มท.1ไร้ใบสั่งโหวตรธน.โยนสปช.ตัดสิน-สุรชัยเข้มสภา6ก.ย.

มท.1ไร้ใบสั่งโหวตรธน.โยนสปช.ตัดสิน-สุรชัยเข้มสภา6ก.ย.

มท.1ไร้ใบสั่งโหวตรธน.โยนสปช.ตัดสิน-สุรชัยเข้มสภา6ก.ย.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รมว.มหาดไทย ยัน ไร้ใบสั่ง สปช. โหวต รับ - ไม่รับ ร่าง รธน. โยน สปช.ตัดสิน ขณะที่ 'สุรชัย' เข้มสภา 6 ก.ย. หวั่นมีป่วน ด้าน ''อลงกรณ์'' ยังไม่ตัดสินใจรับ-ไม่รับร่าง ส่วน 'พลเดช' ยัน สปช. ลงมติอิสระ

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ในวันอาทิตย์นี้ (6 ส.ค.) ว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของ สปช. เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวระบุว่า ให้ สปช. เป็นผู้ลงมติ โดยไม่ว่าผลการลงมติจะออกมาเป็นอย่างไร ประชาชนทุกคนก็ต้องรับให้ได้ และจะต้องไม่มีความวุ่นวายเกิดขึ้น เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ เพราะจะให้ผลออกมาทางใดทางหนึ่งนั้น ไม่สามารถเป็นไปได้  หรือจะต้องไปร่างกฎหมายให้ลงมติผ่านอย่างเดียวหรือไม่ผ่านอย่างเดียว ซึ่งก็ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น สังคมจึงจะต้องเรียนรู้

นอกจากนี้ พลเอก อนุพงษ์ ยังยืนยันว่า ไม่มีเบื้องหลัง หรือกระแสการโหวตให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแก่ สปช. อย่างแน่นอน เพราะไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน ก็เป็นเหตุผลของ สปช.


'สุรชัย' เข้มสภา 6 ก.ย. วันโหวตรธน. หวั่นมีป่วน

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 เปิดเผยว่า การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน นี้ เพื่อพิจารณาลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า วางระบบมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยมีเจ้าหน้าตำรวจรัฐสภาเข้มงวดมากกว่าปกติ เนื่องจากในวันดังกล่าว ถือว่ามีความสำคัญ และอาจมีกลุ่มคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เดินทางมา ดังนั้น จึงต้องวางกำลังเข้มข้น ตั้งแต่การตรวจตราหน้าประตู การติดบัตรแสดงตนเข้าออก 

ขณะเดียวกัน นายสุรชัย รับหนังสือจาก นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือ เสื้อหลากสี โดยมีข้อเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี ให้แก้ปัญหาระงับความขัดแย้ง ด้วยการเลื่อนการเลือกตั้งอย่างน้อย 2 ปี และในระหว่างนี้ ให้ สนช. ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาประเด็นที่เป็นต้นเหตุความขัดแย้งของคนในชาติ เนื่องจากเห็นว่า หลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ และจะมีการเลือกตั้ง แต่ประชาชนยังคงแบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนทำให้อาจเกิดการประท้วงแตกแยกอย่างรุนแรงขึ้นมาอีก 


มท.1ยัน ไร้ใบสั่ง สปช.โหวต ร่าง รธน.

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ในวันอาทิตย์นี้ (6 ส.ค.) ว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของ สปช. เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวระบุว่า ให้ สปช. เป็นผู้ลงมติ โดยไม่ว่าผลการลงมติจะออกมาเป็นอย่างไร ประชาชนทุกคนก็ต้องรับให้ได้ และจะต้องไม่มีความวุ่นวายเกิดขึ้น เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ เพราะจะให้ผลออกมาทางใดทางหนึ่งนั้น ไม่สามารถเป็นไปได้  หรือจะต้องไปร่างกฎหมายให้ลงมติผ่านอย่างเดียวหรือไม่ผ่านอย่างเดียว ซึ่งก็ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น สังคมจึงจะต้องเรียนรู้

นอกจากนี้ พลเอก อนุพงษ์ ยังยืนยันว่า ไม่มีเบื้องหลัง หรือกระแสการโหวตให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแก่ สปช. อย่างแน่นอน เพราะไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน ก็เป็นเหตุผลของ สปช.


'วิษณุ' ย้ำขัดขวาง ชี้นำประชามติผิดกฎหมาย

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีที่ นายนิรันดร์ พันธกิจ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ออกมาคัดค้านการทำประชามติ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความเป็นไปได้ที่ร่างรัฐธรรมนูญจะได้รับเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตามมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ว่า การตีความรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้นับเสียงข้างมากของผู้สิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนประชามติและมาใช้สิทธิ์ในวันที่รัฐบาลกำหนด โดยไม่จำเป็นต้องนับเสียงของผู้มีสิทธิ์แต่ไม่มาออกเสียง เพราะไม่สามารถประเมินได้ว่า บุคคลเหล่านั้นเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ หากยังมีข้อสงสัยในมาตราดังกล่าว ขอให้ยื่นร้องต่อคณะกรรมการกฤษฎี หรือ ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ แต่ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ติดใจและยืนยันว่า ไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแต่อย่างใด ส่วนผู้ที่ขัดขวางและชี้นำการทำประชามติ ยังถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ


พลเดชเชื่อกระแสคว่ำ-หนุนชักจูง สปช.ไม่ได้

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN เกี่ยวกับการลงมติโหวตรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ ว่า จากการอ่านใจ เดาใจ และทบทวนจากการทำงานร่วมกันมา 11 เดือน การลงมติในเรื่องต่าง ๆ ของเพื่อนสมาชิกที่ผ่านมา ๆ เชื่อว่า ทุกคนมีเหตุมีผล มีความเป็นอิสระ ไม่มีใครโน้มน้าวจูงใจได้ แม้จะมีการปั่นกระแส ทั้งกลุ่มหนุน กลุ่มต้าน และพรรคการเมืองต่าง ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาก็ตาม ก็จะไม่มีผลต่อการตัดสินใจอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม นพ.พลเดช ยังกล่าวด้วยว่า ไม่เข้าใจในความคิดของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ออกมาคัดค้าน เพราะในความเป็นจริง กลุ่มนักการเมือง พรรคการเมืองน่าจะต้องการให้กลับสู่การเลือกตั้งโดยเร็วมากกว่า เพราะหากรัฐธรรมนูญถูกคว่ำ กระบวนการต่าง ๆ ก็จะล่าช้าอออกไป และการเลือกตั้ง ก็จะล่าช้าออกไปตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้


'อลงกรณ์'ยังไม่ตัดสินใจรับ-ไม่รับร่าง รธน.

นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า หลังจากรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์มาพิจารณาแล้วนั้น ขณะนี้สมาชิกยังคงอยู่ในระหว่างการตัดสินใจจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่บางส่วนได้มีการเริ่มตัดสินใจแล้ว ส่วนตัวเห็นว่า มีข้อดีอยู่หลายประการ อาทิ เรื่องของการยกระดับประเทศไปสู่การปฏิรูป รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น แต่บางเรื่องยังมีข้อเสียที่เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ เช่นที่มานายกฯ, ส.ส., ส.ว. หรือคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและความปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ อย่างไรก็ตาม ไม่รู้สึกกังวลใจหรือติดใจในประเด็นที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใด ยืนยันตลอดเวลาที่ผ่านมา สปช. ได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว และงานสุดท้ายที่ต้องทำ คือ การให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ กระแสที่มีพรรคการเมืองหนุนให้ สปช. คว่ำร่างรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนตัวเห็นว่า ทาง สปช. ได้มีการรับฟังในทุก ๆ ความเห็น และมองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะนำมาพิจารณา แต่ไม่สามารถตอบได้ว่า ตัดสินใจอย่างไร ให้รอดูวันที่ 6 กันยายน







แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook