กรธ.เพิ่มอำนาจศาล รธน.หวังใช้เป็นกลไกยุติปัญหา

กรธ.เพิ่มอำนาจศาล รธน.หวังใช้เป็นกลไกยุติปัญหา

กรธ.เพิ่มอำนาจศาล รธน.หวังใช้เป็นกลไกยุติปัญหา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'อุดม' เผย กรธ. หวังใช้ ศาล รธน. เป็นกลไกหลัก ยุติข้อขัดแย้งเกี่ยวกับบทบัญญัติข้อกฎหมาย เพิ่มอำนาจหน้าที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษาองค์กรข้อพิพาทได้ ด้าน 'ชาติชาย'เผยกรธ.ยกร่างไปแล้ว120มาตราจะไม่ให้เกิน200

นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า กรธ. ยังคงพิจารณาในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องของอำนาจหน้าที่ เพื่อทำให้ศาลเป็นกลไกในการแก้ข้อขัดแย้งอันเกิดจากการใช้รัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องการรักษาการของนายกฯ จนนำไปสู่วิกฤติของบ้านเมือง เป็นต้น ซึ่ง กรธ. ได้พยายามที่จะหาช่องทางให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา แก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเหมือนเป็นการเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่ใช่เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เคยมีบทบัญญัติมาก่อน 

นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงกรณีศาลถูกกล่าวหา ว่าจะให้หน่วยงานใด มาเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งอาจจะมีองค์กรมาช่วยตรวจสอบไต่สวนข้อเท็จจริงแต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะมีหรือไม่ หรือจะให้เป็นองค์กรใดมาทำหน้าที่แต่อย่างใด 


กรธ.ยกร่างไปแล้ว120มาตราบอกจะไม่ให้เกิน200

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า การประชุมของ กรธ. ในวันนี้ จะเป็นการพิจารณาในส่วนของโครงสร้างนิติบัญญัติ อีกครั้ง เกี่ยวกับเรื่องคุณสมบัติการเป็นสมาชิกภาพ และการพ้นสมาชิกภาพของ ส.ส. หลังจากจบเรื่องศาลแล้ว แต่คงยังไปไม่เรื่องของ ส.ว. ส่วนเรื่องระยะเวลาในการทำงานหลังจากนี้ ก็จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ จะทำร่างแรกให้เสร็จภายใน 29 ม.ค. เพื่อเผยแพร่ต่อองค์กร และประชาชนต่าง ๆ จนถึงวันที่ 15 ก.พ.จากนั้น ในช่วงวันที่ 16 ก.พ. - 20 มี.ค. ก็จะเป็นห้วงเวลาของการปรับปรุงแก้ไข หลังจากนำเสนอต่อองค์กรต่าง ๆ และประชาชนไปแล้ว ตลอดจนการทบทวนถ้อยคำ และปรับปรุงให้สมบูรณ์ที่สุด ก่อนที่จะส่งให้กับคณะรัฐมนตรี ภายในวันที่ 29 มี.ค. ต่อไป เพื่อทำประชามติ


ทั้งนี้ นายชาติชาย ยังกล่าวด้วยว่า เบื้องต้นพิจารณาไปแล้วประมาณ 120 - 130 มาตรา ซึ่งน่าจะเกินจากเป้าเดิมที่ต้องการให้มีประมาณ 150 มาตรา แต่ก็จะพยายามไม่ให้เกิน 200 มาตรา อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถที่จะฟันธงได้ว่าจะมีกี่มาตรา เพราะหลังจากยกโครงแล้ว ก็อาจจะมีการเขียนบทบัญญัติให้สั้นกระชับลงได้อีก


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook