รับมือ..ภัยแล้ง ไม่อาจแก้ได้ด้วย การขอร้อง..?

รับมือ..ภัยแล้ง ไม่อาจแก้ได้ด้วย การขอร้อง..?

รับมือ..ภัยแล้ง ไม่อาจแก้ได้ด้วย การขอร้อง..?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นไปได้อย่างไร ในขณะที่หลายพื้นที่กำลังเผชิญปัญหาน้ำท่วมจากภาวะฝนตกหนักในขณะนี้ โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ที่ขณะนี้กำลังเผชิญปัญหา น้ำท่วมขังนาน หรือจะเรียกน้ำรอระบายอะไรก็แล้วแต่ แต่ชาวนากำลังถูกขอร้องให้งดการทำนาในปีหน้า เพราะเสี่ยงจะเผชิญปัญหาภัยแล้ง....?

ความไม่สมดุลของน้ำ ของการบริหารจัดการน้ำ เป็นปัญหารื้อรังยาวนานที่ ไม่เคยได้รับการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ

ในปีนี้จากการรายงานของส่วนราชการ แม้ขณะนี้จะมีปริมาณฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จากอิทธิพลของพายุ แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนในการจัดเก็บมีไม่มากพอ ล่าสุด จากการประเมิน ปริมาณน้ำในการจัดเก็บของเขื่อนสำคัญๆอาจจะมีปริมาณน้ำเต็มความจุได้หากยังมีพายุเข้าต่อเนื่อง

แต่มีการประเมินแล้วว่าปริมาณน้ำจะไม่เพียงพอในปีหน้า รัฐบาลจำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ดังนั้นจึงได้ประกาศเตือน และขอร้องให้ชาวนาเว้นการทำนา ย้ำนะครับว่า โฆษกรัฐบาล ย้ำว่าขอร้อง ไม่ได้ประกาศห้าม เพราะมีความเสี่ยงเรื่องภัยแล้งมาก หากขืนทำนาอาจประสบปัญหาผลผลิตเสียหายได้ และยังได้แนะนำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชเกษตรอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อยแทน

แน่นอนว่ากระแสดังกล่าว สร้างความไม่พอใจให้กับชาวนาจำนวนมาก เพราะ อาชีพของเขาที่เขาถนัดและทำมาตลอด หากหันไปทำอย่างอื่นจะได้ผลได้ราคาคุ้มค่าหรือไม่..? เป็นความไม่แน่นอนเช่นกันที่เขาต้องเผชิญ

ดังนั้น ในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลน่าจะหันมาให้ความสำคัญและเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและจริงจังมากกว่านี้ จริงอยู่ว่า..ขณะนี้รัฐบาลได้เตรียมมาตรการเพื่อรองรับหรือชดเชยความเสียหายทางภาคเกษตรอยู่

แต่จำเป็นที่ต้องสร้างความเข้าใจให้ทั่วถึง ทางจังหวัดต้องเรียกประชุมเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์น้ำอย่างทั่วถึง ต้องมีการวางแผนการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกอย่างเป็นระบบ พื้นที่ไหนเหมาะจะปลูกอะไรทดแทน ใช้น้ำน้อย เมื่อได้ผลผลิต มีมาตรการวางแผนทางการตลาดรองรับชัดเจน ไม่ใช้ปลูกพืชทดแทนแล้ว ไม่มีตลาดรับซื้อ ปลูกมาขายไม่ได้ราคาขาดทุน ก็จะเป็นปัญหาตกไปยังเกษตรกรเหมือนเดิม

หากรัฐบาลชัดเจน วางแผนครอบคลุม ว่า พื้นที่เสี่ยงขาดน้ำทางการเกษตร พื้นที่ไหนต้องหันไปปลูกอะไร จะมีตลาดรองรับอย่างไร เป็นการรับประกันให้เกษตรกร ว่าทำแล้วขายได้ไม่ขาดทุน ก็จะสร้างความมั่นใจและแก้ปัญหาได้ตรงจุด การร้องขอโดยไม่มีทางออกย่อมไม่ทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกได้ เพราะอย่างไรเขาก็ต้องเสี่ยงเพราะเป็นอาชีพของเขา ดีกว่ารอโดยไม่มีความหวังอะไรเลย

เปลวไฟน้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook