วิษณุบอกนปช.ผุดศูนย์จับโกงประชามติได้

วิษณุบอกนปช.ผุดศูนย์จับโกงประชามติได้

วิษณุบอกนปช.ผุดศูนย์จับโกงประชามติได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'วิษณุ' ไม่กังวล นปช.ผุดศูนย์จับโกงประชามติ ชี้ทำได้ หนุนเปิดเวทีรับฟังประชาชน ไม่โยงร่าง รธน.

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณที่ กลุ่ม นปช. เตรียมเปิดศูนย์จับโกงประชามติ ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ ว่า สามารถทำได้และไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการตั้งศูนย์ในลักษณะนี้เช่นกัน แต่ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนและรายงานให้ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับทราบด้วย ทั้งนี้ ยังกล่าวอีกว่า การออกเสียงประชามติไม่ใช่การเดิมพัน และจะมาล้มกันได้ เนื่องจากแตกต่างจากการเลือกตั้ง ที่จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่หากเกิดปัญหาขึ้น แต่การออกเสียงประชามตินั้น มีแค่รับ และไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น

นอกจากนี้ นายวิษณุ ยังระบุว่า รัฐบาลเห็นด้วย หากจะมีการเปิดเวทีเพื่อรับฟังเสียงของประชาชน เหมือนกับการเปิดเวทีรับฟังเสียงจากพรรคการเมือง เมื่อช่วงที่ผ่านมา ซึ่งไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญ แต่จะเป็นเรื่องอื่นๆ ทั่วไป และถือเป็นเรื่องที่ดีที่มีเวทีแบบนี้และเป็นบรรยากาศที่ดีมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน ส่วนกรณีที่พรรคการเมือง เสนอให้มีการผ่อนปรน พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะพิจารณา

นายวิษณุ ยังกล่าวถึงความคืบหน้า 17 คดีสำคัญที่มีการฟ้องร้องมูลค่าหลักพันล้านขึ้นไป อาทิ คดีรับจำนำข้าวแบบ G2G คดีเครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น คดีบริษัทไร่ส้ม คดี Dty Free คดีฟ้องร้องบริษัทฟิลลิป มอริส คดี Water brown เป็นต้น ซึ่งคดีต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นนโยบายประชานิยมที่ดำเนินการไม่สำเร็จ และเกิดปัญหาการฟ้องร้องที่มีมูลค่ามาก และเกือบเท่ากับงบประมาณของแผ่นดิน ส่วนโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน นั้น ได้มอบให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ให้ดำเนินการต่อตามอายุความของคดี

ทั้งนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี เห็นชอบลงนามสัตยาบัน ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย (พ.ร.บ.อุ้มหาย) ตามที่ กระทรวงยุติธรรม เสนอมา เนื่องจากว่า ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาการต่อต้านการทรมาน ตั้งแต่เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ ได้มอบให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทบทวนข้อกฎหมายเพื่อให้รัดกุม ไม่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อนส่งให้ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook