สุรชัยขอดีเบตรธน.ยึดกติกาไม่ทำขัดแย้ง

สุรชัยขอดีเบตรธน.ยึดกติกาไม่ทำขัดแย้ง

สุรชัยขอดีเบตรธน.ยึดกติกาไม่ทำขัดแย้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รองประธาน สนช. คนที่ 1 'สุรชัย' ขอดีเบตร่าง รธน. ยึดกติกา ไม่ขุดปัญหาเก่ามาถกเถียงทำขัดแย้ง เร่งแจงคำถามพ่วง ปัดชี้นำ

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 กล่าวถึงการจัดเวทีดีเบตของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ว่า เป็นความคิดที่ดี ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น แต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ควบคุมเนื้อหา ซึ่งไม่ควรปล่อยให้มีการรื้อฟื้นปัญหาในอดีตมาถกเถียง โดยทุกฝ่ายควรเคารพความคิดเห็น กติกาของกันและกัน พร้อมเชื่อว่าการเปิดเวทีพูดคุยเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย จะนำไปประกอบการตัดสินใจในการออกเสียงประชามติด้วยตัวเอง

ส่วนการทำความเข้าใจเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามเพิ่มเติมประชามติให้กับประชาชนในช่วงโค้งสุดท้ายนั้นได้กำหนดแผนการทำความเข้าใจให้เข้าถึงและครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่รับผิดชอบ โดยคณะอนุกรรมการดำเนินการเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ประเด็นที่สมควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการออกเสียงประชามติเพิ่มเติมในกรุงเทพมหานคร พยายามให้ทั่วถึง 50 เขต โดยในวันพรุ่งนี้จะจัดขึ้นอีก 3 เวที

ขณะเดียวกัน นายสุรชัย ย้ำว่า การเปิดเวทีของ สนช. เพื่อเสนอเป็นแนวทางการตัดสินใจ มีเป้าหมายสำคัญคือ การสร้างความเข้าใจในรูปแบบของสาระสำคัญตามข้อเท็จจริง ไม่ได้ชี้นำแต่อย่างใด


สมชัยมอบสิทธิ์ขาดให้ThaiPBSดูเชิญแขกดีเบต

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า จากการที่ได้รับการประสานจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า กรธ. จะไม่ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญทุกรายการ ทั้งในนามส่วนตัว หรือในฐานะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ นั้น ตนเองจึงได้ประสานไปยัง ไทยพีบีเอส ให้ดำเนินการจัดรายการดังกล่าวได้เหมือนเดิม โดยขอให้เชิญ 2 ฝ่าย มาร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน และไทยพีบีเอส สามารถพิจารณาคัดเลือกผู้ร่วมรายการได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องนำข้อเสนอจากการกลั่นกรองรายชื่อ ที่มีการตัดออก 5 รายชื่อเดิม มาคำนึงถึงอีก

ทั้งนี้ นายสมชัย ยังกล่าวด้วยว่า การที่ไม่มี กรธ. มาร่วม เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะการชี้แจงเนื้อหาจากฝ่ายเห็นด้วย อาจไม่ดีเท่า กรธ. แจงด้วยตนเอง



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook