นักวิชาการภูมิศาสตร์มช.ระบุไทยมีโอกาสเผชิญ คลื่นความร้อน

นักวิชาการภูมิศาสตร์มช.ระบุไทยมีโอกาสเผชิญ คลื่นความร้อน

นักวิชาการภูมิศาสตร์มช.ระบุไทยมีโอกาสเผชิญ คลื่นความร้อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการภูมิศาสตร์ มช. ระบุไทยมีโอกาสเผชิญ คลื่นความร้อน เหมือนแดนจิงโจ้ แต่โอกาสน้อย

นายชาคริต โชติอมรศักดิ์ นักวิชาการภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) กล่าวถึงกรณีคลื่นความร้อน (heat wave) ที่ประเทศออสเตรเลีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับผลกระทบจำนวนมาก ทั้งนี้ จากกรณีดังกล่าว สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มว่าอากาศจะร้อนขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้า แต่จะไม่ใช่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในลักษณะที่สูงขึ้นแบบเฉียบพลันรุนแรง หากเทียบกับปีที่ผ่าน ๆมา อย่างไรก็ตาม โอกาสจะเกิดภาวะคลื่นความร้อนเหมือนออสเตรเลีย ในประเทศไทยนั้น มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกิดขึ้นหลายอย่างประจวบเหมาะพร้อมกัน ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ

ทั้งนี้ การที่จะเกิดคลื่นความร้อนอย่างที่ประเทศออสเตรเลีย จะต้องมีปัจจัยเอื้อคือเกิดสภาพอากาศที่ร้อนจัดอุณหภูมิสูงปกคลุมภาคพื้นทวีปมากกว่า 42 องศาเซลเซียสติดต่อกันนานหลายวัน ประกอบกับต้องมีความชื้นสูง จากทะเลจีนใต้ หรืออันดามันมา แผ่เข้ามาปกคลุม ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นความร้อนในพื้นที่นั้น ๆได้ ลักษณะของคลื่นความร้อนคือ เหมือนกับว่า เรานำผ้าห่มที่ร้อนจัดมาปกคลุมบรรยากาศไว้ และหากเกิดภาวะดังกล่าว สิ่งที่ประชาชนจะแก้ปัญหาได้ในขณะนั้นคือ หลบเข้าไปอยู่ในสภาพที่ปรับอากาศ เช่นห้องแอร์ที่มีการควบคุมอุณหภูมิคงที่ ให้เย็นลงมา ก็จะทำให้สภาพร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้

นายชาคริต กล่าวอีกว่า ขณะนี้นักวิชาการจากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ได้มีการร่วมกันทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้แบบจำลอง ซึ่งมีการทำแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ระยะเวลาในการศึกษารวม 2 ปี

ขณะนี้ได้ศึกษาวิจัยไปแล้วปีครึ่ง เหลือระยะเวลาอีกครึ่งปี จึงจะได้ผลสรุปที่ชัดเจน ซึ่งหากการศึกษาแล้วเสร็จ จะสามารถบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 30 ปีข้างหน้าตั้งแต่ พ.ศ.2553-2583 ได้ว่าจะมีอุณหภูมิสูงสุดต่ำสุดเท่าไหร่ ค่าอากาศจะร้อนมากขึ้นหรือไม่ ความแปรปรวนของฝนจะเป็นอย่างไรฯลฯ ซึ่งขณะนี้ทีมนักวิชาการอยู่ระหว่างศึกษายังไม่ได้ผลสรุป

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook