กรธ.ยกร่างไปแล้ว120มาตราบอกจะไม่ให้เกิน200

กรธ.ยกร่างไปแล้ว120มาตราบอกจะไม่ให้เกิน200

กรธ.ยกร่างไปแล้ว120มาตราบอกจะไม่ให้เกิน200
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรธ. กลับมาพิจารณาโครงสร้างนิติบัญญัติ ประเด็นคุณสมบัติ การสมาชิกภาพ ส.ส. 'ชาติชาย' เผย ทำโครงเสร็จแล้วประมาณ 120-130 มาตรา ย้ำจะพยายามไม่ให้เกิน 200

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา วันนี้ สมาชิก สปท. ร่วมประชุม กรรมาธิการชุดต่าง ๆ ต่อเนื่อง โดยในเวลา 11.30 น. 
พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ ประธาน กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 
จะแถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการฯ

ขณะเดียวกัน สถาบันพระปกเกล้า จัดงานสัมมนา การจัดตั้งสถาบันวิเคราะห์งบประมาณประจำรัฐสภาในบริบทสังคมและการเมืองไทย ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข 306-308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 ตั้งแต่เวลา 08.30-12.30 น. ส่วนในช่วงบ่าย มีการประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาบทบัญญัติเป็นรายมาตราต่อเนื่อง โดยยังพิจารณาในหมวด ศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง วิธีการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของสังคม ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถพิจารณาถึงที่มานายกรัฐมนตรีและโครงสร้างฝ่ายบริหารได้ในสัปดาห์หน้า

ด้าน นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า การประชุมของ กรธ. ในวันนี้ จะเป็นการพิจารณาในส่วนของโครงสร้างนิติบัญญัติ อีกครั้ง เกี่ยวกับเรื่องคุณสมบัติการเป็นสมาชิกภาพ และการพ้นสมาชิกภาพของ ส.ส. หลังจากจบเรื่องศาลแล้ว แต่คงยังไปไม่เรื่องของ ส.ว. ส่วนเรื่องระยะเวลาในการทำงานหลังจากนี้ ก็จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ จะทำร่างแรกให้เสร็จภายใน 29 ม.ค. เพื่อเผยแพร่ต่อองค์กร และประชาชนต่าง ๆ จนถึงวันที่ 15 ก.พ.จากนั้น ในช่วงวันที่ 16 ก.พ. - 20 มี.ค. ก็จะเป็นห้วงเวลาของการปรับปรุงแก้ไข หลังจากนำเสนอต่อองค์กรต่าง ๆ และประชาชนไปแล้ว ตลอดจนการทบทวนถ้อยคำ และปรับปรุงให้สมบูรณ์ที่สุด ก่อนที่จะส่งให้กับคณะรัฐมนตรี ภายในวันที่ 29 มี.ค. ต่อไป เพื่อทำประชามติ


ทั้งนี้ นายชาติชาย ยังกล่าวด้วยว่า เบื้องต้นพิจารณาไปแล้วประมาณ 120 - 130 มาตรา ซึ่งน่าจะเกินจากเป้าเดิมที่ต้องการให้มีประมาณ 150 มาตรา แต่ก็จะพยายามไม่ให้เกิน 200 มาตรา อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถที่จะฟันธงได้ว่าจะมีกี่มาตรา เพราะหลังจากยกโครงแล้ว ก็อาจจะมีการเขียนบทบัญญัติให้สั้นกระชับลงได้อีก


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook