อาจารย์ ม.เกษตร โชว์ผลตรวจเลือดไหลเป็นพระธาตุ

อาจารย์ ม.เกษตร โชว์ผลตรวจเลือดไหลเป็นพระธาตุ

อาจารย์ ม.เกษตร โชว์ผลตรวจเลือดไหลเป็นพระธาตุ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีลูกศิษย์ "พระอาจารย์ชา" พระภิกษุใน ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โพสต์และแชร์ในสังคมออนไลน์ อ้างเหงื่อไหลผุดออกมาจากผิวหนังและเลือดที่ออกจากร่างกายของ "พระอาจารย์ชา" เมื่อแห้งก็จะกลายเป็นพระธาตุ เป็นเม็ดคล้ายลูกแก้วเล็กๆ สีชมพู ญาติโยมต่างพากันช้อนเก็บนำกลับไปกราบไหว้บูชา จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง

ขณะที่พระอาจารย์ชาได้ออกมาเผยว่า อยู่ๆ มันก็ออกมาเอง และไม่ได้ออกมาทุกครั้ง เรื่องนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล จะไม่ขอพิสูจน์อะไร

ทางด้าน รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โชว์ผลทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยระบุว่า สิ่งที่เห็นน่าจะเป็นเม็ดพอลิเมอร์ (Polymer) ที่นำมาทาตัวหรือเปื้อนตามเสื้อผ้า เมื่อเหงื่อออกก็จะดูดน้ำกลายเป็นเม็ดๆ เหมือนพระธาตุ

ส่วนภาพที่ศีรษะแตกน่าจะเป็นเลือด ซึ่งมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่แล้ว เมื่อสัมผัสกับเม็ดพอลิเมอร์ จะดูดเข้าไปกลายเป็นเม็ดๆ สำหรับพอลิเมอร์ดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ทั่วไปหรือจากผ้าอ้อมเด็ก

ล่าสุด (10 ก.ค.) รศ.ดร.วีรชัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Weerachai Phutdhawong เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า การพิสูจน์ได้เจาะจงเฉพาะกรณี เม็ดวัตถุที่ออกมาจากพระรูปหนึ่งที่เป็นข่าวนะครับ ไม่ได้ก้าวล่วงในพระอริยสงฆ์รูปอื่นๆแต่อย่างใด

แวดวงคนที่รู้จักเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ถามว่า อาจารย์วีรชัยโหดไปไหม ที่นำทั้งเครื่อง Nuclear Magnetic Resonance (nmr) เครื่อง Scanning Electron Microscope(SEM) และเครื่อง Attenuated total reflection (ATR) Infrared-Spectrometer มาพิสูจน์ อาจารย์ชี้แจงว่า อยากให้ชัดเจน 100% แบบใครเถียงไม่ได้

โดยอาจารย์วีรชัย ได้ให้สัมภาษณ์กับช่อง 8 ว่า ตัวอย่างเม็ดพระธาตุที่ได้มา ตรวจสอบพบว่าเป็นเม็ดเรซิ่นที่เคลือบสีไว้บนพื้นผิว ปกติเหงื่อมนุษย์จะมีเกลือแร่ กรดอะมิโน โปรตีน แต่เม็ดพระธาตุดังกล่าวเป็นกลุ่มโพลีสไตรีน ที่เอาไว้ทำเม็ดโฟม ส่วนสีที่เห็นคือการนำไปชุบสี เนื่องจากเรซิ่นมีคุณสมบัติดูดซึมสีได้

นอกจากนี้เม็ดที่ได้มาแตกต่างจากโครงสร้างทางเคมีของพระบรมสารีริกธาตุที่มาจากการเผาสังขาร โดยเม็ดพระธาตุที่มาจากอาจารย์ชา ไม่มีสารที่มาจากร่างกายมนุษย์

ขอบคุณที่มาจาก Weerachai Phutdhawong

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook