ศานิตย์แจงพญาไทไม่ใช่ด่านลอย-ผิดซึ่งหน้าต้องจับ

ศานิตย์แจงพญาไทไม่ใช่ด่านลอย-ผิดซึ่งหน้าต้องจับ

ศานิตย์แจงพญาไทไม่ใช่ด่านลอย-ผิดซึ่งหน้าต้องจับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รรท.ผบช.น. เผยการตั้งด่านลอยในท้องที่พญาไท เป็นความเข้าใจผิด ตร.อำนวย จร. ไม่ใช่การตั้งด่าน จับเพราะผิดซึ่งหน้า - ด่านลอยที่ สน.บางนา ไม่ได้ทำผิดกฎระเบียบ เป็นเพียงจุดสกัด

พล.ต.ท.ศานิยต์ มหถาวร รรท.ผบช.น. เปิดเผยกรณีที่ด่านลอยในพื้นที่ สน.พญาไท ทางผู้กำกับได้มารายงานแล้วว่า ทางผู้ที่แจ้งอาจจะเข้าใจผิด เนื่องจากเวลานั้นตำรวจไปอำนวยความสะดวก บางครั้งที่พบตำรวจอยู่ริมทาง อาจจะไม่ได้ไปตั้งด่าน แต่เป็นการไปอำนวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชน แล้วที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดนั้น เป็นเพราะว่าเขาย้อนศรมา ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า ส่วนกรณีที่ สน.บางนา นั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินคดีกับผู้โพสต์แล้ว หรือเรียกว่าการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เอาข้อมูลอันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ดำเนินคดีแล้วมีอัตราโทษ 5 ปี ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีการดำเนินการอย่างถูกต้อง แค่ต้องการสื่อความหมายกันเท่านั้น

ส่วนประมาณปลายสัปดาห์นี้จะมีการประชุมคดีระเบิดที่ บช.น. แต่จะมีหนังสือคำสั่งให้ พล.ต.ท.ศานิตย์ ดูเรื่องสำนวนคดีระเบิดแทน พล.ต.ท.ศรีวราห์ ต่อไป แนวทางคล่าวๆ ในการทำคดีนั้น ก็ยืนยันชัดเจน ถ้าได้รับมอบหมายจะทำให้ทุกคนได้รับทราบว่า สำนวนการสอบสวนจะต้องมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งการรวบรวมพยานหลักฐานนั้น ตนจะไม่ทำผิดให้เป็นถูก หรือทำถูกให้เป็นผิด ทุกอย่างต้องอยู่บนบรรทัดฐาน ดังนั้น ข้อหาที่แจ้งจะต้องไม่อยู่บนความรู้สึก จะต้องมีเหตุมีผลชัดเจน

ส่วนกรณีด่านลอยในพื้นที่ของ สน.บางนา ตามบันทึกสั่งการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เมื่อปี 2540 ได้กำหนดมาตรการในการสกัดกั้นผู้กระทำผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญา ความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอื่นๆ ไว้ใน 3 ระดับ ประกอบด้วย ลำดับที่ 1 คือ จุดสกัด เมื่อมีเหตุด่วนเหตุร้าย ทางหัวหน้าสถานีเป็นผู้อนุมัติ มีสารวัตร รองผู้กำกับ และผู้กำกับ ที่จะเป็นผู้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปสกัดบ้างเป็นครั้งคราว เมื่อหมดภารกิจแล้วก็ต้องเลิกโดยปริยาย และไม่ต้องมีป้ายบอก ลำดับที่ 2 คือ จุดตรวจ ซึ่งจะต้องมีแผน ต้องมีคำสั่ง ทางผู้กำกับจะต้องทำเรื่องเสนอไปยังผู้การ ว่าวันที่เท่าไหร่ เวลาใด ที่จะตั้งจุดตรวจ โดยมีกำลังประกอบด้วยใครบ้าง และใครเป็นหัวหน้ารับผิดชอบ และจะต้องมีเบอร์ติดต่อ และมีแบบแผนในการปฏิบัติที่ชัดเจน และต้องผู้บังคับบัญชาระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบ และลำดับที่ 3 คือ ด่านตรวจ ต้องให้ระดับ ครม. เป็นผู้อนุมัติ หรืออำนาจของเจ้าหน้าที่ทางหลวง หรือ กอ.รมน. มาดูแล ในกรณีที่เป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยง เพราะฉะนั้นไม่สามารถตั้งด่านตรวจด่านลอยได้ ซึ่งคำว่าด่านลอยไม่ควรจะมี ถ้าเป็นอย่างนั้นพวกตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ทุกวันนี้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตให้ตั้งด่านแล้วมีด่านเกิดขึ้น ถือว่าผิดวินัย

ซึ่ง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. มีความเป็นห่วงเรื่องดังกล่าว เพราะว่าอาจจะมีบางกลุ่มใช้โอกาสทำให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อน แต่ถ้าตำรวจเจตนาบริสุทธิ์ประชาชนคงจะเห็นด้วย ในการสกัดกั้นตรวจค้น บางคนอาจจะมีอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อหวังประทุษร้ายต่อร่างกาย หรือทรัพย์สิน ก็ต้องมีการตั้งจุดตรวจ จุดสกัดไว้บ้าง เพราะถ้าไม่มีเลยก็จะลำบาก เพียงแต่ต้องทำให้พอเหมาะพอควร และไม่กีดขวางการจราจร ไม่ทำให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อน และไม่ส่อไปในทางทุจริต


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook