อ.จุฬาฯจี้รัฐดูแลม.นอกระบบ

อ.จุฬาฯจี้รัฐดูแลม.นอกระบบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รศ.ดร.กัลยา วานิชย์บัญชา ผอ.ศูนย์ให้คำปรึกษาและวิจัยทางสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าคณะทำงานโครงการศึกษาความคิดเห็นและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยน/ไม่เปลี่ยนสถานภาพของข้าราชการสายวิชาการและนักวิจัยสายช่วยวิชาการ เปิดเผยว่า เนื่องจาก จุฬาฯ เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐมาครบ 1 ปี ในวันที่ 6 ก.พ.2552 นี้ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยและ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ จึงได้มอบหมายให้ทำการวิจัยเพื่อหาข้อมูลสาเหตุของการเปลี่ยน/ไม่เปลี่ยนสถานภาพของบุคลากร มีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการวิจัยเชิงประมาณ

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยน/ไม่เปลี่ยน สถานภาพของบุคลากร ได้แก่ 1.บุคคลากรพอใจระบบสวัสดิการการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย เช่น สิทธิรักษาพยาบาล ซึ่ง พ.ร.บ.จุฬาฯ ระบุว่าเมื่อทำงานครบ 10 ปีจะได้สวัสดิการบำนาญ เพื่อเป็นแรงจูงใจ โดยหากเป็นระบบราชการเดิม จะต้องมีอายุราชการ 25 ปี จึงได้สวัสดิการบำนาญ 2.ส่วนค่าตอบแทน ได้รับไม่ตรงตามความต้องการ ได้เพียง 1.3 เท่า จึงรอดูท่าทีสถานการณ์ก่อน และ 3. ระบบประเมินผลการทำงานของการเป็นพนักงานหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่บุคลากรให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ซึ่งเรื่องนี้ทางนายกสภาฯ และอธิการบดีฯ ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงระบบการประเมินโดยเฉพาะ ให้เป็นระบบ มีความชัดเจน เป็นธรรม โปร่งใสสะท้อนการทำงานของบุคลากรอย่างแท้จริง และหลังจากนี้ก็จะทำการวิจัยต่อเนื่องว่าเมื่อมีการปรับระบบต่างๆ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างไรหรือไม่

รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากการรับฟังการนำเสนอผลการวิจัย ขณะนี้ระบบสวัสดิการของพนักงานมหาวิทยาลัยของจุฬาฯ ค่อนข้างดีและบุคลากรรู้สึกพอใจ ส่วนกระบวนการประเมินผลการทำงานมีความจริงจังที่จะทำให้เป็นระบบ แต่มีข้อสังเกตว่า อาจารย์รุ่นใหม่อายุ 31-40 ปี ไม่สนใจเปลี่ยนสถานภาพ มีแต่อาจารย์ที่อายุค่อนข้างมากที่เปลี่ยนสถานภาพ

ภาพรวมรัฐบาลนี้ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนต่อการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จึงทำให้เรื่องนี้หยุดชะงัก ขณะที่มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้ว 7 แห่ง ก็ได้รับงบประมาณน้อยลง อยากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ประกาศชัดเจนว่า จะเอาอย่างไรกับการออกนอกระบ จะสนับสนุนหรือไม่ หากมีปัญหาเรื่องเม็ดเงินจากภาวะเศรษฐกิจ ขอให้บอกมหาวิทยาลัยต่างๆ จะได้กำหนดทิศทางการทำงานได้ถูกต้องอาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวอีกว่า การที่มหาวิทยาลัยไม่ได้เงินงบประมาณตามที่เคยให้ไว้ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยหันไปรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพื่อหารายได้เพิ่ม และจำนวนนักศึกษาที่มากขึ้น ก็จะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายรายหัวจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มากขึ้น ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าจะกลายเป็นธุรกิจการศึกษา และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาด้วย

คลี่เคล็ดจีบสาวในคุกตำรับเอ็ม แรมโบ้

ฮือฮา...!! อีกครั้ง เมื่อนักศึกษาสาวปริญญาโทของมหาวิทยาลัยดัง เข้าแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และ สตรี ให้ดำเนินคดีต่อนายสุรชัย หรือคณิตศร วิวัฒนชาต หรือ เอ็ม แรมโบ้ อายุ 33 ปี อดีตนักโทษต้องคดีใช้อาวุธสงครามยิงถล่ม สน.พญาไท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook