โครงการการศึกษาออนไลน์ ม.บูรพา

โครงการการศึกษาออนไลน์ ม.บูรพา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยบูรพา มีชื่อเสียงมานานแล้วกับการเป็นเซียนซอฟต์ แวร์ระบบเปิดหรือโอเพน ซอร์ส

นายเสรี ชิโนดม ผู้อำนวยการสำนักคอม พิวเตอร์ ม.บูรพา เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันสำนักคอม พิวเตอร์ ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าคณะเล็ก ๆ ของมหาวิทยาลัย แบ่งโครงสร้างงานเป็น 3 ส่วนคือ สำนักงาน เลขานุการ สำนักฝ่ายปฏิบัติการและสำนักวิเคราะห์และพัฒนาโปรแกรม โดยสำนักคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ดูแลระบบเน็ตเวิร์กทั้งหมดของมหาวิทยาลัย ดูแลระบบคอมพิวเตอร์หลังจากหมดสัญญา ก็จะต้องเข้ามาดูแลให้ต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์เอง

แรกเริ่มนั้น สำนักคอมพิวเตอร์ เขียนซอฟต์ แวร์ใช้เอง อยู่บนพื้นฐานของระบบเปิด และเชื่อมต่อเครือข่ายไปยังวิทยาเขตปราจีนบุรีและสระแก้ว รวม ถึงเชื่อมต่อกับเครือข่ายการศึกษาในภาคตะวันออก เชื่อมต่อกับทุกอาคารภายในมหาวิทยาลัย หอพัก หอสมุด และศูนย์กิจการนิสิต

ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่สำนักพัฒนาคอมพิวเตอร์ เขียนขึ้นมาเองก็คือ แบบประเมินการเรียนการสอน ระบบใบสมัครระดับปริญญาตรี-โท-เอก ระบบทะเบียนของโรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ และระบบบุคลากร ฯลฯ

ซอฟต์แวร์บางส่วนมีให้ดาวน์โหลดฟรี เช่น ระบบสารบรรณ ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการประชุม ภาระงาน และแบบสอบถามออนไลน์

ผอ.สำนักคอมพิวเตอร์ บอกว่า โครงการการศึกษาออนไลน์ของ ม.บูรพา ขณะนี้ ได้จัดทำ ตำราออนไลน์ให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล เรื่อง เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงหอยหวาน และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูน จัดทำในรูปแบบ อินเตอร์แร็คทีฟ คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเร็ว ๆ นี้

รวมถึงการจัดทำระบบการเรียนแบบอีเลิร์น นิ่ง เกี่ยวกับโลหิตวิทยาและต่อมน้ำเหลือง เทคโนโลยี สารสนเทศ การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล ระบบ สืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยวภายในจังหวัดชลบุรี วิชาอัญมณีศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปกรรมของไทย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังรับงานจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ (วช.) ออกแบบบทเรียนวิจัยออนไลน์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิจัยแห่งชาติจะเตรียมเนื้อหา มาให้แล้วสำนักคอมพิวเตอร์ จะจัดทำเป็นบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรนักวิจัยระบบพื้นฐาน ระบบบริการปลดหนี้ของนิสิต นักศึกษา ของกองทุนกู้ ยืมเรียน และระบบการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ

แม้จะรับงานจากหน่วยงานมาทำมากมาย แต่อาจารย์เสรี ก็ยอมรับว่า ไม่ได้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้มหาวิทยาลัยมากนัก เนื่องจากเป็นสถาบันการศึกษา เป็นหน่วยงานของรัฐ เพียงแต่อยากแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ให้กับหน่วยงานอื่นเรื่องโอเพนซอร์ส เพราะในอดีต ม.บูรพา เคยเสียเงินกับเรื่องนี้มากมาย จึงอยากช่วยให้คนอื่นประหยัดบ้าง

อาจารย์เสรี บอกว่า หากมีอะไรที่ทำให้ได้ เราก็จะทำ เพื่อช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐ บางทีได้เงินมา 5 ล้าน เขียนซอฟต์แวร์แล้วเอาไปใช้ตั้ง 5 มหาวิทยาลัย. ปรารถนา ฉายประเสริฐ

prathanac@dailynews.co.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook