หน่วยงานแจงกมธ.งบฯโครงการ5มาตรการ6เดือน

หน่วยงานแจงกมธ.งบฯโครงการ5มาตรการ6เดือน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
(1ก.พ.) ที่ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3 วันที่ 1 ก.พ.52 เวลา 09.30 น. นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2552 ครั้งที่ 4 / 2552 โดยวันนี้มีตัวแทนสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าชี้แจงโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน และโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงาน เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมชุมชน และตัวแทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ( กฟผ.) การไฟฟ้าฝ่ายภูมิภาค ( กฟภ.) การประปานครหลวง การประปาภูมิภาค การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ( ขสมก.) เข้าชี้แจงโครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน

โดยการประชุมช่วงแรก เป็นพิจารณาโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ซึ่งคณะกรรมาธิการ ฯ อภิปรายตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงชื่อโครงการและการคัดเลือกคณะกรรมการแต่ละชุมชน ดำเนินโครงการ ส่วนหลักการและวงเงินงบปะมาณที่ใช้ดำเนินโครงการคณะกรรมาธิการ เห็นด้วย ฯ ในหลักการตามร่าง พ.ร.บ. ซึ่งคณะกรรมาธิการ ฯ บางคนมีความเห็นว่า ชื่อโครงการ ซึ่งเดิมเป็นโครงการต่อเนื่องมาจากรัฐบาลทักษิณนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงชื่อได้ แต่ไม่ควรที่จะเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการดำเนินการ เพราะจะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติเนื่องจากคณะกรรมการชุดเดิมมีความพร้อมเพียงพอแล้ว ขณะที่บางส่วนเห็นว่า การเปลี่ยนชื่อโครงการอาจทำให้เกิดความสับสนในชุมชน โดยเข้าใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงการตั้งเป็นโครงการใหม่ ซึ่งจะต้องเลือกคณะกรรมการชุดใหม่แล้วอยากมีส่วนร่วม ทั้งที่จริงแล้วผู้ที่ได้เคยรับเลือกเป็นคณะกรรมการมาก่อนก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อไป โดยความสับสนดังกล่าวอาจทำให้กลายเป็นปัญหาความแตกแยกในชุมชนอีกต่อความสับสนที่ต้องการมีส่วนร่วม ขณะที่ในท้องถิ่นนั้นการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเวลานี้สังคมอ่อนแอ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงไม่เปลี่ยนแปลงชื่อโครงการ ขณะที่นายจุติ ไกรฤกษ์ กรรมาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า ในการจัดสรรงบ ต้องการให้เกิดความสมดุลในดุลยภาพของวินัยตามหลักเศรษฐกิจเพียงพอ และหลักการความยืดหยุ่น มากกว่า การตีความตามตัวอักษรของระบบราชการ โดยให้ถือเป็นวาระของประชาชนที่การใช้งบต้องคำนึงถึงวิถีชีวิต ทรัพยากรในแต่ละท้องถิ่น ที่มีความแตกต่างกันด้วยมากกว่าการเป็นวาระราชการ

ด้านตัวแทนสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจง ยืนยันว่า การดำเนินโครงการหน่วยราชการมีอัตรากำลังเพียงพอในการตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินโครงการ เพราะจะใช้เจ้าหน้าที่ชุดเดิมในโครงการต่อเนื่อง SML ซึ่งวงเงินงบประมาณ 9,960 ล้านบาท หากรัฐบาลชุดนี้พร้อมอนุมัติ หน่วยราชการก็พร้อมดำเนินโอนให้ชุมชน 8,000 หมู่บ้าน

ขณะที่การพิจารณาโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงาน เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมชุมชน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงว่า ในการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานนั้น ในปี 2552 จะนำงบประมาณ 6,900 ล้านบาท เพื่อฝึกอบรมวิชาชีพผู้ว่างงานจำนวน 240,000 คน จากตัวเลขผู้ว่างงาน 500,000 คน ซึ่งจะให้มีการส่งกลับแรงงานสู่ท้องถิ่นด้วย โดยในวันพรุ่งนี้ (2 ม.ค.) จะประชุมกับกระทรวงแรงงาน เพื่อฟังความคิดเห็นอีกครั้งซึ่งกระทรวงแรงงานจะเป็นผู้สรุปตัวเลขผู้ว่างงาน

อย่างไรก็ดีคณะกรรมาธิการ ฯ อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมาปลัดกระทรวงแรงงาน ชี้แจงเกี่ยวกับตัวเลขผู้ว่างงาน เดือน ม.ค.52 ว่ามีประมาณ 70,000 คน แล้ว ดังนั้นตัวเลขผู้ว่างงาน 1 - 1.2 ล้านคน น่าจะเป็นจริงได้ภายในอีก 3-4 เดือน ซึ่งการตั้งเป้าหมายจะฝึกอบรมวิชาชีพผู้ว่างงาน 240,000 คน จะดำเนินการให้เข้าถึงผู้ว่างงานทั้งหมด และจะครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดได้อย่างไร โดยการคาดการณ์ผู้ว่างงานนั้น มีทั้งนักศึกษาที่กำลังจะจบ และนักศึกษาที่จบแล้วตกงาน รวมทั้งในกลุ่มคนอีสานซึ่งออกจากพื้นที่มาหางานทำแล้วกลายเป็นแรงงานอิสระ ไม่มีประกันสังคม เช่น กรรมกรก่อสร้าง ที่ถูกเลิกจ้าง จะมีมาตรการใดบ้างที่จะบรรเทาความเดือดร้อน ขณะที่พื้นที่แต่ละแห่งก็ยังมีความพิเศษที่มีลักษณะการจ้างงานแตกต่างกันไป เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่ก็มีความพิเศษมีอัตลักษณ์ของตนเอง จึงเห็นว่า เมื่อแต่ละพื้นที่มีความพิเศษ การดำเนินโครงการจะต้องสอดคล้องกับลักษณะการจ้างงาน เช่น ภาคใต้ แรงงานเน้นด้านบริการ ท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ดังนั้นจึงควรที่จะพัฒนาแรงงานที่ส่งเสริมด้านบริการและการท่องเที่ยว ทั้งนี้คณะกรรมาธิการ ฯ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เหตุใดในการดำเนินโครงการจึงไม่ให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงท่องเที่ยว รวมทั้งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งมีส่วนโดยตรงและใกล้ชิดกับกลุ่มแรงงานได้ดำเนินการ แทนที่จะให้สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีความพร้อมโดยตรง ดำเนินการเพราะสุดท้ายแล้วสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ต้องประสานข้อมูล บุคลากร จากกระทรวงที่เกี่ยวข้องนั้นมาดำเนินการ โดยการให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดูแลโดยตรงน่าจะเป็นการช่วยลดเงื่อนไข และเวลาดำเนินการไม่ให้เกิดความยุ่งยาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลัง คณะกรรมาธิการ ฯ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เวลาประชุมร่วมกันจนถึง 12.30 น. จึงได้พักการประชุมและเตรียมประชุมอีกครั้งในช่วงบ่าย ซึ่งยังคงเหลือการพิจารณา โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน ที่มีตัวแทนรัฐวิสาหกิจต่างๆ เข้าชี้แจง

ตะลุยข่าว - เฟ้นสาวๆ ฝึกปราบจลาจล...รับม็อบเด็ก สตรี คนชรา

กลายเป็นเรื่องฮือฮาในแวดวงสีกากีอีกครั้ง ...หลังจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจเปิดรับนักเรียนนายร้อยหญิงเข้ารับการศึกษาและฝึกอบรม เฉกเช่นเดียวกับนักเรียนนายร้อยที่เป็นชายอกสามศอก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook