อาคาร 10 ชั้นถูกไฟไหม้ ซ.นราธวิาส 18 ยังแข็งแรง-ไม่ถล่ม เผยต้นเพลิงไม่ใช่ห้องพระตามข่าว

อาคาร 10 ชั้นถูกไฟไหม้ ซ.นราธวิาส 18 ยังแข็งแรง-ไม่ถล่ม เผยต้นเพลิงไม่ใช่ห้องพระตามข่าว

อาคาร 10 ชั้นถูกไฟไหม้ ซ.นราธวิาส 18 ยังแข็งแรง-ไม่ถล่ม เผยต้นเพลิงไม่ใช่ห้องพระตามข่าว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 7 ก.พ. เมื่อเวลา 14.45 น. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ (วสท.) เปิดเผยภายหลังจากการลงพื้นที่สำรวจสภาพอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นอาคารที่พักอาศัยสูง 10 ชั้น เลขที่ 2204/5 ภายในซอยนราธิวาส 18 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เขตยานนาวา กทม.ว่า จากการสำรวจอาคารดังกล่าว พบว่า จุดเกิดเหตุเพลิงไหม้น่าจะเริ่มต้นที่ชั้น 3 ของอาคาร ใกล้เคียงบริเวณห้องครัว ไม่ใช่น่าจะใช่บริเวณห้องพระ ตามที่มีการคาดการณ์ไว้

เนื่องจากภายในห้องพระบริเวณโต๊ะหมู่บูชา พระพุทธรูป และหนังสือสวดมนต์ ไม่ได้รับความเสียงหายจากเพลิงไหม้มากนัก พระพุทธรูป ยังคงสภาพเดิม ไม่ได้อยู่ในลักษณะหล่อละลาย โต๊ะหมู่บูชา และหนังสือสวดมนต์ยังอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ จึงคาดว่าจุดต้นเพลิงไม่น่าจะเกิดจากห้องพระ แต่คาดว่าจะเกิดใกล้กับห้องครัวมากกว่า เพราะบริเวณดังกล่าวมีลักษณะของความเสียหายมากกว่า ซึ่งเมื่อเพลิงลุกไหม้จากชั้น 3 แล้ว ได้ลามผ่านทางช่องบันได ไปชั้นอื่นๆ โดยบริเวณชั้น 3 4 5 และ 6 ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ค่อนข้างมาก

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงสร้างการรับน้ำหนัก อาทิ คาน และเสา ยังอยู่ในสภาพที่ดี ไม่พบการหลุดร่อนของปูน และการบิดเบี้ยวของตัวเสา หรือคานรับน้ำหนัก บริเวณพื้นก็ยังสามารถใช้การได้ตามปกติ ส่วนบริเวณชั้น 7 และ 8 พบว่า ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ตัวคานการรับน้ำหนัก และเสามีปูนกระเทาะออกมา ส่วนบริเวณพื้นของทั้ง 2 ชั้น ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนไม่สามารถรองรับน้ำได้ตามอีก เพราะเมื่อทีมสำรวจได้เดินสำรวจบริเวณพื้นของทั้ง 2 ชั้น จะมีลักษณะการยุบตัวของพื้นไปสู่ชั้นล่าง

นายสุชัชวีร์ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาตามหลักวิศวกรรม พบว่า บริเวณชั้น 1 และ 2 อยู่สภาพสมบูรณ์ ยังคงสามารถใช้การได้ตามปกติ เนื่องจากไม่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้แต่อย่างใด ส่วนบริเวณชั้น 3 ที่เป็นจุดต้นเพลิง ชั้น 4 5 และ 6 ได้รับเสียหายในระดับที่ต้องเฝ้าระวัง ต้องมีเจ้าหน้าที่มาตรวจโครงสร้างการรับน้ำหนัก คาน และเสา อีกรอบ หลังจากนั้นก็สามารถทำการปรับปรุงแต่ละชั้นได้ตามปกติ

ส่วนบริเวณชั้น 7 เป็นต้นไปที่ได้รับความเสียหายในระดับรุนแรง ตัวโครงสร้างการรับน้ำหนัก พื้นในแต่ละชั้น ถือว่าได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงต้องมีการรื้อและทุบทำใหม่ทั้งหมด แต่เมื่อดูโครงสร้างอาคารทั้งภาพรวม พบว่า โครงสร้างอาคารยังคงมีความแข็งแรง ไม่มีความเสี่ยงที่จะทล่มลงมา ซึ่งหากมีการปรับปรุงอาคารในแต่ละชั้นที่ได้รับความเสียหายให้กลับมาอยู่ให้สภาพสมบูรณ์ ก็สามารถใช้อาคารได้ตามปกติ โดยไม่จำเป็นต้องทุบทิ้งทั้งอาคาร

"อาคารดังกล่าว ถือเป็นอาคารที่สร้างมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งถือเป็นช่วงที่กฎหมายควบคุมอาคาร ยังไม่บังคับใช้เรื่องการติดตั้งระบบควบคุมเพลิงไหม้ภายในอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 27 เมตรเป็นต้นไป ดังนั้น อาคารดังกล่าวที่มีความสูงประมาณ 30 เมตร จึงไม่มีติดตั้งระบบควบคุมเพลิงไหม้ ทางหนีไฟ ระบบน้ำสปริงเกอร์ ทำให้เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นจึงได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่ก็ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะตัวอาคารดังกล่าวมีการก่อสร้างก่อนที่กฎหมายจะบังคับใช้ จึงอยากฝากเตือนเจ้าของอาคารสูง ที่ไม่มีการติดตั้งระบบควบคุมเพลิงไหม้ หันมาให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ด้วย ซึ่งหากเจ้าของอาคาร่ท่านใดสนใจที่จะติดตั้งระบบควบคุมเพลิงไหม้ ทางวสท.ก็มีเจ้าหน้าที่ที่จะให้คำปรึกษาด้านนี้โดยตรง" นายสุชัชวีร์ กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook