กมธ.ปฏิรูปด้านสังคมสัมมนาปัญหาแรงงาน

กมธ.ปฏิรูปด้านสังคมสัมมนาปัญหาแรงงาน

กมธ.ปฏิรูปด้านสังคมสัมมนาปัญหาแรงงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กมธ.ขับเคลื่อนปฏิรูปด้านสังคม จัดสัมมนาสถานการณ์แรงงานไทยในสายตาประชาคมโลก หวัง กระตุ้นแก้ปัญหาเรียกคืนความเชื่อมั่นการลงทุน นักวิชาการแนะคุ้มครองแรงงานประมง ไม่ให้เป็นแรงงานบังคับ กวดขันไม่ให้มีแรงงานเด็ก

คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาเรื่อง “สถานการณ์แรงงานไทยในสายตาประชาคมโลก” ที่อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีหลักการและเหตุผล เนื่องด้วยสังคมไทยเผชิญกับสภาวะการขยายตัวของจำนวนแรงงานมากขึ้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2558 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนแรงงานรวมทั้งสิ้น 38.4 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานในระบบ 16.3 ล้านคน และแรงงานนอกระบบ 22.1 ล้านคน ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แรงงานมีปัญหาการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน การเข้าไม่ถึงสิทธิคุ้มครองต่าง ๆ และปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งสภาพการจ้างงานเป็นผลจากนโยบายการพัฒนาประเทศที่ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้แรงงานที่ทำงานอยู่ในภาคการเกษตรในชนบทอพยพเข้ามาทำงานในเมืองมาก

ขึ้น ขณะเดียวกัน การจ้างงานในอุตสาหกรรมประมง โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ พบว่า มีการละเมิดสิทธิแรงงานจำนวนไม่น้อย ทำให้ประเทศไทยถูกจับตาจากนานาชาติ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ถูกเพ่งเล็ง และการคว่ำบาตรทางการค้า 

โดย ศาสตราจารย์สุภางค์ ดร.จันทวานิช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่น สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมอภิปรายในงานสัมมนาเรื่อง “สถานการณ์แรงงานไทยในสายตาประชาคมโลก” ว่า สภาพแรงงานบังคับตามตัวชี้วัดของ ILO พบว่า การละเมิดอันเนื่องมาจากความเปราะบาง โดยไม่มีเอกสารถึงร้อย 55.3 นายจ้างไม่พาไปจดทะเบียน ร้อยละ 16.8 การหลอกลวงเกี่ยวกับลักษณะงานที่จะต้องทำร้อยละ 4.9 ส่วนร้อยละ 3.8 ใช้ความรุนแรงต่อร่างกายที่มีการทุบตีขณะอยู่ในเรือ 

นอกจากนี้ ยังมีตัวชี้วัดจากการข่มขู่ การค้างจ่ายค่าจ้าง แรงงานขัดหนี้ด้วยการทำงานเพื่อใช้หนี้จากเงินที่รับล่วงหน้า ถูกขาย หรือส่งต่อให้เรือลำอื่นโดยไม่เต็มใจ รวมถึงสภาพการทำงานและสภาพการดำรงชีพที่น้ำดื่ม อาหารไม่เพียงพอ การได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บในเรือ ดังนั้น จึงขอเสนอแนะให้คุ้มครองแรงงานประมงไม่ให้เป็นแรงงานบังคับ ต้องแทรงแซงและจับกุมขบวนการนายหน้า การให้แรงงานร้องเรียนได้ขณะอยู่ในเรือ การให้เรือทุกลำเป็นสมาชิกสมาคมประมงนอกน่านน้ำ และสมาคมประมงแห่งประเทศไทย การกวดขันไม่ให้มีแรงงานเด็ก และตรวจแรงงานประมงโดยกระทรวงแรงงาน

ทางด้าน รองศาสตราจารย์แล ดิลกวิทยรัตน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม อภิปรายในงานสัมมนาเรื่อง “สถานการณ์แรงงานไทยในสายตาประชาคมโลก” โดยตั้งคำถามไปยังรัฐบาลว่า สิทธิแรงงานจะได้รับการแก้ไขหรือไม่ หากไม่ไปกระทบต่อผลประโยชน์ของนายทุน หรือการค้าระหว่างประเทศ เพราะการแก้ไขปัญหาควรยึดประโยชน์ของแรงงานเป็นหลัก และปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานนั้น เกิดขึ้นกับแรงงานทุกกลุ่ม ทั้งแรงงานในระบบ นอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจะต้องให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบเข้าไปมีส่วนร่วมในการสะท้อนปัญหา และออกแบบแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ด้าน นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน มองว่า สิทธิแรงงานต้องมีอยู่ซึ่งอาจแตกต่างออกไป การคุ้มครองแรงงานเพียงพอหรือไม่ และการบังคับใช้กฎหมายในปัจจุบันเป็นอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยั่งยืน จึงต้องปรับสถานะแรงงานต่างด้าวเพื่อการเข้าถึงสิทธิ รวมถึงวางมาตรฐานการคุ้มครอง ทำให้สภาพเงื่อนไขการทำงานเป็นที่ยอมรับในทุกอาชีพ ไม่ใช่แค่ประมง


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook