อุดมยันร่างรธน.ไม่ตัดโครงการประโยชน์ต่อปชช.

อุดมยันร่างรธน.ไม่ตัดโครงการประโยชน์ต่อปชช.

อุดมยันร่างรธน.ไม่ตัดโครงการประโยชน์ต่อปชช.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'อุดม' ยัน ร่างรัฐธรรมนูญไม่ตัดโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน พร้อมเน้นให้สิทธิต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น

นายอุดม รัฐอมฤต กรรการร่างรัฐธรรมนูญ บรรยายในหัวข้อ "ความคาดหวังในทิศทางการเมืองไทยใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" ในการสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ..... ประเด็นคำถามเพิ่มเติมและกระบวนการออกเสียงประชามติ ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเป็นการเน้นให้สิทธิของประชาชนเพิ่มมากขึ้น ทั้งการเข้าถึงการศึกษา โดย กรธ. ได้เขียนการศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ 12 ปี ซึ่งเป็นรับรองขั้นต่ำภาคยังคับ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในก็รัฐธรรมนูญบอกว่า รัฐต้องสร้างกองทุนเพื่อสนับสนุนให้เรียนได้ ซึ่งหมายความว่า ยังอยู่ในความคุ้มครองของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการเข้าถึงสุขอนามัย สิทธิเสรีภาพตั้งแต่ เด็กที่ยังไม่เกิด ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ต้องได้รับการดูแล จนไปถึงผู้สูงอายุ พร้อมยืนยันว่า ในรัฐธรรมนูฐฉบับนี้ ไม่มีการตัดโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน มีแต่ต้องดูแลให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ อะไรก็ตามที่กฎหมายไม่ได้ห้าม ไม่ไปขัดต่อสิทธิของคนอื่น ประชาชนก็สามรถทำได้ทั้งหมด 

นายอุดม ยังกล่าวอีกว่า ระบบการเลือกตั้งบัตรเดียว เป็นระบบที่มีคุณภาพและเป็นกลางที่สุด การปฏิรูปประเทศโดยแผนยุทธศาสตร์ชาติ จะต้องแก้ด้วยการศึกษาและกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งการกระจายประโยชน์ไปสู่พี่น้องประชาชน

ด้าน นายชนินทร์ น้อยเล็ก ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี กล่าวว่าวันนี้นับเป็นโค้งสุดท้ายแล้วสำหรับการลงประชามติ โดยได้เชิญชวนประชาชนให้ไปลงเสียงประชามติ ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ และวันที่ 27 เป็นวันสุดท้ายที่แจ้งเพิ่มชื่อหรือถอนชื่อ กับทางกรรมการออกเสียงประชามติ ซึ่งประชาชนที่เคยมีชื่อสิทธิ์เลือกตั้ง ส่วนมากก็จัดอยู่เขตเดิม ซึ่งวันนี้สามารถ ใช้แอปพลิเคชันในการตรวจสอบรายชื่อด้วย ทั้งนี้ ขอให้ทำความเข้าใจในเนื้อหาสำคัญ และศึกษาข้อมูลจาก หน่วยงานของรัฐให้ชัดเจน 

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญในหลายฉบับได้พูดถึงการทำประชามติไว้ แต่ได้นำมาใช้จริง ๆ ใน ปี 49 เพื่อ ออกเสียงร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 การไม่ออกมาใช้สิทธิ์นั้นไม่ผิดก็จริง แต่จะทำให้เสียสิทธิ์ในโอกาส สำคัญในข้างหน้า การออกเสียงประชามตินั้น มี 2 ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ ให้ความเห็นชอบและไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และ ประเด็นคำถามพ่วง จึงขอให้ประชาชนได้ไปพิจารณาเรื่อหาสาระสำคัญต่าง ๆ ส่วนการตเดสินใจจะรับหรือไม่รับนั้น ก็เป็นสิทธิ์ของทุกคน


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook