อุบลฯเฝ้าระวัง‘ไวรัสซิกา’เน้นมาตรการเข้มอุบล

อุบลฯเฝ้าระวัง‘ไวรัสซิกา’เน้นมาตรการเข้มอุบล

อุบลฯเฝ้าระวัง‘ไวรัสซิกา’เน้นมาตรการเข้มอุบล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จ.อุบลฯ เฝ้าระวัง ‘ไวรัสซิกา’ เน้นมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค ระบุโรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคที่ต้องแจ้งความ

นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 10 นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุข และนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันแถลง เตรียมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา และให้คำแนะนำประชาชน เน้นมาตรการเก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ (3 เก็บ 3 โรค) 

นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 10 กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ 2 ฉบับ คือ ประกาศ สธ. เรื่องเพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ โดยระบุว่า อาการสำคัญ ได้แก่ มีอาการไข้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตาแดง บางรายอาจมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย โดยทั่วไปจะมีอาการป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ และประกาศ สธ. เรื่องเพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ ระบุว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคที่ต้องแจ้งความ พร้อมแถลงมาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เน้นการดูแลใน 4 ระบบ ได้แก่ 1.เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 2.เฝ้าระวังทางกีฏวิทยา 3.เฝ้าระวังทารกแรกเกิด และ 4.เฝ้าระวังกลุ่มอาการทางประสาท รวมถึงการเตรียมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว หากพบประชาชนมีอาการป่วยที่เข้าได้กับโรคซิกาเป็นกลุ่มก้อน ก็จะให้ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเข้าควบคุมทันที และจะมีการกำชับให้ด่านคุมโรคระหว่างประเทศทำงานให้เข้มข้นขึ้นอีก


ทั้งนี้ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ยังไม่มีวัคซีนและยังไม่มียารักษาเฉพาะ จึงต้องรักษาตามอาการ คำแนะนำสำหรับประชาชน คือ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเน้นใช้หลัก 3 เก็บ ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะ รอบ ๆ บ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย และ 3.เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริเวณครัวเรือน โรงเรียน เขตก่อสร้าง สถานีขนส่ง และหอพักรอบมหาวิทยาลัย 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook