ดอง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดองการปฏิรูปภาษี

ดอง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดองการปฏิรูปภาษี

ดอง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดองการปฏิรูปภาษี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นที่น่าเสียดายสำหรับ การปฏิรูปทางภาษี ที่สำคัญ อย่างพ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นกฎหมายภาษีทรัพย์สิน ที่มีความพยายามปฏิรูปมาหลายสิบปี ด้วยเหตุเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ มองว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ไม่จำเป็นต้องรีบดำเนินการ

โดยเจ้าตัวต้องการให้มีการออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ให้ศึกษาแพ็คเกจในการกระตุ้นภาคอสังหาฯ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเร็วๆนี้มากกว่า

แนวคิดของรัฐมนตรีคลัง ภายใต้การนำของรองนายรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่เป็นความหวังของของประเทศในการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่ง ประกาศในการเข้ามาทำหน้าที่ว่า สิ่งสำคัญของเศรษฐกิจคือต้องวางรากฐานวางระบบให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน "การดำเนินนโยบายไม่ได้วางเป้าที่การขยายตัวของจีดีพี หากระบบสามารถเดินหน้าได้อย่างยั่งยืน จีดีพีจะตามมาเอง จีดีพีเป็นผลพลอยได้"

แต่ แนวคิด เรื่อง มาตรการภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ต้องบอกว่า สวนทางกับแนวคิดอย่างแรง เพราะ

การปรับปรุงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นภาษีทรัพย์สิน เป็นมาตรการภาษีสำคัญมีหลักอยู่ที่ การลดความเหลื่อมล้ำ และต้องการลดการถือครองที่ดินโดยมุ่งเน้นการเก็งกำไร และปรับปรุงการจัดเก็บภาษีให้สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการแบ่งการใช้ที่ดินแต่ละประเภทชัดเจน ที่ดินเพื่อการเกษตร ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ ที่ดินรกร้างว่างป่าว

โดยอัตราภาษีเพื่อการเกษตรจะมีอัตราต่ำสุด รองมาคือที่อยู่อาศัย และที่หนักสุดคือ ที่รกร้างว่างป่าว ซึ่งจะมีการเก็บเพิ่มขึ้นหากไม่มีการใช้ประโยชน์จริง เป็นการป้องกันการกว้านซื้อที่ดินเพื่อการเก็งกำไร เก็บที่ดินไว้ทำให้เสียโอกาสในการใช้ประโยชน์

ปัจจุบันอย่างที่ทราบกันว่า ที่ดินจำนวนมากตกอยู่ในมือกลุ่มทุนขนาดใหญ่จำนวนมาก มีประชาชนที่ขาดที่ดินทำกินจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้มีการรุกที่รุกป่าเป็นปัญหาตามมานาน และที่ดินจำนวนมากที่ตกอยู่ในมือกลุ่มทุน กลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์คือ กลุ่มที่มีการถือครองที่ดินไว้จำนวนมาก หรือที่เรารู้จักกันว่ามีการสร้างแลนด์แบงก์ไว้จำนวนมาก มีการเก็บที่ดินไว้เพื่อการเก็งกำไรในอนาคต

การเบรกการปรับปรุงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จึงตัดโอกาสในการใช้มาตรการทางภาษีเข้ามาลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินไปโดยสินเชิง

ในทางกลับกัน การเร่งออกแพ็คเกจมาตรการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ มองเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจาก ภาครัฐต้องการกระตุ้น ตัวเลขทางเศรษฐกิจหรือ จีดีพี ให้โตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะภาคอสังหาฯต้องยอมรับว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก ไม่ว่าวัสดุก่อสร้าง แรงงาน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ

ในส่วนประเด็นเรื่องภาระของที่อยู่อาศัย จริงๆไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะตามอัตราที่ประกาศออกมา บ้านที่ราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาท เสียภาษีสูงสุดปีละ 600 บาท ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ไม่กระทบและสร้างภาระให้กับเจ้าของผู้ถือครองเกินไป

การดอง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จึงทำให้เสียโอกาสในการลดความเหลื่อมล้ำและใช้มาตรการภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรมไปอย่างน่าเสียดาย เป็นการสะท้อนว่า แท้จริงเป้าหมายของทีมเศรษฐกิจแท้จริงคือต้องการเพิ่มจีดีพี..โดยไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักกับการปฏิรูปโครงสร้างในระยะยาวตามที่ป่าวประกาศไว้....

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook