แฉ33อาคารปลอมลายเซ็นวิศวกรหญิงคนเดียวกับซานติก้า

แฉ33อาคารปลอมลายเซ็นวิศวกรหญิงคนเดียวกับซานติก้า

แฉ33อาคารปลอมลายเซ็นวิศวกรหญิงคนเดียวกับซานติก้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลขาฯปปท.แฉมีอาคาร 33 แห่งปลอมลายเซ็นวิศวกรหญิงคนเดียวกับที่โดนปลอมที่ซานติก้า ชี้กทม.ย้ายผอ.เขต 2 คน แต่ไม่ระบุว่าผิด ชี้จับตารอดูตอนจบคดี อาจหลุดอาญา พ่วงแพ่งก็แห้วด้วย

(30ม.ค.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) กล่าวในการเสวนา ซานติก้า ปัญหาและทางออกของผู้บริโภค ที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่า จากการตรวจสอบข้อมูลกรณีของไฟไหม้ซานติก้าผับพบว่า มีการปลอมแปลงลายเซ็นต์การลงนามรับรองแบบแปลนอาคารของวิศวกร ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมที่ทราบมาและทำให้ตกใจมากคือ พบว่า วิศวกรหญิงรายที่ดังกล่าวถูกปลอมแปลงลายเซ็นในการรับรองแปลนอาคารในกทม.กว่าอีก 33 อาคารด้วยกัน

"ผมเคยหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยนพระบรมราชูปถัมภ์ สภาวิศวกร ฯลฯ เพื่อให้มีการกลับไปตรวจสอบข้อมูลแปลนอาคารต่างๆในกทม.ว่ามีการปลอมแปลงลายเซ็นเช่นนี้อีกหรือไม่ ซึ่งในฐานะที่เป็นเสียงข้างน้อยในการหารือ ทำให้เรื่องดังกล่าวไม่เกิดขึ้น เพราะเสียงส่วนใหญ่เกรงว่าจะเกิดการแตกตื่น ซึ่งผมเชื่อว่าในกทม.ยังมีสถานบริการที่มีสภาพเช่นนี้อีกมาก ซึ่งหากไม่จัดการบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรไปกับอาชญากรทางเศรษฐกิจ ผู้มีอิทธิพลในเมืองไทย" นายธาริต กล่าว

นายธาริต กล่าวว่า ทั้งนี้การดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดที่ต้องรับผิดชอบในกรณีของซานติก้าผับจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังกันทั้งระบบ ไม่ว่าผู้เกี่ยวข้องจะเป็นเอกชนหรืออยู่ในระบบราชการ เพราะต้นเหตุที่เกิดโศกนาฏกรรมในเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงมือจุดพลุที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาเพียงคนเดียว แต่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมทั้งหมดที่ไม่ยอมดูแลสถานที่ให้มีความปลอดภัย และเรื่องเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าทุกฝ่ายปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองอย่างดีเข้มแข็ง ภาครัฐก็ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดำเนินการรักษาความปลอดภัยและความสงบของบ้านเมือง ฝ่ายผู้ประกอบการก็เห็นแก่ความปลอดภัยและถูกต้อง

"ผู้เสียหายในคดีซานติก้านี้ควรยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการ โดยมีองค์กร หรือมูลนิธิหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมาทำหน้าที่ในการประสานงานให้ โดยการยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นตำรวจ กระทรวงมหาดไทย กทม.นำตัวผู้ร่วมกระทำผิดทั้งหมดในทุกภาคส่วนมาดำเนินการ โดยอาจร้องไปยังป.ป.ท. หรือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)"

นายธาริต กล่าวว่า ทั้งนี้หากผู้ต้องหารอดพ้นจากคดีอาญานั้นหมายความว่าจะหลุดรอดจากคดีแพ่งเช่นกันแม้ว่าคำพิพากษาของศาลจะตัดสินให้ผู้เสียหายจะได้ค่าสินไหมชดเชยจากจำเลย แต่กระบวนการในการบังคับคดีของไทยแยกส่วนกันกับการพิจารณาคดี ก็มีคดีอีกมากมายที่ผู้เสียหายได้ค่าสินไหมเป็นเพียงตัวเลขจากคำพิพากษาของศาล แต่กลับสามารถบังคับคดีกับจำเลยได้เลย

"จนถึงขณะนี้แม้ว่าจะมีการออกคำสั่งให้นายวรพจน์ อินทุลักษณ์ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา และนายสุรเกียรติ ลิ้มเจริญ ผู้อำนวยการเขตปทุมวันอดีตผู้อำนวยการเขตวัฒนามาปฏิบัติหน้าที่ช่วยราชการสำนักปลัดกรุงเทพมหานครตั้งแต่สิ้นเดือนม.ค. แต่ก็ยังไม่มีการระบุว่ามีความผิดหรืออย่างไร ซึ่งการย้ายผู้อำนวยการเขตก็เป็นการแสดงว่าจะมีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ก็เป็นเพียงการแสดงความจริงจังในการแก้ไขปัญหาระดับเดียวเท่านั้น ซึ่งในส่วนอื่นอย่างตำรวจจะแสดงความจริงจังในการแก้ไขปัญหาอย่างไรนั้นไม่ขอแสดงความคิดเห็น แต่ก็ต้องคอยติดตามต่อไปว่าคดีดังกล่าวจะเป็นอย่างไร ผู้ต้องหาคดีนี้จะหลุดคดีอาญาหรือไม่" นายธาริต กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook