“พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ความล้มเหลวอย่างเลวร้ายของผู้บริหาร กทม.
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ns/0/ud/406/2034198/grfyghh.jpg“พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก”  ความล้มเหลวอย่างเลวร้ายของผู้บริหาร กทม.

    “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ความล้มเหลวอย่างเลวร้ายของผู้บริหาร กทม.

    2016-07-21T20:36:07+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    น่าสงสัยยิ่งว่าเหตุใด การร้องขอและทวงถามไปยังผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เพื่อเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหา การก่อสร้างอาคารสูง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ "พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก" จึงไม่เป็นผลไม่ได้รับการเหลียวแล จนเป็นเหตุให้ รศ.วราพร สุรวดี ประธานกรรมการมูลนิธิอินสาท-สอาง วัย 80 ปี ผู้ดูแลสนับสนุนกิจการด้านต่างๆของ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ย่านบางรัก ต้องออกมา เปิดรับบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านบาท โดยขอระดมทุนรายละ 100 บาท หรือตามกำลัง เพื่อซื้อที่ดินด้านข้างพิพิธภัณฑ์

    เนื่องจากเจ้าของที่ดินดังกล่าวมีแผนสร้างตึกสูง 8 ชั้น ซึ่งจะบดบังทัศนียภาพของพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวลงอย่างสิ้นเชิง รวมถึงห่วงว่าจะส่งผลกับโครงสร้างของอาคารพิพิธภัณฑ์ซึ่งมีหลายหลัง อีกทั้งเป็นอาคารอนุรักษ์อีกด้วย จึงตัดสินใจทำจดหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อร้องขอให้ซื้อที่ดินดังกล่าว แต่ไม่เป็นผล รศ.วราพรจึงติดต่อขอซื้อที่ดินซึ่งมีราคา 40 ล้านบาท โดยนำเงินส่วนตัวมัดจำแล้ว 30 ล้านบาท มีกำหนดชำระส่วนที่เหลือภายใน 2 ก.ย.นี้

    ผู้บริหาร กทม.ผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร์ คิดอะไร? ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากน้อยเพียงใดคงสะท้อนออกมาให้คนกรุงเทพ และคนไทยได้เห็นแล้ว เรื่องที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริหาร กทม.ไม่ให้ความสำคัญกับ พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หรือรากฐานรากเหง่าของคนกรุงเทพฯ

    เรื่องที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า กทม. ไม่สนใจในเรื่องการวางผังเมืองการจัดวาง รูปแบบการก่อสร้างอาคารให้เหมาะสม เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า กทม.ไม่สนใจในเรื่องของจิตวิญญาณ ภูมิหลังของคนที่ก่อร่างสร้างเมืองมาในอดีต

    เรื่องที่เกิดขึ้นยังสะท้อนภาพรวมของอันน่ากังขาของ การบริหารงานของกทม. อีกด้วย ทั้งๆที่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เจ้าของได้มอบกรรมสิทธิ์ให้กับ กทม. ซึ่งโดยสภาพพื้นที่ ย่านบางรัก และอาคารสถาปัตยกรรมของพิพิธภัณฑ์ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ หากเจ้าของต้องการขายทรัพย์สินเหล่านั้นไปคงจะได้เงินทองจำนวนไม่น้อยเลย แต่ด้วยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ต้องการรักษาไว้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกหลาน จึงมอบกรรมสิทธิ์ให้กับกรุงเทพ

    สถานที่แห่งนี้จึงควรคู่กับการรักษาไว้เพื่อสานเจตนารมณ์ สืบทอดจิตวิญญาณของเจ้าของเดิม เพื่อเป็นมรดกของลูกหลานจะได้มีโอกาสในการเรียนรู้สืบไป การทำนุบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้มีทัศนียภาพสวยงาม เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ

    ปัจจุบัน กทม.มีงบประมาณมากมายมหาศาล ในแต่ละปี การใช้จ่ายงบประมาณในบางเรื่องบางประเด็นสร้างความสงสัยให้กับผู้คนไม่น้อยว่าคุ้มค่าคู่ควรหรือไม่ อย่างกรณี การสร้างอุโมงค์ไฟอันอื้อฉาว 39 ล้านบาท ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันทั้งเมือง ผู้ว่ากทม.ออกมายืนยันหนักแน่นว่าคุ้มค่า เป็นของขวัญที่คนกรุงเทพจะได้ร่วมฉลองกับเทศกาลสำคัญ เป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิต

    อย่างที่เราเห็นกัน อุโมงค์ไฟนั้นสร้างขึ้นมาแล้วก็รื้อไป หมดไป หายไป เหลือไว้เพียงรูปถ่ายและความทรงจำของผู้คนที่ไปชื่นชม แต่ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีของผู้คนในยุคสมัยหนึ่ง ที่ผู้คนสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน กลับไม่ได้รับความสนใจ กลับถูกปฏิเสธไม่เข้ามาจัดการแก้ไขปัญหา

    สิ่งที่เกิดขึ้น ถือเป็น เป็นความล้มเหลวอย่างเลวร้ายของผู้บริหารกรุงเทพฯประเด็นหนึ่งใช่หรือไม่.....?

    โดย เปลวไฟน้อย