รบ.เร่งแก้ค้ามนุษย์-ปณิธานยันไม่กังวลคว่ำบาตรเทียร์3

รบ.เร่งแก้ค้ามนุษย์-ปณิธานยันไม่กังวลคว่ำบาตรเทียร์3

รบ.เร่งแก้ค้ามนุษย์-ปณิธานยันไม่กังวลคว่ำบาตรเทียร์3
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'พล.ต.สรรเสริญ' ย้ำ รัฐบาลเร่งรัดมาตรการป้องกัน-ปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างเต็มที่ ขณะที่'ปณิธาน' อย่ากังวลเรื่องคว่ำบาตร ปมเทียร์ 3 ชี้ ทำได้ไม่มาก มองอาจแค่ใช้เป็นเครื่องมือกดดันทางการเมืองเท่านั้น

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินการเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในช่วงที่ผ่านมา ในหลายรูปแบบ อาทิ การช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยที่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (เกาะอัมบน, เบนจินา) ตาม 4 ภารกิจ ช่วยเหลือคนไทย, ช่วยเหลือคนที่เป็นเหยื่อ, ตรวจสอบคนไทยในสุสาน และส่งคนไทยกลับบ้าน โดยสามารถช่วยเหลือแรงงาน เดินทางกลับได้ 452 คน ซึ่งจากการคัดแยกมีเหยื่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 32 คน รวมถึงการขับเคลื่อนกลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ผ่านคณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการทำประมงผิดกฎหมายด้วย


นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีการจัดระเบียบคนเร่ร่อนขอทาน การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมตามหลัก 3P ประกอบด้วย การบังคับใช้กฎหมาย (Policy) คุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) และป้องกัน (Prevention) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เสมอภาคทางสังคม รวมทั้งมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ "ให้ทานถูกวิธี ลดวิถีการขอทาน" การจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศ


'ปณิธาน'ยันไม่กังวลคว่ำบาตรเทียร์3

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า กรณีมีการตั้งข้อสังเกตของนักวิชาการประเด็นการคงสถานะเทียร์ 3 ของไทย ในการแก้ปัญหาค้ามนุษย์เป็นเรื่องทางการเมือง ถือเป็นสหรัฐอเมริกา ต้องชี้แจง เพราะรายงานดังกล่าวมีผลในเรื่องความน่าเชื่อถือพอสมควร เพราะที่ผ่านมา รัฐบาล และฝ่ายความมั่นคงของไทย ให้ความสำคัญ กับการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ เป็นวาระเร่งด่วน มีการพยายามแก้ไขทั้งระบบ การแก้กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความซับซ้อน เพราะปัญหาที่สะสมมายาวนานแต่ในภาพรวมนั้น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ 


ทั้งนี้ ที่ปรึกษารองนายกฯ ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่จะตามมาแต่อย่างใด โดยมองว่าเรื่องรายงานดังกล่าว มีผลแค่เป็นการประณาม และประจานเท่านั้น แต่จะไปลงโทษอื่น ๆ ไม่ได้ คาดว่าจะมีเพียงการใช้ผลของรายงาน มากดดันทางด้านนโยบายทางการเมืองเท่านั้น ส่วนการดำเนินการกับชาวอุยกูร์ 52 คน ที่เหลือ ยืนยัน ปฏิบัติตามกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน อย่างเต็มที่  


ขณะที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ ในช่วงโค้งสุดท้ายของการร่างรัฐธรรมนูญ นั้น สามารถทำได้ตามขอบเขต ซึ่งรัฐบาล และฝ่ายความมั่นคง ได้มีการส่งสัญญาณอย่างชัดเจน ว่า จะต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจกัน เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook