ทัพอากาศไทย บินเงียบ ลงนามซื้อเครื่องบินฝึกฯเกาหลีใต้ 4 ลำ เฉียด 4 พันล้าน

ทัพอากาศไทย บินเงียบ ลงนามซื้อเครื่องบินฝึกฯเกาหลีใต้ 4 ลำ เฉียด 4 พันล้าน

ทัพอากาศไทย บินเงียบ ลงนามซื้อเครื่องบินฝึกฯเกาหลีใต้ 4 ลำ เฉียด 4 พันล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง เสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะประธานกรรมการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ได้เป็นผู้แทนกองทัพอากาศ ลงนามในสัญญาจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH จำนวน 4 เครื่องพร้อมอะไหล่ขั้นต้น อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น การฝึกอบรมนักบินและ เจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมทั้งข้อเสนอพิเศษ กับ นาย Ha Sung Yong ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) จำกัด ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

พลอากาศเอก มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ เผยว่า ในการจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2557ที่ อนุมัติให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ 1) ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558-2560

และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งก่อนดำเนินการ ซึ่งกองทัพอากาศได้นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบผลการดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นตามโครงการฯ(ระยะที่๑)เมื่อวันที่10 กันยายน 2558

สำหรับเครื่องบินแบบ T-50TH เป็นเครื่องบินฝึกที่จะเข้ามาประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 1(L-39) ของกองทัพอากาศที่มีแผนจะปลดประจำการซึ่งใช้งานมานาน มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น และมีเทคโนโลยี ที่ล้าสมัย ไม่สามารถฝึกนักบินให้ตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตนักบินเพื่อไปปฏิบัติการบินกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่กองทัพอากาศได้จัดหามาแล้ว และทำการปรับปรุงคือเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐(Gripen39 C/D)และเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙ (F-16 MLU)

ทั้งนี้เครื่องบินแบบ T-50TH เป็นเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมสำหรับการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้สามารถปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศที่มีใช้งานในปัจจุบันต่อไปได้มีระบบการฝึกอบรมและระบบสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจที่ทันสมัยส่งผลให้การฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถติดตั้งใช้งานระบบอาวุธที่กองทัพอากาศใช้งานในปัจจุบันได้

ทั้งนี้ในส่วนที่เป็นข้อเสนอพิเศษที่ประเทศไทยและกองทัพอากาศจะได้รับเพิ่มเติมได้แก่ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทจำนวน 8 ทุน และความร่วมมือ และการสนับสนุนในภาคอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทย มีรายงานว่า โครงการดังกล่าวมีมูลค่าราว 110 ล้านดอลลาร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook