ปชป.วอนกรธ.ให้ปชช.ยื่นศาลรธน.ได้โดยตรง

ปชป.วอนกรธ.ให้ปชช.ยื่นศาลรธน.ได้โดยตรง

ปชป.วอนกรธ.ให้ปชช.ยื่นศาลรธน.ได้โดยตรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฝ่ายกฎหมาย ปชป. วอน กรธ. เปิดโอกาสให้ ปชช.ยื่นศาล รธน. ได้โดยตรง กรณีพบกระทำอันเป็นล้มล้างระบบประชาธิปไตย - ร้อง สนช.ถอนร่างพรบ.จัดซื้อจัดจ้าง

นายราเมศ รัตนะเชวง ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงข่าวแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า ม.46  ว่าด้วยเรื่องการพบกระทำอันเป็นล้มล้างระบบประชาธิปไตย ซึ่งกำหนดให้ประชาชนร้องต่ออัยการสูงสุดให้ดำเนินการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุติการกระทำดังกล่าวภายใน 30 วัน ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า การกำหนดเวลา 30 วัน นานเกินไป อยากให้เปิดช่องให้ประชาชนสามารถร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง หรือหากจะกำหนดเวลา 30 วัน ขอให้มีเงื่อนไขให้ศาลรัฐธรรมนูญ สามารถมีคำสั่งให้ยุติการกระทำดังกล่าวเป็นการชั่วคราวได้

ขณะที่ ม.126 ที่ให้ถือว่าคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และพรรคการเมือง แต่ที่ผ่านมาพรรคการเมือง มักไม่เคารพการตัดสินใจของศาลรัฐธรรมนูญ จึงเห็นควรมีการกำหนดความรับผิดชอบของผู้ที่ละเมิดคำสั่งให้ชัดเจน

ส่วน ม.127 ที่กำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ให้องค์กรอิสระพิจารณาแสดงความเห็นกลับมา นั้น ขัดต่ออำนาจการตรวจสอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

นายราเมศ ยังกล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัศดุภาครัฐที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ว่า กฎหมายฉบับนี้มีผลร้ายแรงหากมีการพิจารณาผ่านและมีผลบังคับใช้ เพราะเอื้อให้เกิดการทุจริต เพราะในม.7 ยกเว้นไม่บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ในหลายกรณี อาทิ การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการทางทหารโดยวิธีรัฐต่อรัฐ หรือโดยการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศที่กฎหมายต่างประเทศนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และกรณีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการสิจัยและพัฒนาหรือการจ้างที่ปรึกษาที่ไม่สามารถดำเนินการตามพรบ.ฉบับนี้ได้ ซึ่งจะเป็นเหมือนการเปิดช่องให้สามาถปกปิดการดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินได้ และขัดต่อบทบัญญัติแห่งร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังเขียนอยู่ในขณะนี้ที่มุ่งเน้นการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

จึงเรียกร้องให้รัฐบาลขอถอนกฎหมายฉบับนี้ออกจากการพิจารณาของสนช.แล้วนำกลับไปแก้ไขหลีกการให้ถูกต้อง หรือหากถูกบรรจุเป็นวาระการประชุมในวาระที่1 ขั้นรับหลักการแล้ว ขอให้สนช.มีมติคว่ำร่างเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ




แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook