ห่างไกล...ไม่ด้อย โภชนาการ

ห่างไกล...ไม่ด้อย โภชนาการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อาหาร จำเป็นต่อร่างกาย ยิ่งในวัยเด็กด้วยแล้ว ยิ่งมีความสำคัญในการช่วยพัฒนาสมอง และสติปัญญาของพวกเขา ทว่าสำหรับเด็กๆ ที่อยู่ในโรงเรียนห่างไกลความเจริญ การจะมีโภชนาการที่สมบูรณ์นั้นดูจะยากเต็มที ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่อย่าง เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ จึงได้เข้ามาร่วมสนับสนุน และดำเนิน โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โดยพุ่งเป้าที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสหธนาคารกรุงเทพ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อให้น้องๆ ที่นี่มีสุขภาพ และโภชนาการที่ดีขึ้น

หลังจากเดินเครื่องโครงการได้ระยะหนึ่ง จึงมีการติดตามผล ร.ต.อ.วีรชัช เภานาง ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสหธนาคารกรุงเทพ เล่าว่า ปัญหาโภชนาการของเด็กในพื้นที่ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำหนัก และส่วนสูงที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนหนึ่งเกิดจากวัฒนธรรมความเป็นอยู่ดั้งเดิมของผู้ปกครองที่นิยมกินอาหารเพียง 2 มื้อ คือ เช้าและเย็น และงดมื้อกลางวัน

การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ จะให้ครูพยาบาลติดตามรับผิดชอบโครงการโดยมีการแจกอาหารเสริมทุกเช้าหลังเคารพธงชาติ โดยจะให้เด็กดื่มนม แล้วเสริมด้วยไข่ ให้เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินไข่มากกว่าเด็กน้ำหนักปกติ ซึ่งโครงการนี้เป็น 1 ใน 8 โครงการเกี่ยวกับอาหารกลางวัน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา ปลูกผัก ฯลฯ โดยโครงการจะเริ่มตั้งแต่ดูแลเด็กในครรภ์มารดาไปจนถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งในอนาคตเราจะขยายโครงการไปยังชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้มีไข่ไก่ไว้รับประทานกัน ครูใหญ่ เล่าแนวทางการทำงาน

ขณะที่ สุปรี เบ้าสิงห์สวย ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ว่า จะใช้แม่พันธุ์ไก่สาว โดยในสัปดาห์แรกซีพีเอฟจะสนับสนุนทั้งหมด เช่น ระบบวัคซีน ยาต่างๆ ดูแลอย่างครบระบบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคระบาด หลังสัปดาห์ที่ 18 เป็นต้นไปไก่จะเริ่มให้ไข่ และจะให้ผลผลิตได้ประมาณ 52-56 สัปดาห์ ไก่หนึ่งตัวจะให้ไข่ประมาณ 300 ฟอง หรือประมาณ 60,000 ฟองต่อรุ่น ทำให้ครูรู้ปริมาณในการคำนวณให้เด็กบริโภค ที่เหลือจะจำหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาดให้ชุมชนต่อไป

เด็กจะได้กินไข่ไก่ 3 ฟองต่ออาทิตย์ คือวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ซึ่งใน 200 วันที่มาโรงเรียน เด็กจะได้กินไข่เพียง 120 ฟองเท่านั้น อีก 165 วันที่อยู่บ้าน เราไม่รู้ว่าเด็กได้กินหรือเปล่า ตรงนี้ก็เป็นปัญหาเหมือนกัน ดังนั้นเรามองว่าถ้าโรงเรียนเป็นแหล่งที่สามารถผลิตอาหารให้ชุมชนได้ด้วยก็จะเป็นประโยชน์มาก สุปรี กล่าว

อาทิตย์ (เด็กไร้สัญชาติ) นักเรียน ชั้น ป.2 บอกว่า ทุกเช้าทางโรงเรียนแจกนมให้ดื่มก่อนเข้าเรียน ทำให้อิ่มท้องไปถึงกลางวัน ส่วนอาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดให้พวกผัก ผลไม้ และไข่ไก่ สัปดาห์ละ 3 ฟอง ซึ่งนอกจากจะอิ่มท้องแล้ว ยังช่วยให้มีโภชนาการที่ดีขึ้นด้วย

ด้าน เสาวรรณ เกษตรการค้า นักเรียน ชั้น ป.5 กล่าวเสริมว่า ตั้งแต่มีโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ทำให้ได้กินอาหารครบ 3 มื้อ เป็นผลให้เรียนหนังสือได้ดีขึ้น และมีเงินค่าขนมจากการขายไข่ที่เหลือจากการบริโภคในแต่ละวัน

การจะทำให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เกษม วิไลประสงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ จากเจริญโภคภัณฑ์อาหาร กล่าวทิ้งท้ายว่า ซีพีเอฟ ให้การสนับสนุนในส่วนของอาหารกลางวัน ด้านวิชาการ รวมถึงการสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ พร้อมแนะนำเทคนิคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้โรงเรียนสามารถดำเนินการโดยไม่ติดขัด ที่สำคัญสามารถต่อยอดความรู้สู่ชุมชนได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ

เรื่อง - ภาพ... กรกิต ศุภกรทิพย์

รายการคมชัดลึกตอน-แกนโลกเหวี่ยง สัญญาณเตือนธรรมชาติวิบัติ

หลัง ดร.สมิทธ ธรรมสโรช อดีตประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลว่า แกนโลกหมุนเอียงผิดปกติ ทำให้เกิดความวิตกกังวลกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยอาจประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น รายการคม ชัด ลึก ประจำวันศุกร์ที่ 30 มกราคม ตอน แกนโลกเหวี่ยง สัญญาณเตือนธรรมชาติ ได้หยิบยกประเด็นร้อนดังกล่าวมาสนทนาในรายการเพื่อหาข้อเท็จจริง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook