หนังจอกว้าง - ป๊อปไม่ป๊อปก็ออสการ์ ปีที่ไม่บูมของตุ๊กตาทองโอบามา

หนังจอกว้าง - ป๊อปไม่ป๊อปก็ออสการ์ ปีที่ไม่บูมของตุ๊กตาทองโอบามา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หลายๆ ครั้งที่มีโอกาสได้ไปเสวนาตามที่ต่างๆ หรือพูดคุยในรายการทีวีเกี่ยวกับหัวข้อของหนังนั้น 14 ปีที่ผ่านมา หัวข้อที่ถูกพูดถึงรองจาก การเซ็นเซอร์หนัง (ซึ่งน่าเบื่อมาก) เห็นจะเป็นเรื่องรางวัล ออสการ์ นี่แหละ

รางวัล ออสการ์ ก็เหมือนฟุตบอลโลกของนักเตะ เหมือน เอ็มมี่ ของวงการทีวี เหมือน แกรมมี่ ของคนดนตรี และ แชมป์วิมเบิลดัน ของเทนนิสคอร์ทหญ้า

คือแม้นักวิจารณ์จำนวนไม่น้อยของโลกนี้จะไม่ยอมรับเสียทีเดียว แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่า ถ้าเป็นรางวัลทางหนังเสียแล้ว ออสการ์ก็ป๊อปปูลาร์ที่สุด

สาเหตุที่นักวิจารณ์ทั่วไป ไม่ได้ปลื้มออสการ์อย่างเต็มอกเต็มใจ ก็เพราะรู้สึกว่า หลายๆ ปีหนังดีๆ ไม่ได้เข้าชิง มีแต่หนังตลาด หรือกึ่งๆ ตลาดเข้ามาแย่งพื้นที่ของผู้เข้าชิง

เรื่องออสการ์นี่ ถ้าจะคุยกันคงต้องเขียนสัก 7 วัน แต่สรุปได้อย่างหนึ่งว่า ออสการ์เองก็มีการทำการตลาดมาตลอดหลายปี ปรับเทรนด์ตัวเองไปตามกระแสของหนังป๊อปๆ มีเรื่องการเมืองหนังคนดำ หนังนอกกระแส หรือหนังอินดี้พอให้กระชุ่มกระชวยสังคมโลกบ้าง ก่อนที่สุดแล้วก็จะมีกรอบในการเลือกหนังแบบออสการ์อยู่ในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ดี น่าสังเกตว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ออสการ์ ไม่ได้มีกระแส เหมือนก่อนหน้านั้น ซึ่งก่อนจะประกาศมีทั้งรายการวิทยุ รายการทีวี ปกนิตยสารและข่าวสกู๊ปลงกันทุกวัน บางทีนั้น ประกาศสาขาหนึ่ง ก็รีบตัดเข้ารายการวิทยุ-โทรทัศน์ ราวกับ breaking news ของ CNN

แต่สองปีที่ผ่านมา เงียบครับ เงียบมาก หลังเวลาเที่ยงๆ ที่ผลออกมาหมดแล้ว ผมพบว่าตัวเองและคนรอบข้างทั้งที่ทำงานและแก๊งดูหนัง ไม่มีใครพูดถึงนัก และไม่สนใจก่อนประกาศด้วย

ถ้าจะมีเหตุผลใดที่ทำให้ออสการ์ดูดร็อปลงไป เหตุผลอย่างหนึ่งน่าจะเป็นเพราะว่า หนังที่เข้ามาชิงออสการ์นั้น ไม่ค่อยเป็นหนังดังตามกระแส หรือเป็นหนังตลาดที่รู้จักกันมากๆ แต่ค่อนไปทางหนังนอกกระแส หนังอินดี้ หรือหนังเล็กๆ ที่สอดแทรกเข้ามา

อันที่จริง นักวิจารณ์ก็อาจจะชอบที่มีหนังนอกกระแสหลักเข้ามาสร้างสีสัน แต่ข้อด้อยก็คือ มันก็ทำให้บรรยากาศ หรือตัวรางวัลไม่ถูกสนใจไปด้วย และหลังจากคณะกรรมการประกาศผู้เข้าชิงออสการ์ปีล่าสุดออกมาเมื่อ 8 วันที่แล้ว

ก็ยิ่งมั่นใจว่า ออสการ์ปีนี้คงกระเพื่อมพอประมาณ ไม่ถึงกับเรียกร้องข่าวสารอะไรโครมคราม เพราะแม้ 3 ใน 5 เรื่องจะไม่พลิกโผ แต่ 4 ใน 5 เรื่อง ก็ไม่ถือว่าเป็นหนังดูง่ายหรือเอนเตอร์เทนผู้ชม

The Curious Case of Benjamin Button คงจะคว้ารางวัลหนังเยี่ยม เมื่อเทียบกับคู่แข่งทั้งสี่ ซึ่งก็คือ Frost/Nixon ซึ่งซีเรียสไปสำหรับอารมณ์ออสการ์, The Reader คงเป็นหนังดีทีเดียว แต่เล็กไปสำหรับการเป็นหนังเยี่ยมของออสการ์ (เล็กไปเหมือนที่ Little Miss Sunshine เคยเล็กเหลือเกินเมื่อเข้าชิงเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว)

Milk เองคงไม่น่าสนใจและมีสีสันเท่ากับ Slumdog Millionaire ซึ่งผมมองว่า ถ้าจะมีหนังเรื่องไหนที่พอจะหักโค่น หรือล้ม The Curious Case of Benjamin Button ได้ มันก็ต้องเป็นหนังดาวรุ่งอย่าง Slumdog Millionaire นี่แหละ

และในสายตาผม หนังเรื่องหลังที่ว่านี้ จะเป็นเรื่องเดียวที่ถ้าได้ออสการ์ คนจะหันมาสนใจมากกว่าทุกเรื่องที่ไปได้ออสการ์ อย่าลืมว่า เทรนด์ใหม่คือ อะไรที่เกี่ยวกับอินเดีย (ผ้า, หนัง, อาหาร, สายการบินที่กำลังก่อร่างสร้างตัว)

ไม่ได้คิดจะมาเป็นหมออะไรฟันธงออสการ์ แต่ขอเดาเล่นๆ แบบไม่ใช่สาวกออสการ์ว่า ฮีด เลดเจอร์ จะได้สาขานักแสดงนำชาย และ เคท วินสเล็ต คงจะสมหวังอีกครั้ง

อีกสาขาที่มั่นใจรองจาก เลดเจอร์ ก็คือ หนังการ์ตูน WALL-E ที่น่าจะข่มหนังโปรดของผมอย่าง Kung Fu Panda ไปได้

แต่ไม่ว่าใครจะได้หรืออด ผมว่าออสการ์ปีนี้จะไม่ป๊อปเท่ากับ 4-5 ปีก่อนหน้านี้ เหตุผลที่พอจะยกมาได้ก็คือ หนัง 3 ใน 5 เรื่อง ไม่ใช่หนังเอนเตอร์เทนสำหรับคนดูในตลาดกว้าง

นี่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า ทำไมหนังแสนดีอย่าง Revolution Road ถึงไม่ได้เข้าชิง

นันทขว้าง สิรสุนทร

โรฮิงญา ถูกทหารพม่าทารุณ! เหรียญอีกด้านที่สื่อนอกละเลย

การเปิดประเด็น ทหารเรือไทย ทารุณกรรมผู้อพยพชาวโรฮิงญา ก่อนจะตามมารุมถล่มอีกชุดใหญ่จากสื่อหัวใหญ่ๆ ทั่วโลก ล่าสุดก็เป็นซีเอ็นเอ็นที่ย้ำหัวตะปูด้วยภาพที่อ้างว่า ทหารเรือไทยชักลากเรือผู้อพยพออกไปลอยเท้งเต้งกลางทะเล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook