นายกฯขอให้ทุกคนศึกษาร่างรธน.แต่อย่ากังวล-เร่งแก้แล้ง

นายกฯขอให้ทุกคนศึกษาร่างรธน.แต่อย่ากังวล-เร่งแก้แล้ง

นายกฯขอให้ทุกคนศึกษาร่างรธน.แต่อย่ากังวล-เร่งแก้แล้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกรัฐมนตรี ขอให้ทุกคนศึกษาร่างรธน. แต่อย่ากังวลให้มาก ชี้ ใจคนสำคัญที่สุด จำเป็นต้องปฏิรูป เพื่อปฏิรูปประเทศ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า ปัญหาการขาดความเป็นสังคมไทย ถือเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด เพราะหลายปีที่ผ่านมามีความขัดแย้งกันมาก ทำให้เป็นสังคมที่มีความขัดแย้ง ไม่สงบสุข มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งประชาชน มีการใช้ความรุนแรงต่อกัน อันเกิดจากจากการบิดเบือน ปลุกปั่น สุดโต่ง จากผู้ที่ไม่หวังดี และอาจหวังผลประโยชน์ทางการเมืองด้วย รวมถึงมีนักวิชาการที่สุดโต่งที่มุ่งเน้นในเรื่องประชาธิปไตย โดยไม่ได้สอนให้คนอยู่ร่วมกัน หรืออาจจะรวมถึงสื่อด้วย ซึ่งจำเป็นต้องขจัดออกไปให้ได้ ทำให้เกิดระบบประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับวิถีไทย

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวต่ออีกว่า เรื่องรัฐธรรมนูญ ทุกคนอาจจะมองว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ ซึ่งส่วนตัวก็ไม่เถียง และถือเป็นหลักการของประเทศในระบอบประชาธิปไตย แต่ทุกคนคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญ คือ ยาวิเศษ หรือสูตรสำเร็จในการที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศไทย หรือแก้โรคได้ทุกโรค ก็อยากจะให้ทบทวนให้ดี แต่อย่าฟังคนที่ไม่ได้ร่างพูด ซึ่งตนเองก็ต้องศึกษาเหมือนกัน ในฐานะเป็นประชาชน และในฐานะรัฐบาล โดยใช้หลักการดูทีละหมวด ถ้าอ่านแล้วไม่ติดใจสงสัยก็ผ่านไป แต่สงสัยตรงไหนก็ทำเครื่องหมายไว้ แล้วก็อาจจะต้องไปศึกษาเปรียบเทียบว่าต่างจากปี 2540 อย่างไร ปี 2550 อย่างไร หรือฉบับอื่นๆ จากนั้นก็ต้องเอาปัจจัยต่างๆ มาวิเคราะห์ว่าแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในอดีต หรือปัญหาอื่นๆ ได้หรือไม่ เพราะช่วงต่อไปนี้เป็นช่วงสำคัญเรื่องของการปฏิรูปประเทศ ให้เป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง แต่หากยังไม่มีวินัย ไม่เคารพกฎหมาย ไม่เคารพกติกาของสังคม ไม่ดูแลให้เกิดความเท่าเทียม เป็นธรรม ไม่วางแผนอนาคตประเทศให้ชัดเจน ไม่มียุทธศาสตร์ ประชาธิปไตยของไทยจะกลับไปที่เดิมมีความขัดแย้งอีกหรืออาจจะมากกว่าเดิม ดังนั้น อย่าไปกังวลกับเรื่องรัฐธรรมนูญมากนัก แต่ใจคนสำคัญที่สุด จำเป็นต้องปฏิรูป เพื่อปฏิรูปประเทศ

 

นายกฯเชิญชวนชมงานวันนักประดิษฐ์

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น "วันนักประดิษฐ์" เป็นวันที่ปวงชนชาวไทยจะได้เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะ "พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย" จึงอยากให้นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเยาวชนที่ใฝ่ฝันจะเติบโตขึ้นมาเป็นนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคต ได้ยึดมั่นแนวทางการพัฒนาผลงานของตนเอง ตามแบบอย่างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงมุ่งค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงาน ในการแก้ปัญหาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับปวงชนชาวไทย จะขอเป็นกำลังใจให้กับการมานะ ทุ่มเท ในการผลิตนวัตกรรมเพื่อส่วนรวม เพื่อการสร้างชาติ เพื่อการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติที่มีอย่างจำกัด อย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของมวลมนุษยชาติ รัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนให้นำเข้าสู่ภาคการผลิตให้ได้มากที่สุด

ทั้งนี้ ในวันที่ 2 - 6 ก.พ. นี้ มีการจัดงานวันนักประดิษฐ์ ณ Event Hall 102 – 103 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิดผลงานประดิษฐ์ที่นำสู่การเรียนรู้และการพัฒนา เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จึงขอเชิญผู้ที่สนใจ อาทิ นักเรียน นักศึกษา เยี่ยมชมผลงานสิ่งประดิษฐ์ ทั้งของนักประดิษฐ์ไทยและนักประดิษฐ์ต่างประเทศ กว่า 17 ประเทศ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังเชิญชวนเที่ยง ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นช่วงของตลาดวัฒนธรรม สยามเมืองยิ้มวันที่ 1 - 26 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพ

 

นายกฯยันเร่งวางรากฐานแก้ปัญหาประเทศทุกด้าน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า ปัญหาของประเทศ มีความวุ่นวายพอสมควร ในขั้นการเตรียมการเลือกตั้ง การเตรียมการทำประชามติ หรือร่างรัฐธรรมนูญ ขอย้ำว่าจะต้องแก้ไข และวางพื้นฐานให้ได้โดยเร็ว ในการที่จะเป็นประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน คือ โดยต้องแก้ปัญหา ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ให้ได้ คือ การเมือง และประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์, ความแตกต่าง ของ อาชีพ รายได้ การศึกษา ของคนในประเทศ, ความเหลื่อมล้ำ แตกต่าง ในด้านคุณภาพชีวิต, ความไม่เป็นธรรมในสังคม การเลือกปฏิบัติ, การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ หรือใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ต้องมีการตรวจสอบ เข้าสู่กระบวนการให้ชัดเจนที่สุด

ขณะเดียวกัน ระบบงบประมาณ รายรับ รายจ่าย ของประเทศ มีการขาดดุลมากพอสมควร จำเป็นต้องทำให้มีรายรับมากขึ้น ให้สัมพันธ์กับรายจ่ายที่ต้องมีเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งโครงสร้างรายรับของประเทศ ต้องปรับปรุงทั้งหมด ในเรื่องของสินค้าส่งออก สินค้านำเข้า ภาษี ระบบภาษีการค้า สรรพสามิต กรมศุลกากรต่างๆ ตลอดจน ต้องคำนึงถึงระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจของประชาคมโลก ที่มีการรวมกลุ่ม การขยายตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งพันธะสัญญาต่างๆ ด้วย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ

 

นายกฯยันบริหารจัดการน้ำทั้งระบบแก้แล้ง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า ความเข้มแข็งของประชาชน ต้องร่วมกันลดความขัดแย้ง ต้องรวมตัวกันทำในเรื่องของวิสาหกิจชุมชน ธุรกิจชุมชน ธุรกิจเพื่อสังคม รวมความไปถึงการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อนำสู่การผลิตทั้งผลิตด้วยตัวเอง และการรวมแปลงใหญ่ ซึ่งล้วนเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น ส่วนเรื่องการบริหารจัดการน้ำ มีผลกระทบกับเกษตรการ จำเป็นต้องมีการโซนนิ่ง การปรับเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรให้เหมาะสม ซึ่งรัฐบาลกำลังทำแผนจัดการบริหารน้ำทั้งระบบอย่างที่เคยเรียนไปแล้ว

นอกจากนี้ จะมีการควคุม บริหารจัดการ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ดิน และอื่นด้วย เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยจะมีการบูรณาการกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงเกษตร รวมทั้งประชาชนด้วย

 

นายกฯหวังแผนข้าวครบวงจรช่วยชาวนาทั้งระบบ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า ปัญหาของชาวนา รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ หลายๆ พื้นที่ก็เริ่มมีความยากลำบากแล้ว เรื่องน้ำ เรื่องข้าว เรื่องยาง จะพยายามแก้ไปเรื่อยๆ สร้างความเข้มแข็งไปด้วย จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อจัดทำ "แผนข้าวครบวงจร" ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจะมีทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งองค์กรภาคเอกชนร่วมด้วย เช่น สมาคมชาวนา สมาคมโรงสี สมาคมผู้ค้าข้าวถุง และสมาคมผู้ส่งออก เป็นต้น ในการทำแผน

สำหรับ "แผนข้าวครบวงจร" นี้ เป็นความพยายามของรัฐ ที่ต้องการให้มีการปลูกข้าว ให้สมดุลกับความต้องการใช้ ซึ่งได้ประมาณการความต้องการข้าวแล้วของประเทศอยู่ที่ประมาณ 25 ล้านตันข้าวเปลือก และได้วางแผนการจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกให้สมดุลกัน ซึ่งในส่วนของข้อเสนอของสมาคมชาวนา เรื่องมาตรการช่วยเหลือชาวนาแบบยั่งยืน ที่ได้ยื่นให้คณะกรรมการได้พิจารณานั้น ได้รับทราบแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำลังนำไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะเร่งให้รีบหาข้อสรุปให้ได้โดยเร็ว


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook