รายแรก จับชาวจีนให้อาหารปลาที่เกาะไข่ ประกันตัว 1 แสน

รายแรก จับชาวจีนให้อาหารปลาที่เกาะไข่ ประกันตัว 1 แสน

รายแรก จับชาวจีนให้อาหารปลาที่เกาะไข่ ประกันตัว 1 แสน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(26 พ.ค.) เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ของ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า ในวันนี้มีนักท่องเที่ยวชาวจีน ถูกจับหลังให้อาหารปลาในทะเล ที่เกาะไข่ จ.พังงา และต้องใช้เงิน 1 แสนบาทในการประกันตัว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็น พื้นที่ประกาศ มาตรา 17 พรบ.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ โดยมีข้อความดังนี้ 

"เป็นวันที่ต้องบันทึกไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลฯ เข้าตรวจเกาะไข่ พังงา พื้นที่ประกาศ ม.17 พบนักท่องเที่ยวต่างชาติทำผิดกฎหมาย โดยเลี้ยงอาหารปลา จึงเข้าจับกุม นำส่งโรงพักที่เกาะยาว ก่อนสุดท้ายประกันตัวไปด้วยวงเงิน 100,000 บาท ‪#‎เจอเป็นจับ ‪#‎เจ้าหน้าที่เอาจริง ‪#‎ขอชื่นชมครับ ‪#‎ไกด์ต้องช่วยกันดูแลลูกทัวร์ไม่งั้นเดือดร้อนแน่

รายละเอียดการจับกุมของเจ้าหน้าที่กรมทะเลฯ ตามที่มีผู้ส่งให้ (ผมในข้อความไม่ใช่ อาจารย์ธรณ์ นะครับ)

ผู้ถูกจับ นักท่องเที่ยวชาวจีนคนนี้ ถูกนำไปสอบสวนที่ สภ.เกาะยาว ตั้งแต่บ่ายถึงค่ำ ตลอดเวลา ไกด์พยายามขอเคลียร์ให้ปล่อยตัวตลอด ซึ่งเรื่องนี้ อ.ธรณ์ เคยพูดว่าหากคุณจับเขาแล้วเขาจะฟ้องสถานทูตจีน คุณจะกล้าจับมั๊ย ผมว่าเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายบังเกิดผล ผมกล้า

ในการจับกุมครั้งนี้ ผมได้สั่งการทางโทรฯจากเรือใหญ่ โดยมี ผอ.สุชาติ เป็น หน.ชุด พุ่งเข้าหาเป้าหมายด้วยเรือยาง จึงลงชื่อผู้ทำการจับกุมตามความเป็นจริงในขณะเข้าควบคุม เพื่อป้องกันการโต้แย้ง

ผมได้ย้ำ จนท.ตลอดเวลาว่าให้จับกุม ควบคุม ดำเนินคดี ต่อผู้ถูกจับด้วยหลักมนุษยธรรม ให้เกียรติในความเป็นมนุษย์ เพราะเห็นการจับกุมนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจเป็นเรื่องที่อ่อนไหว ต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้

ขณะควบคุมตัวผู้ถูกจับส่ง สภ.ผู้ถูกจับไม่ได้ใส่เสื้อ เห็นว่าตัวเพิ่งเปียกน้ำและโดนลมทะเลคงหนาว จนท.เลยเอาเสื้อยืดให้ใส่และยกให้ไปเลย เขากลับขึ้นภูเก็ตไม่ได้เพราะค่ำมืดไม่มีเรือแล้ว ดีที่เราพาไกด์ไปด้วยเลยมีคนคอยดูแลหาอาหารที่พัก หลังจากได้ประกันตัวด้วยเงินสด 100,000 บาท"

ทั้งนี้ มาตรา 17 อยู่ในพรบ.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ มีไว้เพื่อให้อำนาจกรมทะเล ในการจัดการ "พื้นที่วิกฤต" และถูกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกาะไข่เป็นที่แรก

โดยมาตราดังกล่าว ครอบคลุมทั้งการขึ้นทะเบียนเรือที่เข้ามาใช้ประโยชน์ การวางทุ่นจอดเรือ วางทุ่นไข่ปลากำหนดเขต ฯลฯ ที่เป็นส่วนในการบริหารจัดการ

และมีข้อห้ามต่างๆ เช่น ให้อาหารปลาหรือสัตว์น้ำ จับปลาหรือสัตว์น้ำ ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง ทิ้งของเสีย เล่นเจ็ตสกี ฯลฯ

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Thon Thamrongnawasawat

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook