ฉลองครบรอบ 800 ปี เคมบริดจ์ บนเส้นทางประวัติศาสตร์สู่ศูนย์กลางความก้าวหน้าของโลกอนาคต

ฉลองครบรอบ 800 ปี เคมบริดจ์ บนเส้นทางประวัติศาสตร์สู่ศูนย์กลางความก้าวหน้าของโลกอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเพียงไม่กี่แห่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานมาก โดยในปีนี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จะมีการจัดงานฉลองครบรอบ 800 ปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงเส้นทางอันยาวไกลของมหาวิทยาลัย

ย้อนหลังไปในปี 1209 ตามหลักฐานการจดบันทึกของ โรเจอร์ ออฟ เวนโดเวอร์ นักบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อังกฤษ ระบุว่า มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดหยุดทำการเรียนการสอนเพื่อเป็นการประท้วงคำพิพากษาของทางการออกซ์ฟอร์ด ที่ตัดสินแขวนคอนักศึกษาของมหาวิทยาลัย 2 คน ด้วยข้อหาฆ่าคนตาย ซึ่ง เป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ กับกลุ่มชาวบ้าน ส่งผลให้คณาจารย์และนักศึกษาจำนวนหนึ่งตัดสินใจอพยพออกจากเมืองออกซ์ฟอร์ดไปยังเมืองเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำแคม และเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าแรกของ เคมบริดจ์ ในสถานะมหาวิทยาลัย

ในช่วงแรก เคมบริดจ์ ยังไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่มีสถานะทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยอื่นในยุโรป กระทั่งในปี 1231 สมเด็จพระเจ้าเฮนรี่ ที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเลื่อนสถานะของแคมบริดจ์ ให้มีกฏของตัวเองเพื่อใช้ควบคุมสมาชิกในสถาบัน และทรงโปรดให้มีการยกเว้นการเก็บภาษีบางส่วน และต่อมา ในปี 1233 สมเด็จพระสันตะปาปา เกรเกอรี่ ที่ 9 แห่งคริสตจักร นิกายโรมันคาทอลิค ก็ทรงออกกฏหมายรองรับให้ผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันเคมบริดจ์ มีสิทธิถ่ายทอดความรู้ในฐานะอาจารย์ผู้สอนได้ทั่วอาณาเขตคริสตจักร ส่งผลให้เคมบริดจ์มีสถานะเทียบเท่ากับสถาบันระดับอุดมศึกษาของยุโรป และเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในยุโรปที่สนใจมาศึกษาค้นคว้าข้อมูลหรือทำการสอน

ภายในอาณาเขตมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มีวิทยาลัย (College) 31 แห่งกระจายอยู่แทบทุกพื้น วิทยาลัยแรกในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์คือ Peterhouse College สร้างขึ้นในปี 1284 ก่อนที่จะมีการสร้างวิทยาลัยอื่นๆ ตามมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 ในช่วงแรก การก่อตั้งวิทยาลัยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสวดภาวนาให้กับผู้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อใช้สร้างวิทยาลัย จึงไม่น่าประหลาดใจ ที่แต่ละวิทยาลัยจะมีโบสถ์ (Chapel) ประจำเป็นของตัวเอง อาทิ โบสถ์ของ Kingฒs College ที่สร้างขึ้นในช่วงปี 1446 -1515 ได้รับการกล่าวขานถึงความสวยงามของสถาปัตยกรรมทั้งภายในและนอกเป็นอย่างมาก

จุดประสงค์ของการสร้างวิทยาลัยเริ่มเบนเข็มในปี 1535 ซึ่งเป็นช่วงเสื่อมถอยของศาสนจักร หลังจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษ ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านกฏหมาย ระบุให้พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์แต่เพียงพระองค์เดียว และยังมีคำสั่งให้มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ยกเลิกการสอนกฏหมายและหลักปรัชญาทางศาสนา ส่งผลให้มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องเบนเข็มแนวทางกาอนไปยังคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กลายเป็นรากฐานสำคัญที่ผลักดันให้มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นผู้นำด้านงานวิจัยวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของโลก

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แสดงได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวนมหาศาลจากรัฐบาลในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อป้องกันประเทศจากภัยคุกคามจากเยอรมนี ซึ่งมีอด๊อล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นผู้นำ

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นสถาบันศึกษาที่มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุดถึง 81 รางวัล นอกจากนี้ ในปี 2006 และ 2007 The Times Higher Education (THES) วารสารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาชั้นนำของโลก จัดอันดับให้เคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกลำดับที่ 2 รองจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ของสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ งานเฉลิมฉลองครบรอบ 800 ปีของมหาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จะมีขึ้นตลอดทั้งปีนี้ (ค.ศ.2009) โดยในแต่ละเดือน จะมีกิจกรรมหลากหลายให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย กว่า 23,000 ชีวิต รวมไปถึงนักท่องเที่ยว ได้ร่วมแบ่งปันช่วงเวลาที่สำคัญของมหาวิทยาลัย โดยทางบอร์ดผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ยังตั้งเป้าหมายเป็นเงินสูงถึง 1 พันล้านปอนด์ (ราว 4.8 หมื่นล้านบ.) เพื่อเป็นเงินทุนพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต

-------------------------------------------------------

จากมุมเด็กไทยในเคมบริดจ์

ผมชอบ Kings College ครับ มันเหมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ไปที่ไหนก็จะเห็นคนเอารูปโบสถ์ของ Kingฒs College มาลง โดยส่วนตัวก็คิดว่าเป็นสถานที่ๆสวยดีด้วยครับ- ปวีณ์ ตันศิริคงคล St Catharineฒs College

ผมชอบระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของเคมบริดจ์ ซึ่งมันจะเป็น Discussion class ระหว่าง อาจารย์ กับนักเรียน 2-3 คน แล้วก็ได้มีโอกาสเรียนอาจารย์ที่เป็นศาสตราจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักกฎหมาย แนวหน้าของอังกฤษ ยุโรป และของโลก ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก- ภัทรภาส ทัดศรี Fitzwilliams College

--------------------------------------------------------

คุณรู้หรือไม่...ในเคมบริดจ์

1. เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ตั้งกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน ก็เคยเป็นศิษย์เก่าของ ม.เคมบริดจ์ (Trinity College) ก่อนที่จะจบการศึกษาในปี 1665 นอกจากนิวตัน นักวิทยาศาสต์ชื่อดังหลายคน อาทิ เจ.เจ. ทอมป์สัน ชาลส์ ดาวิน และ ฟรานซิสเบคอน ล้วนแล้วแต่เคยเป็นเด็กม.เคมบริดจ์กันทั้งนั้น

2. เชื่อกันว่า ต้นแอปเปิล ในบริเวณ Trinity College สืบเชื้อสายมาจากจาก ต้นแอปเปิลที่ช่วยให้นิวตันค้นพบกฏแรงโน้มถ่วงของโลก

3. Punting คือการพายเรือไม้ท้องแบน โดยใช้ไม้ค้ำดันกับพื้นแม่น้ำเพื่อให้เรือเคลื่อนที่ ซึ่งการพายเรือสัญจรทางน้ำเป็นกิจกรรมยามว่างยอดนิยมของเด็กเคมบริดจ์และบรรดาดานักท่องเที่ยว

4. The Cambridge University Press (CUP) เป็นสำนักพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และมีการตีพิมพ์หนังสืออย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1584 จนถึงปัจจุบัน

5. Robinson college เป็นวิทยาลัยที่มีอายุน้อยที่สุด ในบรรดา 31 วิทยาลัยทั้งหมดของเคมบริดจ์ โดยก่อตั้งในช่วงปลายของยุค 70 อย่างไรก็ตาม ถ้านับกันตามการสถาปนาวิทยาลัยแล้ว Hughes Hall College กลับถือว่าเป็นน้องใหม่ของม.เคมบริดจ์ เพราะได้รับสถานะวิทยาลัยอย่างเป็นทางการเมื่องเดือนเมษายน 2007 ที่ผ่านมาเท่านั้น

6. ในปี 1997 บิล เกตส์ อภิมหาเศรษฐีชื่อดังของโลกช่วยออกทุนกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 2.7 พันล้านบ.) ในการก่อตั้ง Cambridge Research Center ด้วยความเชื่อมั่นว่า ม.เคมบริดจ์ จะเป็นศูนย์กลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางวิทยาศาตร์ในอนาคต

7. เคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากม.ออกซ์ฟอร์ด

8. ระบบวิทยาลัยของม.เคมบริดจ์มีลักษณะคล้ายบ้านของนักเรียนในหนังสือวรรณกรรมยอดฮิต แฮรี่ พอตเตอร์ คือ นักศึกษาจะต้องสังกัดในวิทยาลัยของตัวเอง แต่ละวิทยาลัยจะการมีการแข่งขันด้านการเรียนและกิจกรรม นอกจากนี้ ทุกวิทยาลัยมีสัญลักษณ์ ประเพณี และประวัติศาสตร์เก่าแก่ของตัวเอง รวมไปถึงทรัพย์สินอาคารบ้านเรือน อาทิ สระว่ายน้ำ หอศิลป์ โบสถ์ อาคารธุรกิจ หุ้นในประเทศต่างๆ ฯลฯ ดังนั้น วิทยาลัยของเคมบริดจ์หลาย ๆ แห่ง จึงมีฐานะร่ำรวย และแข่งขันกันว่าใครจะให้ความสะดวกแก่เด็กตัวเองได้มากกว่ากัน หรือจ้างอาจารย์เก่งๆ มาเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการให้วิทยาลัยของตน ซึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ส่วนใหญ่จะมีวิทยาลัยสังกัดของตนเองด้วย

---------------------

เรียบเรียงโดย ไผท ทัดศรี ม.เกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ สื่อสารมวลชน ปี4

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook