เพียงถ้อยคำ และบทบัญญัติบางประการที่ไม่ได้เป็นเนื้อหาสำคัญ สำหรับความเห็นของประชาชน พรรคการเมือง และกลุ่มต่าง ๆ ที่ส่งมายังคณะกรรมาธิการฯ นั้น จะนำทุกความเห็นของทุกฝ่ายเข้าหารือ หากสิ่งที่ขอให้แก้ไขเกิดผลดีกับคนเพียงกลุ่มเดียวก็ไม่แก้ไข เพราะในบางครั้งที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นว่า บางประเด็นที่มีการแก้ไขนั้น ประชาชน หรือกลุ่มการเมือง เสนอเข้ามาโดยไม่คำนึงถึงเหตุผล แต่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับมากกว่า ดังนั้น กรรมาธิการฯ จึงแก้ไขตามที่ร้องขอไม่ได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมตั้งเป้าพิจารณาให้ได้15 มาตรา

ส่วนการเดินทางไปสัมมนาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้น ยังคงเป็นไปตามกำหนดเวลาเดิม คือ วันที่ 18-24 กรกฎาคมนี้ ที่ จ.ชลบุรี เพื่อหารือเป็นการภายในสำหรับยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม ก่อนที่จะนำร่างที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ไปให้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้ความเห็นชอบ

 

ม.96-120ขอแก้มาก-ส.ส.ไม่เกิน 470 คน

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในมาตรา 96-102 มีคำขอแก้ไขเข้ามามาก ซึ่งก่อนหน้ากรรมาธิการได้หยิบยกเรื่องของสภาผู้แทนราษฎร ในประเด็นสำคัญขึ้นมาพิจารณาบ้างแล้ว และที่ประชุมก็มีความเห็นชอบในเบื้องต้นในบางประเด็น อาทิ การตัดโอเพ่นลิสต์ออกไป โดยเปลี่ยนมาใช้วิธีหยั่งเสียงสมาชิกพรรคเมืองแทน ขณะที่โครงสร้าง ส.ส. คณะกรรมาธิการฯ เห็นตรงกันว่า จะแบ่ง ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยบัญชีรายชื่อจะลดเหลือ 150 คน ส.ส.แบบแบ่งเขต 300 คน รวมทั้งหมดจะมี ส.ส. เต็มสภาไม่เกิน 450 แต่ไม่เกิน 470 คน และใช้ระบบแบบสัดส่วนผสมเช่นเดิม

ขณะที่ ที่มา ส.ว. คาดว่าจะเริ่มพิจารณาได้ในวันพุธที่ 8 กรกฎาคม นี้ และคณะกรรมาธิการได้กำหนดทิศทางไว้ในเบื้องต้นแล้วเช่นกัน อาทิ ส.ว. จะไม่มีอำนาจในการเสนอกฎหมาย ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบรายชื่อคณะรัฐมนตรี ส่วนเรื่องการถอดถอนต้องดูเรื่องโครงสร้าง มีความเป็นไปได้ว่า ส.ว. จะมีอำนาจถอดถอนรวมกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook