ปชป. จี้รบ.ปูทางเลือกตั้งเปิดกว้างวิจารณ์ รธน.

ปชป. จี้รบ.ปูทางเลือกตั้งเปิดกว้างวิจารณ์ รธน.

ปชป. จี้รบ.ปูทางเลือกตั้งเปิดกว้างวิจารณ์ รธน.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จี้ รบ. ปูทาง เลือกตั้ง เปิดกว้างวิจารณ์ รธน. เมินกระแสคว่ำร่าง แนะรอชัดเจน 29 มี.ค.นี้

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวเรื่องร่างรัฐธรรมนูญว่า ตนขอเรียกร้องไปยัง
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล เปิดกว้างให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ เพราะ
เป็นช่วงรับฟังการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะในภาคสถานศึกษา ซึ่งการเปิดกว้างให้แสดงความคิดเห็นจะเป็น
ประโยชน์ต่อประชาชนว่าจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขณะเดียวกัน จะทำให้เห็นทัศนคติของบุคคลหรือกลุ่ม
บุคคลต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นจุดเด่นและจุดด้อยของรัฐธรรมนูญ รวมถึงความสนใจของต่อรัฐธรรมนูญที่มีผลต่อ
การลงประชามติ ซึ่ง คสช. และรัฐบาลควรปูทางสร้างบรรยากาศความเป็นประชาธิปไตย เพื่อเตรียมพร้อมในการ
เลือกตั้งกลางปีหน้า เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ประชาชนประเทศและประชาธิปไตยดีกว่าการปิดกั้นให้ความสนใจนั้นลดลง

ส่วนกระแสข่าวการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น นายองอาจ ระบุว่า ขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในระหว่างปรับปรุง
แก้ไข ถือว่าไม่ใช่ร่างที่สมบูรณ์การรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะต้องดูในวันที่ 29 มี.ค. ที่จะมีความชัดเจนมากขึ้นว่าจะผ่านการทำประชามติหรือไม่ 


ปชป.ระบุจุดแข็งรธน.ฉบับนี้เข้มปราบโกง 

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา คือ ความเข้มข้นของการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบต่าง ๆ อาทิ กำหนดการป้องกันการทุจริตเป็นหน้าที่ของคนไทย ในมาตรา 47 และในมาตรา 59 ให้รัฐส่งเสริมและทำให้ประชาชนรับทราบการทุจริต ในส่วนของโครงสร้างรัฐสภา นิติบัญญัติ บุคลากรโครงสร้างการบริหารของภาครัฐ และงบประมาณให้มีความเข้มงวดเพื่อป้องกันการทุจริต การเพิ่มความเข้มงวดขององค์กรอิสระ องค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญที่จะมาทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริตที่มิชอบ รวมถึงการบัญญัติให้ป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้ง ซึ่งทั้งหมดจะทำให้การทุจริตลดลง แต่การปฏิบัตินั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงอยากให้ กรธ. ร่างกฎหมายให้มีความศักดิ์สิทธิ์และสอดคล้องกับเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ นายองอาจ ยังเสนอให้แก้ มาตรา 232 ที่ให้อำนาจประธานรัฐสภามีอำนาจพิจารณาความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพียงผู้เดียว แต่อยากเสนอให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา เนื่องจากอาจจะมีการวิ่งเต้นให้เรื่องดังกล่าวไม่มีมูล และประธานรัฐสภาที่มาจากเสียงข้างมากอาจเกี่ยวข้องกับรัฐบาลทำให้ไม่สามารถพิจารณาข้อกล่าวหาด้วยความเป็นธรรมได้ 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook