นักวิชาการแนะหาดละไมขึ้นป้ายเตือนแมงกะพรุนกล่อง

นักวิชาการแนะหาดละไมขึ้นป้ายเตือนแมงกะพรุนกล่อง

นักวิชาการแนะหาดละไมขึ้นป้ายเตือนแมงกะพรุนกล่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการ แนะหาดละไม ขึ้นป้ายเตือน แมงกะพรุนกล่องหลังคร่าชีวิตนักท่องเที่ยว ระบุพบได้ทั้งอ่าวไทย-อันดามัน

จากกรณีนักท่องเที่ยวสาวเยอรมันถูกพิษแมงกะพรุนกล่องหลังลงไปเล่นน้ำทะเลในช่วงค่ำที่หาดละไม เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ทำให้เสียชิวิต 1 ราย และเจ็บ 1 รายนั้น ดร.จรัสศรี อ๋างตันญา นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า แมงกะพรุนกล่องทั่วโลกมีทั้งหมด 36 ชนิด มีทั้งชนิดที่เป็นพิษและไม่เป็นพิษ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าบางชนิดพิษร้ายแรงกว่างูเห่า สามารถทำให้เสียชีวิตภายใน 2-10 นาที ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั้งในทะเลฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน ซึ่งพื้นที่ใดที่มีการพบว่าแมงกะพรุนทำร้ายประชาชน ควรจะมีการขึ้นป้ายเตือน และมีการขึงตาข่ายใต้ทะเล เพื่อเป็นการป้องกันอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ บริเวณชายหาดควรจะมีกล่องน้ำส้มสายชู เพื่อเวลาฉุกเฉิน นำไปราดที่บาดแผลที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่อง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้

ทั้งนี้ ขั้นตอนการปฐมพยาบาลจากการสัมผัสแมงกะพรุนที่สงสัยว่ามีพิษและไม่มีพิษ ให้สังเกตจากลักษณะของบาดแผล ถ้าถูกแมงกะพรุนกล่องบาดแผลจะลึกและเป็นเส้น ๆ ให้ปฐมพยาบาล ดังนี้ 1.นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ หรือไปยังบริเวณที่ปลอดภัย 2.เรียกให้คนช่วยหรือเรียกรถพยาบาล (โทร.1669) และไม่ให้ผู้บาดเจ็บอยู่ตามลำพัง 3.ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่ง ๆ เพื่อลดการแพร่กระจายจากแมงกะพรุน 4.ไม่ให้ผู้บาดเจ็บและผู้อื่น สัมผัสหรือขัดถูบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน 5.ถ้าหมดสติและไม่มีชีพจร ให้ปั้มหัวใจทันที 6.นำน้ำส้มสายชูราดบริเวณที่ถูกแมงกะพรุนให้ทั่วอย่างน้อย 30 วินาที (ห้ามราดด้วยน้ำเปล่า) 7.รถจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึงหรือาการดีขึ้น




แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook