คสช.ย้ำรธน.ยึดปชช.ขอวิจารณ์ในกรอบปัดรด.เฝ้าประชามติ

คสช.ย้ำรธน.ยึดปชช.ขอวิจารณ์ในกรอบปัดรด.เฝ้าประชามติ

คสช.ย้ำรธน.ยึดปชช.ขอวิจารณ์ในกรอบปัดรด.เฝ้าประชามติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ย้ำ รัฐธรรมนูญยึดประชาชน ขอวิจารณ์ในกรอบ ปัดใช้ รด. เฝ้าคูหาลงประชามติ

พันเอก วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวชี้แจงกรณีที่แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ให้ข้อมูลว่ารัฐบาลใช้ทุกกลไก กระทั่งนักศึกษารักษาดินแดนไปยืนโฆษณาหน้าหน่วยในวันลงคะแนนเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ว่า คงเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนมาก เนื่องจากกองทัพบก มีนโยบายสนับสนุน ให้นักศึกษารักษาดินแดนซึ่งอยู่ในวัยการศึกษา ได้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือสังคมในลักษณะจิตอาสาในกิจกรรมต่างๆ มาก่อนหน้านี้แล้ว ขณะเดียวกัน หากเป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญก็ควรเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรรู้และทำเข้าใจ ส่วนการขยายผลการรับรู้นั้น งานจิตอาสาไม่ว่าจะเป็นนักศึกษารักษาดินแดนหรือไม่ใช่ก็ตาม น่าจะปฏิบัติได้ภายใต้กรอบการดำเนินชีวิตส่วนตัวของบุคคลคนนั้นๆ ไม่ใช่การไปเฝ้าหน้าคูหาแล้วคอยบอกใครให้เลือกอย่างนั้นอย่างนี้

นอกจากนี้ พันเอก วินธัย ยังกล่าวว่า ส่วนการแสดงความเห็นภายใต้กรอบของกฎหมายก็ไม่มีสัญญาณที่จะไปปิดกั้นอะไร  นอกจากการทำความเข้าใจโต้ความเห็นที่บิดเบือน หรือมีเจตนาแอบแฝง ซึ่งมั่นใจว่ายังไม่มีเรื่องไหนที่จะดูไปขัดกับหลักการพื้นฐานของการทำประชามติ และประชาชนยังคงได้รับโอกาสร่วมและตัดสินใจได้โดยอิสระภายใต้กรอบและวิธีการที่เหมาะสม


พ.อ.วินธัยติงอย่าบิดเบือนเนื้อหาร่างรธน.

พันเอก วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงกรณีที่มีการบรรจุเนื้อหาทุกเรื่องที่ต้องการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้เข้าใจว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. อยู่ระหว่างการรับฟัง เพื่อที่จะอธิบายด้วยเหตุผล ซึ่งในหลาย ๆ ประเด็น สามารถสร้างความกระจ่างสังคมได้เป็นอย่างดี ซึ่งความกังวลของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญนั้น เหมือนจะเน้นเฉพาะการเข้าสู่อำนาจและการรักษาหรืออยู่ในอำนาจเป็นหลัก จึงเป็นไปได้ที่พยายามไม่เห็นด้วยในแนวคิดการสร้างความเข็มแข็งให้องค์กรอิสระอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่องค์กรอิสระนั้น ๆ เป็นกลไกที่มีประชาชนมีส่วนร่วมได้โดยตรง และเสมือนเป็นคนร่วมขับเคลื่อนด้วย

ส่วนเรื่องที่มีการกล่าวว่าหากร่างรัฐธรรมนูญนี้บังคับใช้ ผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดคือเครือข่ายอำนาจของ คสช. เชื่อว่ายังเป็นเพียงสมมุติฐานเชิงหวาดระแวง แบบขาดข้อพิสูจน์ ที่สามารถจับต้องได้ ส่วนกรณีที่มีการกล่าวว่ารัฐบาลกำลังร่างกติกาที่เห็นชัดว่า อำนาจสูงสุดไม่ได้อยู่ในมือประชาชนนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างบิดเบือน เพราะเท่าที่ได้รับข้อมูลมาในร่างรัฐธรรมนูญนี้ ได้เขียนเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนไว้มากกว่าเดิม  ยืนยันไม่ใช่แค่อำนาจสูงสุดจะอยู่กับประชาชนที่ได้รับเลือกเท่านั้น แต่ยังจะอยู่กับประชาชนในส่วนที่เหลืออีกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการใช้เพื่อการตรวจสอบถ่วงดุล และการรักษาผลประโยชน์ประเทศ


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook