แพทย์รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

แพทย์รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หนุนวิจัยวัตถุดิบลดต้นทุนผลิตยา ในพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯไปในการพระราชทานรางวัลแก่ผู้ได้รับรางวัล ณ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงร่วมเสด็จฯในฐานะทรงเป็นประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล สาขาการแพทย์ ศ.นพ.แซจิโอ เอ็นริเก้ เฟเรย์ร่า ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์เมืองริเบเรา เปรโต มหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล ผู้ค้นพบโปรตีนเปปไทด์จากพิษงูชนิดหนึ่งของประเทศบราซิล ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต นำสู่การศึกษาพัฒนายาในกลุ่ม ACEI ซึ่งยาตัวแรกคือ แคปทูพิว (Captopril) มีประสิทธิภาพลดความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงร่วมกับความเสื่อมของไต สามารถลดอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้มาก นอกจา กนี้ยังค้นพบกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ นำสู่การค้นพบยาในกลุ่ม COX-2 inhibitors

ศ.นพ. แซจิโอ เปิดเผยว่า ค้นพบโปรตีนเปปไทด์ด้วยความบังเอิญคือ เมื่อคนโดนงูกัดความดันโลหิตจะต่ำ สารบางชนิดในสารพิษของงูอย่างโปรตีนเปปไทด์สามารถลดความดันโลหิตสูงได้ จึงสนใจค้นคว้ามากขึ้น พร้อมศึกษาจากงานวิจัยหลายแห่ง จนผลิตเป็นยาลดความดันโลหิตสูง ส่วนการค้นพบกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มาจากความสงสัยในตัวเอนไซม์ หลังจากนี้จะค้นคว้าเกี่ยวกับโครงสร้างวัคซีน

อยากให้หน่วยงานภาครัะเอกชน ร่วมกันสนับสนุนการวิจัยคิดค้น สารตั้งต้นหรือวัตถุดิบในการผลิตยาได้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต ยารักษาโรคจะมีราคาถูกลง อย่างเช่น ในอินเดียที่สามารถผลิตสารตั้งต้นได้เอง แต่หลายประเทศในทวีปเอเชียยังทำไม่ได้ อีกทั้งไม่ควรเกิดเหตุการณ์สมองไหล เพราะจะทำให้ขาดการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ นายแพทย์ชาวบราซิลผู้ได้รับพระราชทานรางวัลมหิดกล่าว

ส่วนสาขาสาธารณสุข ผู้ได้รับรางวัลคนแรก ได้แก่ ศ.นพ.หยู หย่งซิน ผอ.เกียรติคุณแผนกวัคซีนไวรัส สถาบันควบคุมชีวเภสัชภัณฑ์แห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ใช้เวลากว่าสามทศวรรษศึกษาค้นคว้าและพัฒนาวัคซีนไข้สมองอักเสบสายพันธุ์ SA 14-14-2 ผลิตจากเซลล์ไตของหนูแฮมสเตอร์ พบว่ามีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีความปลอดภัยสูงในการป้องกันโรคไข้สมองอักเสบในเด็ก ทางการจีนจึงนำวัคซีนไข้สมองอักเสบฉีดให้เด็กมากกว่า200 ล้านคนตั้งแต่ปี 2531 และแพร่ขยายยังหลายประเทศ

ศ.นพ.หยู กลาวว่า ในขณะนั้นมีประชากรแสนกว่าคนที่ติดเชื้อไข้สมองอักเสบและเด็กในสาธารณรัฐประชาชนจีนป่วยด้วยโรคนี้มาก จึงเป็นที่มาของแรงบันดาลใจ จนค้นพบวัคซีนไข้สมองอักเสบ เมื่อปี2503 เชื้อไวรัสที่เกิดจากแมลงซึ่งเป็นพาหะ จะทำลายสมองให้สติปัญญาเสื่อมลง ตอนนั้นมีวัคซีนช่วยป้องกันแล้ว แต่มีผลข้างเคียงสูงส่งผลต่อสมอง จึงศึกษาเพิ่มเติมเพื่อลดอาการดังกล่าวให้เหลือน้อยที่สุด และค่าใช้จ่ายในการรักษาก็ถูกลง อนาคตจะพัฒนายาตัวเดิมเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ผ่านมายอมรับว่าเกิดความรู้สึกท้อแท้หลายครั้ง แต่เมื่อนึกถึงเด็กๆ แล้ว มีกำลังใจพยายามค้นคว้าด้วยความอดทนจนสำเร็จ และแม้ว่าโรคไข้สมองอักเสบมียุงเป็นตัวพาหะ แต่การป้องกันด้วยวัคซีนมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าการปราบปรามยุง

ศ.นพ.มิชิอากิ ทากาฮาชิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณและประธานกรรมการ มูลนิธิวิจัยโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาสาธารณสุข ศึกษาวิจัยจนสามารถแยกเชื้อไวรัสจากโลหิตของเด็กชาย3 ขวบ ตั้งชื่อสายพันธ์ โอกะ (Oka) ตามชื่อเด็กชาย นำไปผ่านขบวนการขยายพันธุ์ในเซลล์เพาะเลี้ยงเพื่อให้อ่อนแรงแต่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันไข้สุกใสได้ดี ได้มาตรฐานชีววัตถุตามข้อกำหนดองค์การอนามัยโลก เป็นที่ยอมรับและใช้แพร่หลายทั่วโลก นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่ได้รับวัคซีนนี้ เมื่อมีอายุมากขึ้นจะลดความรุนแรงของโรคงูสวัด ในผู้ใหญ่อายุมากกว่า60 ปีสามารถป้องกันการเกิดโรคลดอาการแทรกซ้อนและป้องกันการลุกลามของโรคได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะถูกนำวัคซีนนี้ป้องกันโรคงูสวัดในผู้สูงอายุ

ศ.นพ.มิชิอากิ กล่าวว่า สนใจศึกษาเชื้อไวรัสหลายตัว แต่มีประวัติทางการแพทย์ของเด็กชายโอตะ ที่มีความน่าสนใจ เกิดความสงสัยว่าทำไมจึงติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ ส่วนการค้นพบนำไปสู่ความเป็นไปได้ที่จะนำวัคซีนป้องกันการเกิดโรคงูสวัดในผู้ใหญ่ เป็นผลพลอยได้จากการค้นพบวัคซีนตัวนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook