ธปท.ชี้จีดีพี51โต3-3.5% ห่วงQ1ปีนี้อาจติดลบ0.5-2%

ธปท.ชี้จีดีพี51โต3-3.5% ห่วงQ1ปีนี้อาจติดลบ0.5-2%

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ธปท.สรุปภาพเศรษฐกิจปี 2551 ขยายตัว 3.0-3.50 % ชะลอตัวจากปี 2550 ชี้ไตรมาส 4 จีดีพีติดลบ 0.5-2.0% แต่ไตรมาสแรกปีนี้เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนอาจติดลบมากกว่า 0.5-2.0% เหตุชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก ขณะที่ดุลการค้าปี 2551 ยังเห็นเกินดุล 237 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆฆ..

ดร.อมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในปี 2551 ว่า เศรษฐกิจเฉลี่ยทั้งปีมีความเป็นไปได้ถึง 15.9% ที่จะขยายตัว 3.0 " 3.5% ซึ่งโดยรวมชะลอจากปีก่อน (จีดีพีปี 2550 อยู่ที่ 4.8%) โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 ของปีที่มีความเป็นไปได้ถึง 59% ที่จีดีพีจะหดตัว 0.5 " 2.0 % จากปัจจัยลบทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ปี 2552 หากเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามีโอกาสที่จะหดตัวมากกว่าช่วงไตรมาส 4 ปี 2551 ที่คาดว่าจะหดตัว 0.5 " 2.0% ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานที่สูงในปีก่อน และปัจจัยด้านการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ แต่หากพิจารณาเทียบเป็นรายไตรมาส มีโอกาสที่เศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2551 จะหดตัวถึง 3.0% เมื่อเทียบจากไตรมาส 3 ปีเดียวกัน และเศรษฐกิจไตรมาส 1 ปี 2552 มีโอกาสจะขยายตัวเป็นบวก เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีก่อน ภายใต้ปัจจัยบวกที่นโยบายการเงินเป็นช่วงขาลง และภาครัฐสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ถึง 94%

ในส่วนของดัชนีชี้เศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2551 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 5.3% ชะลอลงจาก 8.2% ในปีก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดเครื่องหนัง สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับลดลงจาก 73.9% ในปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 69.3% ขณะที่ในเดือนธันวาคม 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หดตัวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 18.8% ส่วนภาคการท่องเที่ยวทั้งปีขยายตัว 0.5% เมื่อเทียบจากปีก่อน จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ยืดเยื้อ กระทั่งนำไปสู่การปิดสนามปิดสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง

อย่างไรก็ดีผลผลิตและราคาพืชผลสำคัญที่ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบจากปีก่อน โดยขยายตัว 9.8% และ 22.0% ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.9% และ 15.3% ตามลำดับ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงถึง 34.0% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 17.5% ในปีก่อน ด้านดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3.6% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี เครื่องชี้เกือบทุกตัวขยายตัวสูง โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และดัชนีหมวดยานยนต์ ขณะที่ดัชนีหมวดเชื้อเพลิงชะลอตัว เนื่องจากราคาขายปลีกน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายดัชนีปรับลดลงมาก

ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมขยายตัว 2.9% จากปีก่อนหน้า ตามการขยายตัวของเครื่องชี้หมวดเครื่องจักร และอุปกรณ์เป็นหลัก โดยการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ขยายตัวต่อเนื่องทั้งปี ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง เมื่อรวมกับเครื่องชี้หมวดก่อสร้างที่หดตัวต่อเนื่องทั้งปี จึงส่งผลให้ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 4 หดตัวลง 2.6%

สำหรับภาพรวมการส่งออกและการนำเข้าขยายตัวในเกณฑ์ดีตลอดช่วง 3 ไตรมาสแรก แต่การส่งออกกลับมาหดตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ขณะที่การนำเข้าชะลอตัวลงมากเช่นกันตามการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉลี่ยทั้งปีการส่งออกขยายตัว 16.8% และการนำเข้าขยายตัว 26.4% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยดุลการค้าเกินดุลจำนวน 237 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงระดับสมดุล ซึ่งเมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุล 416 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันเป็นผลจากการลดลงของรายรับด้านการท่องเที่ยวและการส่งกลับกำไรและเงินปันผลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับจุดสมดุล

ทางด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นจากปีก่อนที่ระดับ 5.5% และ 2.4% ตามลำดับ จากราคาพลังงานและอาหารสดที่เร่งตัวขึ้นมาก ขณะที่อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน และการจ้างงานในภาคการผลิตที่ยังคงหดตัว โดยอัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปี 2551 อยู่ที่ 1.4% ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 1.1%

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook